พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า รา ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป,
น้อยลง, ผ่อนลง เช่น ไฟราดับไปเอง ฉนั้น ความหมายน่าจะเป็น ขิงก็ผ่อนลง ข่าก็แรงขึ้น
คำประเภทนี้จะมีความหมายเป็นสองพยางค์ เช่น บุญหนัก ศักดิ์ใหญ่
คำเช่นนี้เมื่อนานวันเข้า ก็พูดเพี้ยนกันไป เช่น ลดวา ราศอก ก็เพี้ยนเป็น ลดรา วาศอก
ซึ่งความหมายของ ลด กับ รา ก็คือน้อยลงเหมือนกันทั้งสองคำ
จึงควรเป็น ลดอะไร ตอบว่า ลดวา แล้วราอะไร ตอบว่า ราศอก
คำว่า สิ้นไร้ไม้ตอก ก็เช่นเดียวกัน เดิมเป็น สิ้นไม้ ไร้ตอก
สิ้นกับไร้ ก็ความหมายเดียวกัน ถามว่า สิ้นอะไร ตอบว่า สิ้นไม้ ไร้อะไร ตอบว่า ไร้ตอก
พึงสังเกตว่า เราไม่เรียกว่า ไม้ตอก เราเรียก ตอก เฉย ๆ
เช่น จักตอก เราไม่เรียกว่า จักไม้ตอก
คำว่า ชั่วดีถี่ห่าง เดิมเป็น ชั่วถี่ดีห่าง หมายถึง ทำชั่วถี่ แต่ทำดีห่าง
คำว่า บอกเล่าเก้าสิบ เดิมเป็น บอกเก้า เล่าสิบ หมายถึงบอกอะไรไป ผู้ฟังไปเล่าต่อ
ก็มักจะใส่ไข่มากกว่าที่เล่าไปให้ฟังดูน่าทึ่งขึ้นอีก
คำว่า ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็ต้องเอาด้วยคาถา
เล่ห์ กับ กล ก็ความหมายเดียวกัน ไม่ได้ด้วยเล่ห์ จะเปลียนไปเอาด้วยกล ก็ไม่เปลี่ยนอะไรเลย
มนต์ กับ คาถา ก็เช่นเดียวกัน คือ ความหมายอย่างเดียวกัน
จึงควรเป็น ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ต้องเอาด้วยมนต์ ไม่ได้ด้วยกล ก็ต้องเอาด้วยคาถา
ยังมีอีกหลายคำที่ปัจจุบันใช้เพี้ยนไป กรมหมื่นนราธิปฯทรงแสดงปาฐกถาเรื่องนี้นานมาแล้ว
ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสียดายถ้าราชบัณฑิตยสถานบรรจุคำเหล่านี้ตั้งแต่ทรง
เป็นนายกราชบัณฑิต คำเช่นนี้จะไม่เพี้ยนไปเป็น ลดราวาศอก, สิ้นไร้ไม้ตอก เป็นแน่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 06:13:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ขอเพิ่มปริศนา "ขิงก็ราข่าก็แรง" เดิม: คนตากลมตากลม (อ่าน 6608 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: