ผาแต้มและชนเผ่าบรู
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 04:10:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ผาแต้มและชนเผ่าบรู  (อ่าน 10246 ครั้ง)
อริญชย์
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1154
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,568


ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว


« เมื่อ: 30 มีนาคม 2012, 12:35:PM »



      ผาแต้มและชนเผ่าบรู

ผาแต้มงามเรืองรองชนท้องถิ่น
ในผาหินมีภาพทอทาบฝัน
จารสลักนานาสาระพัน
อัศจรรย์ภาพงามอร่ามตา

ชนเผ่าบรูพื้นบ้านสืบสานศาสตร์
ธรรมชาติเจือจุนมากคุณค่า
ตามแบบอย่างวิถีเคยมีมา
ทำไร่นาสุขกายสบายใจ

โขงเจียมมีสายน้ำโขงเชื่อมโยงจิต
สัมพันธ์มิตรภาพอิงความยิ่งใหญ่
เป็นพี่น้องมานานเนาฝั่งลาวไทย
ยึดมั่นในประเพณีอันดีงาม

ยามเช้าดวงตะวันเฉิดฉันฉาย
ชาวบรูได้เห็นก่อนใครในสยาม
ผองชนท่องเที่ยวมาชมฟ้าคราม
รอถึงยามเช้าเฉิดฉันตะวันทอง

ผาแต้มมีความงามวิวน้ำตก
ป่าเขียวรกปกภูสัตว์กู่ก้อง
เสาเฉลียงปู่ย่าล้วนน่ามอง
มีครรลองชนพื้นบ้านมานานเอย ฯ

                  อริญชย์
              ๓๐/๓/๒๕๕๕


<a href="http://www.youtube.com/v/m5tbPoN4UAE&amp;rel=0&amp;fs=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/m5tbPoN4UAE&amp;rel=0&amp;fs=1</a>






ตัวอย่างภาษาบรู - กวยเอิด กวยจา (ขอให้มีความสุข)

- แซมซาย แอมอาย (แด่พี่น้องที่มาเยือน)

- เจาเนียย กูนะประไดน์ (และเจ้านายทุก ๆ คน)

- มาเยียย เตอะแมะ (ผู้มาเยี่ยมมาเยือน)

- วียเลย์ปะไฮน์ หมั่นยืนเด้อ (ขอให้มีความสุข ความเจริญตลอดไป)



http://www.isanfair.com/ViewSubject.php?did=3346&sid=6



ไปๆมาๆ ภาษาบรู กับ ภาษาโส้ (ในกระทู้ "โส้รำลึก" นี่ก็ใกล้เคียงกันนะทุกท่าน)  ดูการนับเลขในกระทู้ก็ได้ฮะ  สรุปแล้วก็ภาษาตระกูลมอญ-เขมรอันเดียวกันนั่นเอง  



ภาษาบรู     

Notice: Undefined variable: return in /var/www/vhosts/mapculture.org/httpdocs/mambo/index.php on line 47
14 พ.ย. 2006 16:04น. 
ภาษาบรู


บรูเป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย มีเฉพาะใน จ.อุบลราชธานี และเป้นชื่อเรียกภาษาอีกด้วย

ภาษาบรูจัดอยู่ในกลุ่มมอญ-เขมรเช่นเดียวกับภาษากูย (หรือส่วย) ดังนั้น ภาษาบรูจึงคล้ายกับส่วยหรือกูยมาก โดยเฉพาะศัพท์ต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้เหมือนกันแต่แตกต่างกันในการผสมคำ (ม.มหิดลกับสถาบันราชภัฎอุบลราชธานีได้ศึกษาไว้)   


ภาษาบรูมีเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น  ไม่มีภาษาเขียน  การออกเสียงเป็นลักษณะเฉพาะเช่น “ร” นิยมออกเสียงในระดับต่ำกว่า ร ภาษาไทย  ตัวพยัญชนะ “ต”และ “ท”  ใช้ร่วมกันเพียงตัวเดียวโดยออกเสียงเป็นเสียงกลางๆระหว่างพยัญชนะทั้งสองเช่นเดียวกับ “ก”และ “ค” เป็นต้น  เช่น
ศรีษะ (เปรอ)         ฟัน (กะแนง)            ตา (มั๊ด)            เท้า (อาเยิง) 
มือ (อาเตย)          ปาก (แป๊ะ)              ควาย (ตะเรี๊ยะ)     หมู (อะลี้) 
คนลาว (เลียว)        เกลือ (บอย)            น้ำ (เด่อะ)          ข้าว (โด็ย) 
ข้าวเหนียว (โด๊ยดิ๊บ)  ข้าวจ้าว (โด๊ยกะซาย)   เรือ (ทั๊วะ)          ฯลฯ

ส่วนการนับเลข  ไม่มีเลข 0 ในการนับ เช่น
1 (มวย)          2 (บารร)               3 (ไป)                4 (โปน) 
5 (เซิง)           6 (ตะปรั๊ด)            7 (ตะปูลล)            8 (ตะกวลล) 
9 (ตะเก๊ะ)        10 (มันจิ๊ด)            11 (มันจิ๊ดละมวย)    12 (มันจิ๊ดละบารร) 
20 (บารรละจิ๊ด)  21 (บารรจิ๊ดละมวย)   22 (บารรจิ๊ดละบารร) 100 (มวยกะแซ) 
1,000 (มันจิ๊ดกะแซ)      10,000 (มันจิ๊ดมันจิ๊ดกะแซ)

 

ภาษาบรูนับวันจะสูญสลายไปด้วยเหตุที่เด็กรุ่นใหม่นิยมพูดภาษาไทยอีสาน (สำเนียงลาวอุบลราชธานี) ปัจจุบันเหลือหมู่บ้านที่พูดภาษาบรูอยู่ 2 แห่งคือ บ้านท่าล้ง หมู่ 5 ต.ห้วยไผ่ และบ้านเวินบึก หมู่ที่ 8 ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม

 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

ปู่ริน, sunthornvit, พี.พูนสุข, ..กุสุมา.., รพีกาญจน์, ลมหนาว, บัณฑิตเมืองสิงห์, ไพร พนาวัลย์, ปรางทิพย์, Thammada, ไม่รู้ใจ

ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มีนาคม 2012, 01:46:PM โดย อริญชย์ » บันทึกการเข้า

เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม
เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s