เชิงอรรถพอสังเขป
*เพื่อประโยชน์ของน้องๆนักเรียนผู้ฝักใฝ่ในทางดีคือการหัดเรียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อาจพอดูเป็นแนวทาง แต่มิอาจยึดเป็นแบบอย่างได้ เนื่องจากกระผมเองก็ยังอยู่ในขั้นฝึกหัดเช่นกัน ยังมีข้อผิดพลาดหลายประการ ซึ่งในห้องนี้มีครูหลายท่านอาจพอยึดเป็นแนวทางได้
**ผมเคยอ่านเจอว่าฉันท์เป็นประเภทการประพันธ์ของไทยที่ไม่นิยมมากนักเพราะฝึกยาก เข้าใจยากและเสี่ยงต่อการสูญสลายไปกับกาลเวลา จึงอยากเชิญชวนทุกท่านร่วมร้อยฉันท์นะครับ แล้วจะพบว่าความสุขอยู่รอบข้างกายเรา อิอิอิ
อินทรวิเชียรฉันท์=ฉันท์ที่มีลีลางดงามดุจอาวุธของพระอินทร์(ท่านว่าอย่างนั้น)
อุเปนทรวิเชียรฉันท์=คล้ายอินทรวิเชียร
ภุชงคประยาตฉันท์=ลีลางดงามประดุจอาการเลื้อยของงู
วสันตดิลกฉันท์=ลีลางดงามประดุจรอยกลีบเมฆในตอนต้นฤดูฝน
มาณวกฉันท์=ลีลางดงามสดชื่นมีชีวิตชีวาเหมือนหนุ่มน้อย
อิทีสังฉันท์
อินทรวงศ์ฉันท์
สาลินีฉันท์=มากไปด้วยคำครุเป็นแกนหลัก
อุปัฏฐิตาฉันท์
วังสัฏฐฉันท์
มิคะ=มิคี=สัตว์จำพวกเนื้อ เช่น กวาง เป็นต้น
หย=ม้า
ท้าวกุเวร=ท้าวเวสสุวรรณ=หนึ่งในจาตุมหาราช เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ปกครองพวกยักษ์หรืออสูร(เทวดาจำพวกหนึ่ง ผมอยากจะเล่าที่มาของชื่ออสูรให้ฟังยิ่งนักแต่กลัวว่าจะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน)
รุธิร=เลือด
ยักษ์=อสูร=ราพณ์
รุทธ์=ห้าม หรือ กั้น
สุคันธชาติ=ดอกไม้
รุหะ=งอกงาม เจริญ
ตยาคี=วีรบุรุษ
ทหระ=เด็กหนุ่ม(ในที่นี้หมายถึงเจ้าชาย)
ประทิ่น=เครื่องหอม
ดนุช= ที่เกิดจากตน ในที่นี้หมายถึงเป็นผลิตผลจากกรรม
รบส=รักษา
พิมพ์เชิงอรรถเหนื่อยกว่าแต่งฉันท์นะท่านทรูแชร์ผมทำตามคำแนะนำของท่านแล้วนะครับ เฮ้อ........เหนื่อย.......แหะๆๆๆๆๆๆ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
24 พฤศจิกายน 2024, 02:19:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดอาฬวกยักษ์และเทศนาฆราวาสธรรม ๔ ประการ (อ่าน 9331 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: