จะกี่ดึก สะอึกสะอื้น ยืนมองฟ้า
ว่าจันทรา ประชดประชัน ฉันนั้นหรือ
โอบอุ้มรัก ละเมียดละไม ในอุ่นมือ
ดลรักดื้อ ตลบตะแลง เหมือนแกล้งกัน
ประคับประคอง ข่มใจ ละไมละเมียด
กระฟัดกระเฟียด ฮึดขยี้ ขมีขมัน
สราญสรมณ์ แปลงบท ประชดประชัน
ตะบี้ตะบัน จนรัก ทะลักทะลาย
@ปราชญ์ศรีกวีน้อย
ใครที่ยังแต่งไม่คล่องผมแนะนำว่าลองจดคำใส่สมุดไว้ก่อนเลยหาจากคนที่เคยแต่งกลบทพวกนี้ไว้นี่แหละครับ
จะทำให้ครั้งต่อไปนึกอยากแต่งจะได้ง่ายขึ้นมากๆ
สำหรับคนที่ลองแต่งแล้วผมยังเห็นบางคนเข้าใจกลบทนี้ผิดอยู่ โดยจะเขียนเป็นผังได้ดังนี้ (ตัวอย่าง กลบท"สะบัดสะบิ้ง")
XXX XXX อะAอะA
XXX XXX อะBอะB
XXX XXX อะCอะC
XXX XXX อะDอะD
โดยคำที่ใช้จะต้องเป็นเสียง อะ(_)อะ(_) บางคนใช้คำเหมือนกันแทนคำอะเช่น ไม่รงไม่รู้ ไม่รู้ไม่ชี้ เป็นต้น อย่างนี้คือใช้ไม่ได้จะผิดหลักกลบทนี้
ขอบคุณครับ
ว่าจันทรา ประชดประชัน ฉันนั้นหรือ
โอบอุ้มรัก ละเมียดละไม ในอุ่นมือ
ดลรักดื้อ ตลบตะแลง เหมือนแกล้งกัน
ประคับประคอง ข่มใจ ละไมละเมียด
กระฟัดกระเฟียด ฮึดขยี้ ขมีขมัน
สราญสรมณ์ แปลงบท ประชดประชัน
ตะบี้ตะบัน จนรัก ทะลักทะลาย
@ปราชญ์ศรีกวีน้อย
ใครที่ยังแต่งไม่คล่องผมแนะนำว่าลองจดคำใส่สมุดไว้ก่อนเลยหาจากคนที่เคยแต่งกลบทพวกนี้ไว้นี่แหละครับ
จะทำให้ครั้งต่อไปนึกอยากแต่งจะได้ง่ายขึ้นมากๆ
สำหรับคนที่ลองแต่งแล้วผมยังเห็นบางคนเข้าใจกลบทนี้ผิดอยู่ โดยจะเขียนเป็นผังได้ดังนี้ (ตัวอย่าง กลบท"สะบัดสะบิ้ง")
XXX XXX อะAอะA
XXX XXX อะBอะB
XXX XXX อะCอะC
XXX XXX อะDอะD
โดยคำที่ใช้จะต้องเป็นเสียง อะ(_)อะ(_) บางคนใช้คำเหมือนกันแทนคำอะเช่น ไม่รงไม่รู้ ไม่รู้ไม่ชี้ เป็นต้น อย่างนี้คือใช้ไม่ได้จะผิดหลักกลบทนี้
ขอบคุณครับ
ต้องขออภัยคุณปราชญ์ศรีกวีน้อย ที่ต้องแย้งไว้ตรงนี้นะครับ ผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไหร่กับที่คุณบอกว่า
"โดยคำที่ใช้จะต้องเป็นเสียง อะ(_)อะ(_) บางคนใช้คำเหมือนกันแทนคำอะเช่น ไม่รงไม่รู้ ไม่รู้ไม่ชี้ เป็นต้น อย่างนี้คือใช้ไม่ได้จะผิดหลักกลบทนี้"
เหตุเพราะว่ากลบทสะบัดสะบิ้งนี้ มีต้นแบบมาจาก ศิริวิบุลกิตติ์ ของหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) สมัยอยุธยา และกลอนตัวอย่างก็เห็นชัดว่าไม่ได้บังให้ให้เป็น อะ(_)อะ(_) อย่างที่คุณกล่าวมา
ในครั้งนั้นเวไชยันต์ก็หวั่นก็หวาด สะท้านอาสน์เทวฤทธิ์สถิตสถิน
ปาริชาติฉาดฉัดระบัดระบิน พิภพอินท์ก้องดังกะทั่งกะเทือน
(อ้างอิงจากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน <<คลิก>>)
ในทำนองเดียวกัน ในกลบทสุภาษิต ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) กวีสมัยรัตนโกสินทร์ ก็แต่งกลสะบัดสะบิ้ง อย่างกริยาสะบัดสะบิ้ง โดยมิได้ บังให้ให้เป็น อะ(_)อะ(_) แต่อย่างใด ดังตัวอย่าง
เห็นท่านที่ มีทรัพย์ จะจับจะจ่าย ดูฟูมฟาย มิได้หน่วง จะห่วงจะหัว
ทั้งเก็บได้ ใชพลัน ไม่พันไม่พัว อย่าเผลอตัว ตามท่าน ใช่การใช่กล
(อ้างอิงจากเว็บไซต์บ้านจอมยุทธ <<คลิก>>)
โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับคุณบอม ซองดุ๊ก และคุณวฤก ที่ว่าคำซ้ำคู่อักษร XYXY นั้น หากไม่อยากให้คำยาวยืดยาด ก็จะใช้เสียงเบา (ลหุ) ที่ตำแหน่ง X (ไม่ได้บังคับ เป็นแต่เพียงข้อเสนอแนะ) เมื่ออ่านคำจะสะบัดสะบิ้งมากกว่าการใช้คำหนักทั้ง 4 คำ มิใช่ว่าต้องบังคับให้ X เป็นคำ "อะ" ไปเสียทั้งสิ้นนะครับ
Oo..ขออณุญาต นำกลอนกลบทของอาจารย์วฤก มาลงเพื่อเป็นตัวอย่างที่ถูกต้องแก่เพื่อนๆครับ..oO
กลอนกลบทสะบัดสะบิ้ง
กำหนดให้คำท้ายวรรคเปลี่ยนเป็นคำซ้ำอักษรสองคู่
ตัวอย่างเช่นกลอนแปดเดิมนิยมแบ่งคำเป็น 000 00 000
เมื่อจะเขียนแบบกลบทสะบัดสะบิ้งสามคำหลังจะต้องเปลี่ยนเป็นคำซ้ำอักษรสองคู่ดังนี้ 000 00 XYXY
นั่นคือซ้ำอักษร X กับ Y
เมื่อขยายสามคำหลังเป็นคำซ้ำสองคู่แล้ว สามคำนี้จะอ่านได้ 4 พยางค์ ซึ่งอาจทำให้เสียงของวรรคกลอนเยิ่นเย้อไปได้
ดังนั้นท่านจึงนิยมให้ X เป็นลหุ หรือคำเสียงสั้น ส่วน Y ให้เป็นคำเสียงหนัก
เมื่อเขียนอย่างนี้แล้ว จังหวะการอ่านกลอนก็จะไม่ยืดยาดจนเกินไป
ความเห็นยาวไปหน่อย ทนอ่านอีกนิดก็แล้วกันนะครับ การแสดงความเห็นออกหน้าไมค์ หากมีสิ่งใดระคายเคืองก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง มิได้มีเจตนาอวดหรืออย่างไร เพียงแต่ไม่อยากให้ไขว้เขวกันเลยเถิดไปจนหาหลักอ้างอิงมิได้ หากใครไม่เห็นด้วยก็แย้งได้นะครับ แต่อยากให้อ้างอิงหลักการและตำราที่ถูกต้อง จะได้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังที่จะได้มาอ่านในเว็บนี้นะครับ
ขออภัยหากขัดสะบัดสะบิ้ง
มิเพราะพริ้งแก่หูสหสหาย
ที่เฝ้ายคอยคิดเห็นมิเว้นมิวาย
เพียงเพื่อกลอนเพริศพรายพิลาศพิไล
ด้วยจิตคารวะ
กามนิต - ๑๙ เม.ย.๕๕