Re: ฅ ฅน VS ค ควาย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 01:31:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฅ ฅน VS ค ควาย  (อ่าน 3469 ครั้ง)
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,388



« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2012, 05:35:PM »

ได้ค้นเจอคำตอบ จึงขอนำมาแบ่งปันกันครับ

จะหาเวลาแต่งเป็นร้อนกรองภายหลัง
เชิญชวนเพื่อนๆ ผู้ชอบแต่งเฉลย ร่วมด้วยช่วยกันนะครับ

==


http://www.royin.go.th/th/home/

คลังความรู้ -  ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม - ภาษาไทย, การใช้ภาษา หน้า 2, 3 - ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ


ฃ กับ ฅ หายไปไหน


(ขณะที่เขียนนี้คือ พ.ศ.๒๕๔๗) มีคนพูดถึงเรื่อง ฃ กับ ฅ กันมาก จนนักภาษาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ต้องออกมาช่วยชี้แจง

ทั้งๆ ที่เคยเขียนบทความทางวิชาการเผยแพร่มาก่อนหน้านี้กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว

นักวิชาการที่ว่านั้นก็คือ ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล ท่านได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เป็นครั้งแรกใน

วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ มิถุนายน-ตุลาคม ๒๕๑๕


เสียง ฃ และ ฅ เคยใช้แทนเสียงที่เป็นเสียงเสียดแทรกซึ่งมีฐานกรณ์อันเกิดที่ฐานลิ้นไก่

ซึ่งในสมัยปัจจุบันนี้ยังพบในภาษาไทขาวในประเทศเวียดนาม

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เสียง ฃ และ ฅ ในสมัยสุโขทัยนั้นออกเสียงลึกกว่าเสียง ข (ไข่) และ ค (ควาย)

เวลาที่ออกเสียง ข (ไข่) และ ค (ควาย) โคนลิ้นแตะที่เพดานอ่อน

ส่วน ฃ และ ฅ นั้น โคนลิ้นจะแตะที่ส่วนที่ถัดเพดานอ่อนเข้าไปอีก ซึ่งในปัจจุบันไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทยมาตรฐานแล้ว

ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีคำที่ใช้ ฃ (ขวด) เพียง ๑๑ คำ คือ ฃับ (ขับร้อง) ฃ้า (ฆ่า) ฃาม (มะขาม) ฃาย เฃา (ภูเขา)

เฃ้า (ตรงข้ามกับ ออก) ฃึ้น ฃอ (ตะฃอ) ฃุน ฃวา แฃวน

ส่วน ฅ (คน) นั้น มีใช้เพียง ๒ คำเท่านั้น คือ ฅุ้ม (ป้องกัน) กับ ฅวาม (คดี)

ส่วนในศิลาจารึกหลักอื่นๆ พบ ฅ เพิ่มอีก ๑๑ คำ คือ ฅ (คอ) ฅ้อน ฅา ฅาบ (แปลว่า ครั้ง) ฅำ (ค่ำ) ฅีน (ปัจจุบัน ใช้ อื แทน อี เป็น คืน) แตน (ดูแคลน)

 แฅ่ง (แข้ง) แฅว ฅวาม ฅวาง (คว้าง)

มีคำคู่เสียง ข (ไข่) กับ ฃ อยู่เพียง ๓ คู่เท่านั้น คือ

ข (ไข่) ฃ

ขับ (ขับไล่) ฃับ (ขับร้อง)

เข้า (ข้าว) เฃ้า (ตรงข้ามกับ ออก)

ข้า (บ่าว) ฃ้า (ฆ่า)

ในจำนวนคำที่ใช้ ฅ ทั้ง ๑๓ คำ มีที่เป็นคำพ้องกับภาษาปัจจุบันเพียง ๓ คำ คือ

คำ ความหมายที่ ๑ เป็นคำกริยา ความหมายที่ ๒ เป็นคำนาม

ฅา ขวางอยู่, ปิดทางอยู่ (หญ้า) ฅา

ฅาบ (เอาปาก) คาบ หมายถึงครั้ง

ฅืน คืน (ให้) (กลาง) ฅืน

เหตุที่ ฃ และ ฅ หายไปจากภาษาปัจจุบันนั้น เกิดจากลักษณะธรรมชาติของภาษาที่ว่าเสียงใดเป็นเสียงโดดเดี่ยว

ไม่มีความสัมพันธ์กับพยัญชนะใดเป็นพิเศษจะเปลี่ยนแปลงเสียง

หรือสูญเสียเสียงได้เร็วกว่าพยัญชนะที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, อริญชย์

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s