ใต้ร่มต้นหูกวาง
ต้นหูกวางกว้างใหญ่ก้านใบหนา
คนพึ่งพาเงาร่มสายลมเฉื่อย
ไม่ต้องเพิกเสื้อถกเผยอกเปลือย
ลมพัดเอื่อยยามอยู่ใต้หูกวาง
ผลแก่แห้งตกดินแคะกินได้
รสชาติใกล้กะบกขอยกอ้าง
เกิดมากมายอยู่บนริมหนทาง
ตระหง่านอย่างพฤกษาล้ำค่าไทย
เปลือกผลใช้เป็นยาฝาดสมาน
แก้อาการท้องเสียถ่ายเรี่ยไหล
เป็นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
“สยาม” ให้คนเห็นความเด่นงาม
อีกต้นไม้เด่นชัดจังหวัดตราด
เติบโตอาจแผ่สาขาเขียวอร่าม
มีคุณค่าจรรโลงทุกโมงยาม
ใครก็ตามเข้าร่มสุขสมพลัน
ต้นหูกวางแผ่ก้านตระหง่านกิ่ง
คนพักพิงร่มได้มิไหวหวั่น
ไม่ต้องกลัวว่าจะวิ่งหลบกิ่งมัน
หูกวางนั้นมิได้หักง่ายเลย! ฯ
อริญชย์
๒๒/๖/๒๕๕๕
ปล.ต้นหูกวางเป็นต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา หูกวาง
ต้นหูกวางที่ริมทะเล
หูกวาง (อังกฤษ: Tropical almond, Bengal almond, Indian almond, Sea almond, Beach almond, ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa) เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะ�
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
24 พฤศจิกายน 2024, 04:47:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ใต้ร่มต้นหูกวาง (อ่าน 5563 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: