.....ร่ายยาว กล่าวได้ว่าเป็นเหมือน เรียงความ หรือ กลอนเปล่า มีเกณฑ์บังคับน้อยมาก
คือเพียงแค่มี สัมผัสส่ง-รับ เท่านั้น และจบลงด้วย คำนิยม บางคำ เช่น ฉะนี้ เป็นต้น
การ รับสัมผัส ก็มิได้กำหนดว่า ต้องเป็นตำแหน่งใด
จึงเป็น ร้อยกรอง ที่ผมใคร่เสนอว่า น่าส่งเสริมสำหรับผู้เริ่มแต่งคำประพันธ์
อย่างไรก็ตาม ที่ว่า ง่ายๆ แท้นั้น ยากจริงๆ คือ ยากที่จะแต่งให้ไพเราะ ได้ใจความ
หากเขียนเรื่อยๆ มาเรียงๆ ก็ไม่น่าสนใจ
ขอยกคำแนะนำจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/07/K4529307/K4529307.html
การแต่งร่ายยาวต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำและสัมผัสในให้มีจังหวะรับกันสละสลวย
เมื่ออ่านแล้วให้เกิดความรู้สึกมีคลื่นเสียงเป็นจังหวะๆอย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต"
และจำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งก็ไม่ควรให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ
คือควรให้อ่านได้ตลอดวรรคแล้วหยุดหายใจได้โดยไม่ขาดจังหวะ
ดูตัวอย่างได้ในหนังสือ เวสสันดรชาดก
ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์หรือบทสวดที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร
เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า :- นั้นแล, นั้นเถิด, นี้แล, ฉะนี้แล, ด้วยประการฉะนี้
คำว่า "นั้นแล" นั้นนิยมใช้เมื่อสุดกระแสความตอนหนึ่งๆหรือจบเรื่อง
เมื่อลง "นั้นแล" ครั้งหนึ่งเรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อมาจากคำ "นั้นแล" นั่นเอง
เพราะเวลาว่าทำนองจะได้ยินเสียง "นั้นแล" เป็น "นั้นแหล่"
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 06:43:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ไหนๆ จะครบทุกประเภทแล้ว "ร่าย" สักหน่อยจะเป็นไรฤๅ (อ่าน 89806 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: