โคลง ๔
อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง………..เพญแข
เรียมแต่ร้างรศแห…………...ห่างเคล้า
ฤาลืมสมรแล………………..อื่นชื่น ไปเลย
ถวิลทุกข์ยามเย็นเช้า…………ชอกช้ำก่ำทรวง ฯ
แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล
โดยสถานแถวสถล………….ที่นี้
จักชวนแม่ชมบน……………บรรพตร โพ้นแฮ
พลางแม่ชมเรียมชี้………….แม่ชี้เรียมชม ฯ
ชมพนมพนาเวศห้วย…………เหวหิน
ทุกเซราะทรอกศิขรินทร์……..ร่องน้ำ
จักชวนแม่สรงสินธุ์………….แสนสนุกนิ์
สนานอุทกท่าถ้ำ……………...เถื่อนท้องแถวธาร ฯ
ทุกสถานธาเรศแม้น………..แมนผจง ไว้ฤา
หวังจักไว้ให้สรง…………….เซราะน้ำ
ปางร้างอรอนงค์……………..แหนงโศก
สรงบสร่างใจช้ำ……………..เช่นน้ำสระสมร ฯ
“ลลิตตะเลงพ่าย”
พระราชนิพนธ์ “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” (หน้า ๓๓)
ปล.ท่านใช้คำแบบเก่า เช่น “เพญแข รศแห บรรพตร เซราะทรอก สนุกนิ์” ท่านใดมีข้อมูลที่พิมพ์ภาษาไทยสมัยใหม่ หรือมีความรู้เรื่องนี้ ลงเทียบเคียงเพื่อเป็นวิทยาทานหน่อยก็ดีนะฮะ ขอบคุณล่วงหน้า
อีกคำ "แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล" ท่านก็พิมพ์มาอย่างนี้จริง ๆ นะ "แม้วดวงกมลาศได้" ไม่ใช่ "แม้"
อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง………..เพญแข
เรียมแต่ร้างรศแห…………...ห่างเคล้า
ฤาลืมสมรแล………………..อื่นชื่น ไปเลย
ถวิลทุกข์ยามเย็นเช้า…………ชอกช้ำก่ำทรวง ฯ
แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล
โดยสถานแถวสถล………….ที่นี้
จักชวนแม่ชมบน……………บรรพตร โพ้นแฮ
พลางแม่ชมเรียมชี้………….แม่ชี้เรียมชม ฯ
ชมพนมพนาเวศห้วย…………เหวหิน
ทุกเซราะทรอกศิขรินทร์……..ร่องน้ำ
จักชวนแม่สรงสินธุ์………….แสนสนุกนิ์
สนานอุทกท่าถ้ำ……………...เถื่อนท้องแถวธาร ฯ
ทุกสถานธาเรศแม้น………..แมนผจง ไว้ฤา
หวังจักไว้ให้สรง…………….เซราะน้ำ
ปางร้างอรอนงค์……………..แหนงโศก
สรงบสร่างใจช้ำ……………..เช่นน้ำสระสมร ฯ
“ลลิตตะเลงพ่าย”
พระราชนิพนธ์ “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” (หน้า ๓๓)
ปล.ท่านใช้คำแบบเก่า เช่น “เพญแข รศแห บรรพตร เซราะทรอก สนุกนิ์” ท่านใดมีข้อมูลที่พิมพ์ภาษาไทยสมัยใหม่ หรือมีความรู้เรื่องนี้ ลงเทียบเคียงเพื่อเป็นวิทยาทานหน่อยก็ดีนะฮะ ขอบคุณล่วงหน้า
อีกคำ "แม้วดวงกมลาศได้…………..มาดล" ท่านก็พิมพ์มาอย่างนี้จริง ๆ นะ "แม้วดวงกมลาศได้" ไม่ใช่ "แม้"
พอจะเดาออกได้สองคำครับ
- เพญแข = เพ็ญแข แปลว่าพระจันทร์ในวันเพ็ญ
- บรรพตร = อันนี้น่าจะมาจากคำว่า บรรพตร์ กระมังครับ ถ้าเป็นแบบนั้น ก็แปลว่าภูเขา ซึ่งเนื้อหาก็เข้าได้กับโคลงพอดี
เคยเห็นครับว่าคนสมัยก่อน จะสะกดไม่เหมือนสมัยนี้ (ถ้าเป็นสมัยนี้ต้องเรียกว่า เขียนผิด ภาษาวิบัติ บลาๆ) ขนาดภาษา "วัธนธัม" บรรณารักษ์ที่หอสมุดแห่งชาติยังสะดุ้งเลยครับ ว่าเขียนผิดหรือเปล่า ซึ่งผมก็ยืนยันว่า เขียนแบบนี้แหละจริงๆ
เมื่อกี้ไปลอง search หาๆมาครับ เลยนึกขึ้นได้ เคยมีเรื่อง สนุกนิ์นึก ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (ที่เป็นนิทาน และยังพระนิพนธ์ไม่เสร็จ) อะครับ เลยสงสัยว่า เป็นการเขียนคำว่า สนุก ของคนสมัย ร.5 หรือเปล่าน่ะครับ ถ้าใช่ ก็แปลว่าเรามีเค้าของความหมายที่ท่านอริญชย์สงสัยแล้ว สามคำ ขาดแต่ "เซราะทรอก" ซึ่งฟังดูเหมือนคำเขมรครับ (แต่ไม่รู้ว่าแปลว่ากระไร?)