คำครุ ลหุ อันนี้แยกกันไม่ยากหรอกครับ...
คำครุนั้น คือคำที่เสียงยาว และหนัก (ตามตัวบทว่าหนักครับ) เพราะฉะนั้น จะรวมคำที่มีตัวสะกด (ไม่ว่าจะสระยาวหรือสั้น) ในนี้หมดเลย... ถ้าคุณแซมเห็นคำไหนมีตัวสะกดล่ะก็ ใช่แล้วครับ นั่นแหละคำครุ)
และรวมแม่ ก กา ที่เสียงยาวด้วยครับ เช่นคำว่า นา ที่ ใช่ ฯลฯ
คำลหุ คือคำที่เสียงสั้น และไม่มีตัวสะกด... (ตามตัวบทว่า เบา ครับ) จะรวมคำที่สระเสียงสั้น และไม่มีตัวสะกดทั้งหมด เช่น จะ ก็ นะ แหละ เฉพาะ กุ ฯลฯ
ทีนี้แยกยังไง เอมีวิธีง่ายๆครับ คุณแซมก็ถามตัวเองก่อนว่า คำๆนี้มีตัวสะกดไหม ถ้าใช่ แปลว่า เป็นครุชัวร์ๆ ไม่ต้องไปดูอะไรอื่นแล้ว
อะทีนี้เหลือคำที่ไม่มีตัวสะกด (แม่ ก กา) ก็ถามต่อว่า คำๆนี้เสียงยาวหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ครุ ครับ แต่ถ้าไม่ เป็นลหุ
แล้ว อำ ไอ ใอ เอา พวกนี้ล่ะครับ.... อันนี้เนี่ย ต้องแล้วแต่คำครับ ถ้าเราออกเสียงเน้นคำไหนหนัก คือครุ คำไหนเบา เป็นลหุ เพราะกวีสมัยก่อนเขาถือตรงนี้หนักมาก... เอาเสียงอย่างเดียวเลย
ตัวอย่างนะครับ "มานะกินขนมกับชูใจ" เราอ่านออกเสียงว่า มา-นะ-กิน-ขะ-หนม-กับ-ชู-ใจ ใช่ไหมครับ
เอาล่ะ
"มา" ตัวสะกดมีมั้ย ไม่มี แต่เสียงยาว อันนี้เป็นครุ
"นะ" ตัวสะกดมีมั้ย ไม่มี แต่เสียงสั้น อันนี้ลหุ
"กิน" มีตัวสะกด ครุ 10000%
"ขะ" ไม่มีตัวสะกด แต่เสียงสั้น เป็นลหุ
"หนม" มีตัวสะกด ครุ 1000%
"กับ" ก็มีตัวสะกดครับ แม่อะไรก็ช่างเราไม่สน ครุ 1000%
"ชู" ไม่มีตัวสะกด แต่เสียงยาวว อันนี้เป็นครุ
"ใจ" ฮื่มม เป็นสระใอ แต่เวลาอ่านออกเสียงเราอ่านเน้นหนัก ดังนั้นเป็นครุ...
ถ้างงอีก ถามได้เสมอนะครับ เพราะฉันท์เนี่ย หาคนชอบยากมากเข้าไปทุกวันแล้ว
๐ เกรงฉันทวรรณกวิวิวา-....กยะสาระหมดไป
จากหน้าลุบรรณรัฐะผไท.....เฉพาะเหตุจะห่อนเฟือน ฯ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 08:35:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: เชิญบ้าง.......เชิญแต่งฉันท์พันบท......โดยใช้เวลาสักสิบปีน่าจะพอ (อ่าน 209371 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: