งานยุ่งครับ ส่งช้าไปหน่อย ยังไม่หมดวัน คงพอทันนะ
ย้ำ !!! อ่าน ตรวจทาน ปรับแต่ง แก้ไข ทำความเข้าใจให้ดี (ครูอาจซักถาม จึงควรให้พร้อม) ก่อนนำส่งคุณครู
เรียนคุณครูด้วยว่า ได้รับคำแนะนำจากบ้านกลอนไทย (ครูไม่เชื่อแน่ว่าทำเอง จึงควรบอกความจริงไปจะดีกว่าครับ)
==
สุนทรภู่ครูกวีสี่แผ่นดิน
เอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย"
สุนทรภู่ เกิดหลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนกลับเข้ารับราชการอีกครั้งปลายรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ก่อนสิ้นชีวิต
๑. ชีวประวัติ
๑.๑ วัยเด็ก แรกเกิด - อายุ ๒๐ ปี
พระสุนทรโวหาร มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙
สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
ตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ครั้งหนึ่ง เจ้านายใช้สุนทรภู่ไปชลบุรี ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองแกลงว่า
"จะกรวดน้ำ คว่ำขัน จนวันตาย แม้เจ้านาย ท่านไม่ใช้ แล้วไม่มา"
สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกัน สุนทรภู่ล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙
๑.๒ วัยฉกรรจ์ (พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙)
สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็ก ของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ช่วงนี้ สุนทรภู่สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยามีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด
สุนทรภู่ต้องตามเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้นคือ นิราศพระบาท
๑.๓ รับราชการครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง มูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ น่าจะเนื่องมาจากเรื่องละครนี้เอง สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในกรมพระอาลักษณ์
ในพระนิพนธ์ “ชีวิตและงานของสุนทรภู่” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย
อีกคราวหนึ่งเมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกสิบขุนสิบรถ เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนัก
๑.๔ ออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕)
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึง เหตุที่สุนทรภู่ ไม่กล้ารับราชการต่อในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ดังนี้
"เล่ากันว่า เมื่อทรงพระราชนิพนธ์ บทละคร เรื่องอิเหนา” เมื่อทรงแต่งแล้ว มีรับสั่งวานสุนทรภู่ ตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่กราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวี สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี ขอแก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็กริ้ว ดำรัสว่า “เมื่อขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข" และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อทรงรับสั่งให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์แต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง “แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่จนตลอดรัชกาลที่ ๒”
จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือเพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ
๑.๕ รับราชการครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘)
เมื่อสึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตาอุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัย ในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ
สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมีอายุ ได้ ๖๕ ปี ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
๒. ทัศนคติ
สุนทรภู่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก และตอกย้ำเรื่องการศึกษาในวรรณคดีหลายๆ เรื่อง เช่น ขุนแผนสอนพลายงามว่า "ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน"
หรือที่พระฤๅษีสอนสุดสาครว่า "รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"
เชื่อว่าสุนทรภู่น่าจะร่วมอยู่ในกลุ่มข้าราชการหัวก้าวหน้าที่นิยมวิชาความรู้แบบตะวันตก ภาษาอังกฤษ ตลอดกระทั่งแนวคิดยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่สะท้อนแนวความคิดของสุนทรภู่ออกมามากที่สุดคืองานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งโครงเรื่องมีความเป็นสากลมากยิ่งกว่าวรรณคดีไทยเรื่องอื่นๆ ตัวละครมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ตัวละครเอกเช่นพระอภัยมณีกับสินสมุทรยังสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา นอกจากนี้ยังเป็นวรรณคดีที่ตัวละครฝ่ายหญิงมีบทบาททางการเมืองอย่างสูง เช่นนางสุวรรณมาลีและนางละเวงวัณฬาที่สามารถเป็นเจ้าครองเมืองได้เอง นางวาลีที่เป็นถึงที่ปรึกษากองทัพ และนางเสาวคนธ์ที่กล้าหาญถึงกับหนีงานวิวาห์ที่ตนไม่ปรารถนา อันผิดจากนางในวรรณคดีไทยตามประเพณีที่เคยมีมา
อย่างไรก็ดี ความจงรักภักดีของสุนทรภู่ต่อพระราชวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ยังสูงล้ำเป็นล้นพ้น สุนทรภู่รำพันถึงพระมหากรุณาธิคุณหลายครั้งในงานเขียนเรื่องต่างๆ ของท่าน สุนทรภู่ได้แสดงจิตเจตนาในความจงรักภักดีอย่างไม่เสื่อมคลาย ปรากฏใน นิราศภูเขาทอง ความว่า
"จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา
เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 08:29:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ขอความช่วยเหลือหน่อยครับ (อ่าน 4073 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: