พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้
ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
ชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ
ปัญหาที่สามคือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...
สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว
ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."
ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
ชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ
ปัญหาที่สามคือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...
สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว
ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."
สังเกต-อนุญาต
คำบาลี สันสกฤต ผิดกันบ่อย
"สังเกตุ"ห้อย สระอุ อุ๊! ไม่ใช่
ต้อง"สังเกต" อย่างนี้ ที่ถูกไง
จำกันไว้ อย่าห้อย ปล่อยตัวตอ
เหตุที่ผิด คงเทียบ เปรียบกับ "เหตุ"
ว่า"สังเกต" คงใช้ จึงใส่ปร๋อ
"สังเกต"จาก บาลี "สงฺเกต"กอ
ที่ไทยขอ ยืมคำ นำมาใช้
บาลีนั้น กำหนดเห็น เป็นคำนาม
เรามิตาม กริยาจัด สังกัดใหม่
แปลความหมาย สังเกต กำหนดไว้
"สังเกตุ"ไซร้ ธงดี แปลตีความ
อีกหนึ่งคำ นำมา "อนุญาติ"
ที่มักพลาด วาดอิ สิขอห้าม
"อนุญาติ" คำนี้ มีนิยาม
แปลตรงตาม คำดู ญาติผู้น้อย
คำบาลี "อนุญฺญาต" ปรารถนา
เจรจา ยอมให้ ก่อนใช้สอย
รับรู้แล้ว เห็นงาม จึงตามคล้อย
ไทยแปลพลอย ยอมให้ ได้ตกลง
ความหมายเปลี่ยน แปรไป หากใช้ผิด
ยั้งมือนิด ไม่เติม เพิ่มใส่ส่ง
"สังเกต"ดู "อนุญาต" อาจงุนงง
ไม่นานคง เสถียร เขียนคุ้นมือ
"กานต์ฑิตา"
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕