ขอบคุณค่ะอาจารย์ระนาดเอก
สะกิดความจำขึ้นมาค่ะ เป็นเพลงคลาสสิคมีชื่อเสียงที่ทั่วโลกรู้จักดีจ้า จึงหามาให้ชื่นชมกันค่ะ
รัตนาวดี
Johann Pachelbel - Canon In D Major
ประวัติเพลง Canon (Kanon) ผู้ประพันธ์คือ Johann Pachelbel
เพลง Canon หรือชื่อเก่าก็คือ Kanon เป็นผลงานการประพันธ์ของ Johann Pachelbel
นักประพันธ์และนักออร์แกนในยุค Baroque (บาโรค)
นาย Pachelbel คนนี้ เป็นนักประพันธ์ที่ Johan Sebastian Bach (บาค คนแต่งทำนอง A lover's concerto)
ชื่นชอบและถือเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่าง
สำหรับ Kanon นี้ เป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมาก ต้นฉบับนั้น Pachelbel ประพันธ์ Kanon มา สำหรับให้เล่นด้วยเครื่องดนตรี 4 ชิ้นเท่านั้น คือ Violin 3 ตัว และ Continuo (สันนิษฐานว่า คือ Bass ในปัจจุบัน) มิใช่เป็นเพลงสำหรับเปียโนแต่อย่างใด และที่สำคัญ เพลงนี้ ในต้นฉบับ ทำนองซับซ้อนเกินกว่าจะเล่นด้วยเปียโนเพียงคนเดียวได้
ใน version ต้นฉบับ จุดเด่นของเพลงที่ถือเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" อย่างนึงเลยทีเดียว ก็คือท่วงทำนองของเพลง จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า Kanon เดิมให้เล่นด้วย Violin 3 ตัวและ Bass อีก 1 แนวเสียง Bass นั้นจะเล่นโน้ต 8 ตัว ซ้ำวนตลอดเพลง แต่ทีเด็ดของแนวทำนองของไวโอลินทั้งสามตัว เชื่อหรือไม่ว่า ทั้งสามตัวนั้น เล่นทำนองเดียวกันตลอด ! เริ่มเพลง แนว Bass เล่นเครื่องเดียว 4 ห้องเพลง ตามด้วย Violin 1 เล่นทำนองหลัก 4 ห้อง (เบส ยังเล่นทำนองเดิม)
หลังจากนั้น Violin 1 จะเล่นทำนองที่สอง และ Violin 2 จะนำทำนองที่ Violin 1 เพิ่งเล่นผ่านไปเมื่อ 4 ห้องที่แล้ว มาเล่นซ้ำ โน้ตเดิมทุกประการ และเมื่อ Violin 1 เล่นทำนองที่สาม Violin 2 ก็จะเล่นทำนองที่สอง (ที่ Violin 1 เพิ่งเล่นผ่านไป) และ Violin 3 ก็เล่นนำทำนองแรก (ที่ Violin 1 เล่นผ่านไปแล้ว 8 ห้องเพลง) มาเล่น และทั้งหมด ออกมาสอดคล้องกันราวกับเสียงสวรรค์ !!! มันซับซ้อนมากเกินกว่าจะเล่นด้วยเปียโนได้ (หมายถึงต้นฉบับเดิม)
คำว่า Canon ในทางดนตรี หมายถึงการเล่นวนซ้ำ เพลงนี้ ก็คือการนำทำนองของ Violin 1 มาเล่นซ้ำด้วย Violin 2 และ 3 นั่นเอง
ลองฟังดูดี ๆ จะพบว่า ทำนองมันซ้ำกัน แต่เล่นด้วยเครื่องดนตรีคนละเครื่อง เป็นเพลงที่เพราะมาก
ในอดีต เคยใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Ordinary People มาก่อน และเร็ว ๆ นี้ก็มาประกอบ My Sassy Girl
เพลงนี้ ของจริงต้อง Key D Major เพราะฉะนั้น เรามักจะได้ยินชื่อเพลงนี้เต็ม ๆ ว่า Kanon in D อยู่บ่อย ๆ ค่ะ
ขอบคุณป้ายบอกทาง ค้นหาค่ะ
ซึ่งลูกเล่นเทคนิคของ kanon ก็ใช้ในการขับร้องรวมหมู่ คือจะแบ่งกลุ่ม ออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่ม ๑ เริ่มร้องไปก่อน กลุ่ม ๒ ก็เริ่มร้องสวมเข้า
และกลุ่ม ๓ ก็เริ่มร้องสวมเข้า
ต่างกลุ่มต่างเริ่มร้องจนจบวรรคของตัวเอง จบก็เริ่มอีกวนร้องไปเรื่อย จนครูผู้นำให้สัญญานจบพร้อมกัน แต่คำร้องวรรคที่จบ
ต่างกลุ่มต่างไม่เหมือนกันฟังไพเราะผู้ร้องก็สนุกมากค่ะ