........................ขิงก็ราข่าก็แรง
...."รา" สำนวนว่านี้..................ขอถาม
แน่! ใช่เชื้อราลาม....................โรคไซร้
อธิบายบ่งบอกความ..................สักหน่อย
คือสิ่งใด ? จึ่งใช้......................เปรียบได้เหมาะสม
...."รา" สำนวนว่านี้..................ขอถาม
แน่! ใช่เชื้อราลาม....................โรคไซร้
อธิบายบ่งบอกความ..................สักหน่อย
คือสิ่งใด ? จึ่งใช้......................เปรียบได้เหมาะสม
"รา" ในสำนวน "ขิงก็รา ข่าก็แรง" เข้าใจว่าน่าจะหมายถึง ลดลง เช่น เลิกรา, ลดรา เป็นต้น แต่พอเป็นสำนวนกลับหมายถึงทั้งขิง และ ข่า ต่างก็มีรสแรง จัดจ้านด้วยกันทั้งคู่ เข้าใจว่าเป็นสำนวนไทยมักมีอาการ "ประชดประเทียด" อยู่นิด ๆ แม้แต่ในภาษาก็ซ่อนอยู่ด้วยว่า "ขิงก็รา" น่าจะหมายถึง ขิงนั้นลดราให้ ส่วน "ข่าก็แรง" หมายถึง ข่าก็ยังไม่ลดราให้ หรือกลับกัน แต่โดยสรุปแล้วไม่มีใครลดราวาให้ใคร ความหมายก็เลยออกมาทำนองว่าแรงทั้งคู่
ทำนองเดียวกัน สำนวน "เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย" เป็นสำนวนที่มีแววอาการประชดประเทียดมาก เพราะทั้ง "ปี่" และ "ขลุ่ย" ไม่สามารถนำมาเป่าด้วยกันได้เลย ปี่ อยู่วงหนึ่ง ขลุ่ยอยู่อีกวงหนึ่ง แต่สำนวนกลับจับมาเข้ากันได้ อันที่จริงน่าจะเป็นการประชดมากกว่า แบบว่าสิ่งที่ไม่มีทางเข้ากันได้เลยแต่มาอยู่ด้วยกันได้ ประชดไปประชดมาคนก็รับเป็นสำนวนทำนองว่า เข้ากันได้ดี ไปเลย
สำนวนไทยต้องจำไปใช้ทั้งดุ้นนั่นแหละ จะแยกทีละคำไม่ได้หรอก ความหมายจะเพี้ยน ขนาดไม่กินเส้นกันยังกลายเป็นเกาเหลาไปได้เลย คนโบราณได้ฟังคงงงอยู่เหมือนกัน (ฮา)