ผมอ่านที่คุณปราชญ์ศรีกวีน้อยคัดมาลงแล้ว คิดว่าคงพอเห็นประเด็นแล้วหละครับ
ย้อนกลับไปถึงความเห็นก่อนหน้านี้ คุณปราชญ์ฯ เขียนว่า "โดยคำที่ใช้จะต้องเป็นเสียง อะ(_)อะ(_) บางคนใช้คำเหมือนกันแทนคำอะเช่น ไม่รงไม่รู้ ไม่รู้ไม่ชี้ เป็นต้น อย่างนี้คือใช้ไม่ได้จะผิดหลักกลบทนี้"
คุณปราชญ์ฟันธงไปแล้วว่า คำที่ไม่ใช่ "อะ" เช่น ไม่รงไม่รู้ นั้น ผิดหลักกลบท
ตรงนี้ล่ะครับที่ผมแย้ง !
ตำราที่คุณคัดมานั้น ก็ไม่ได้ยืนยันอย่างที่คุณฟันธงไว้ ?!
ลองพิจารณาดูให้ดี เครื่องหมาย "ะAะA" ไม่น่าจะหมายถึงบังคับให้ใช้ "สระอะ" อย่างเดียว เพราะตำราที่คุณปราชญ์ฯ อ้างระบุเพียงว่า ให้ เน้นเสียง”สระอะ”ในพยางค์ที่ ๗ และ ๙
อ่านชัด ๆ อีกทีนะครับ เน้นเสียง "สระอะ" (ไม่ใช่ ต้องใช้ "สระอะ" เท่านั้น)
และตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นเครื่องยืนยัน คือ
๐ เฉลิมพระเกียรติ ล้นเกล้า หะหรู หฤษฎ์
คำศักดิ์สิทธิ์ ฤทธา เสมอเสมือน
เกริกเกรียงไกร บารมี มิลืมมิเลือน
ธ ดั่งเหมือน พ่อหลวง บิดรบิดา
(ประพันธ์โดย “เจ้าคุณอู๋”)
เห็นอะไรไหมครับ?
แม้แต่ "เจ้าคุณอู๋" ยังใช้ มิลืมมิเลือน , บิดรบิดา พอ ๆ กับ หะหรู หฤษฎ์ และเสมอเสมือน
นั่นคือ "เจ้าคุณอู๋" ใช้คำเบา (ลหุ) ในตำแหน่ง ะ ของสี่คำสุดท้าย ะAะA
นั่นคือ "เจ้าคุณอู๋" ไม่ได้บังคับว่าต้องใช้ "สระอะ" แต่ให้ "เน้น" เสียง "สระอะ"
นั่นแสดงว่า "เจ้าคุณอู๋" ไม่ได้บอกว่าหากไม่ใช้ "สระอะ" แล้วจะ ผิดหลักกลบท อย่างที่คุณปราชญ์ฯ เขียนมาสักหน่อย
ตำราคงไม่ได้ขัดแย้งกันหรอก ลองพิจารณาดูดี ๆ อีกทีนะครับ
ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
อยากเขียนกลอนอ้อนสาวก็หนาวก็เหน็บ
ยากเกินเก็บลิขิตภาษิตภาษา
รื้อตู้เก่าเข้าจับตำหรับตำรา
ต้องสักหน้าได้กานท์สะท้านสะเทือน
กามนิต - ๒๐ เม.ย. ๕๕
สุตตสดับแล้ว เก็บพจน์
จินตนามธุรส แต่งแต้ม
ปุจฉาหากกำหนด พลาดผิด
ลิขิตเอื้อนเอ่ยแย้ม ออกอ้างเป็นครู
ขออนุญาตแทรกครับ ฝึกหัดแต่งโคลง ผิดพลาด ติ,เติม
เนิน จำราย
ย้อนกลับไปถึงความเห็นก่อนหน้านี้ คุณปราชญ์ฯ เขียนว่า "โดยคำที่ใช้จะต้องเป็นเสียง อะ(_)อะ(_) บางคนใช้คำเหมือนกันแทนคำอะเช่น ไม่รงไม่รู้ ไม่รู้ไม่ชี้ เป็นต้น อย่างนี้คือใช้ไม่ได้จะผิดหลักกลบทนี้"
คุณปราชญ์ฟันธงไปแล้วว่า คำที่ไม่ใช่ "อะ" เช่น ไม่รงไม่รู้ นั้น ผิดหลักกลบท
ตรงนี้ล่ะครับที่ผมแย้ง !
ตำราที่คุณคัดมานั้น ก็ไม่ได้ยืนยันอย่างที่คุณฟันธงไว้ ?!
ลองพิจารณาดูให้ดี เครื่องหมาย "ะAะA" ไม่น่าจะหมายถึงบังคับให้ใช้ "สระอะ" อย่างเดียว เพราะตำราที่คุณปราชญ์ฯ อ้างระบุเพียงว่า ให้ เน้นเสียง”สระอะ”ในพยางค์ที่ ๗ และ ๙
อ่านชัด ๆ อีกทีนะครับ เน้นเสียง "สระอะ" (ไม่ใช่ ต้องใช้ "สระอะ" เท่านั้น)
และตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นเครื่องยืนยัน คือ
๐ เฉลิมพระเกียรติ ล้นเกล้า หะหรู หฤษฎ์
คำศักดิ์สิทธิ์ ฤทธา เสมอเสมือน
เกริกเกรียงไกร บารมี มิลืมมิเลือน
ธ ดั่งเหมือน พ่อหลวง บิดรบิดา
(ประพันธ์โดย “เจ้าคุณอู๋”)
เห็นอะไรไหมครับ?
แม้แต่ "เจ้าคุณอู๋" ยังใช้ มิลืมมิเลือน , บิดรบิดา พอ ๆ กับ หะหรู หฤษฎ์ และเสมอเสมือน
นั่นคือ "เจ้าคุณอู๋" ใช้คำเบา (ลหุ) ในตำแหน่ง ะ ของสี่คำสุดท้าย ะAะA
นั่นคือ "เจ้าคุณอู๋" ไม่ได้บังคับว่าต้องใช้ "สระอะ" แต่ให้ "เน้น" เสียง "สระอะ"
นั่นแสดงว่า "เจ้าคุณอู๋" ไม่ได้บอกว่าหากไม่ใช้ "สระอะ" แล้วจะ ผิดหลักกลบท อย่างที่คุณปราชญ์ฯ เขียนมาสักหน่อย
ตำราคงไม่ได้ขัดแย้งกันหรอก ลองพิจารณาดูดี ๆ อีกทีนะครับ
ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
อยากเขียนกลอนอ้อนสาวก็หนาวก็เหน็บ
ยากเกินเก็บลิขิตภาษิตภาษา
รื้อตู้เก่าเข้าจับตำหรับตำรา
ต้องสักหน้าได้กานท์สะท้านสะเทือน
กามนิต - ๒๐ เม.ย. ๕๕
สุตตสดับแล้ว เก็บพจน์
จินตนามธุรส แต่งแต้ม
ปุจฉาหากกำหนด พลาดผิด
ลิขิตเอื้อนเอ่ยแย้ม ออกอ้างเป็นครู
ขออนุญาตแทรกครับ ฝึกหัดแต่งโคลง ผิดพลาด ติ,เติม
เนิน จำราย