อ้างถึง
ความเห็นยาวไปหน่อย ทนอ่านอีกนิดก็แล้วกันนะครับ การแสดงความเห็นออกหน้าไมค์ หากมีสิ่งใดระคายเคืองก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง มิได้มีเจตนาอวดหรืออย่างไร เพียงแต่ไม่อยากให้ไขว้เขวกันเลยเถิดไปจนหาหลักอ้างอิงมิได้ หากใครไม่เห็นด้วยก็แย้งได้นะครับ แต่อยากให้อ้างอิงหลักการและตำราที่ถูกต้อง จะได้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังที่จะได้มาอ่านในเว็บนี้นะครับ
ขออภัยหากขัดสะบัดสะบิ้ง
มิเพราะพริ้งแก่หูสหสหาย
ที่เฝ้ายคอยคิดเห็นมิเว้นมิวาย
เพียงเพื่อกลอนเพริศพรายพิลาศพิไล
ด้วยจิตคารวะ
กามนิต - ๑๙ เม.ย.๕๕
๗๒."สบัดสบิ้ง" (XXX XXX ะAะA...XXX XXX ะBะB)
กฏเกณฑ์บังคับ
นิยมเขียนเป็น “กลอนเก้าหรือสิบ” โดยใช้จังหวะ ๓/ (๒)๓ /๔
ตอนท้ายของทุกๆบาท เน้นเสียง”สระอะ”ในพยางค์ที่ ๗ และ ๙
(กลอนกลบท สะบัดสะบิ้ง)
๐ เฉลิมพระชนม พรรษา เจริญจรัส
พรพิพัฒน์ วัฒนา สง่าสยาม
ประชาชน ล้นเกล้า จะจดจะจำ
ขับลำนำ พร่ำพระพร สะท้อนสะเทือน
๐ เฉลิมพระเกียรติ ล้นเกล้า หะหรู หฤษฎ์
คำศักดิ์สิทธิ์ ฤทธา เสมอเสมือน
เกริกเกรียงไกร บารมี มิลืมมิเลือน
ธ ดั่งเหมือน พ่อหลวง บิดรบิดา
(ประพันธ์โดย “เจ้าคุณอู๋”)
กลบทที่ ๗๒."สบัดสบิ้ง" เป็นหนึ่งในเก้าสิบกลบทที่เจ้าคุณอู๋ ได้รวบรวมไว้โดยมีการอ้างอิง รวบรวมและจัดทำ ๙๐ กลบทไว้ ผมซึ่งศึกษาจากตรงนี้ทั้ง ๙๐ กลบท ไม่ได้ศึกษาจากที่อื่นเลยจริงๆ เลยทำให้มองกรอบไม่กว้าง ไม่ได้แย้งว่าผมไม่ผิดแต่ ผมไม่ได้มองจุดว่าใครผิด มองตรงเราจะสามารถสรุป อย่างไรดี
ด้วยจิตคารวะ
บรรณานุกรม/อ้างอิง รวบรวมและจัดทำ ๙๐ กลบท
o ราชบัณฑิตยสถาน.(๒๕๔๖) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒.กรุงเทพฯ.นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
o ราชบัณฑิตยสถาน.(๒๕๕๐) พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย “ภาคฉันทลักษณ์” กรุงเทพฯ.สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง
o กำชัย ทองหล่อ.(๒๕๕๒) หลักภาษาไทย.กรุงเทพฯ.อมรการพิมพ์
o พระยาอุปกิตศิลปสาร.(๒๕๑๔).ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์คุรุสภา
o พระยาอนุมานราชธน.(๒๕๑๕).การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์.กรุงเทพฯ.บรรณาคาร
o วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.http://th.wikipedia.org/wiki/ฉันทลักษณ์
o บ้านจอมยุทธ.http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.html