เพื่อขจัดความข้องใจ ขอชี้แจงเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ
๑.ตามที่ทักคุณระนาดเอกนั้น เนื่องจากเคยอ่านผ่านๆตามาบ้าง ว่ามีนักเขียนตำราเกี่ยวกับการแต่งกลอนเขียนบอกไว้ครับว่า
กลอนมันไม่ควรจะมีสระเสียงเดียวกันในลักษณ์นั้น(ตรงตำแหน่งที่เน้นสี)ท่านว่ามันไม่เพราะ(ท่านว่าของท่านไม่เกี่ยวกับผมนะ)
ไอ้ผมเองน่ะ ไม่ค่อยจะถือสาอะไรมาก บางทีที่ผมเขียนยังเละมากกว่านี้อีกครับ
ตามเว็บนี้นะครับ ท่านว่ามันไม่เพราะ
http://www.st.ac.th/thaidepart/article_1.php
๒. ตามตัวอย่างกลอนที่คุณดาว อาชาไนย ยกมานั้น เป็นการหยิบยกเอาหลักของ กลบทพยัคฆ์ข้ามห้วยมาใช้ประกอบในคำประพันธ์ครับ
เพียงแต่ยกมาแค่วรรคแรกวรรคเดียว เนื่องจากกลบทพยัคฆ์ข้ามห้วยนั้น จะมีความไพเราะเฉพาะวรรคแรกเท่านั้น ส่วนวรรคที่สอง
มันจะไม่ไพเราะแล้ว การหยิบยกเอากลบทใดๆเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งใส่เข้าในคำประพันธ์ ก็เพื่อเพิ่มความไพเราะ และเพื่อความแปลกครับ
โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทั้งหมด (มันเหมือนผักชีโรยหน้า กระเทียมเจียว พริกไทยป่น ที่เราใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาตินั่นแหละครับ-
ใส่แค่นิดหน่อย โดยไม่ต้องใส่มาก) ซึ่งกลอนลักษณะแบบนี้ เมื่อปี ๒๕๔๑ ผมก็เคยแต่ง แต่ตอนนั้นไม่ทราบว่าเป็นหลักของ
กลบทพยัคฆ์ข้ามห้วยที่มีมาแต่โบราณอยู่แล้ว จึงคิดว่าครั้งนั้น เป็นแค่ความบังเอิญมากกว่า
กวีเก่า"นายมี"ที่เขียนไว้
ชนชอบใจจดจำเป็นคำขลัง
ด้วยวรรคทองท่องจำซ้ำโด่งดัง
บทกลอนครั้งก่อนตรึงซึ้งไม่วาย
"ถึงมีเพื่อนเหมือนพี่ไม่มีเพื่อน
เพราะไม่เหมือนนุขนาฎที่มาดหมาย
มีเพื่อนกินไม่เหมือนมีเพื่อนตาย
มีเพื่อนชายไม่เหมือนมีเพื่อนชม"
ดาว อาชาไนย
ปล. ตรงที่เน้นสีแดงนะครับ นี่คือกลบทพยัคฆ์ข้ามห้วย ที่ถูกใส่เข้าไป แต่พยัคฆ์ข้ามห้วยนั้นจะเน้นที่ซ้ำคำ ไม่ใช่ซ้ำสระครับ