ต้นเครือหมาน้อย
ชื่อท้องถิ่น: ต้นเครือหมาน้อย
ชื่อสามัญ: กรุงเขมา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman
ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้เถา
ลักษณะพืช: กรุงเขมา” หรือ “กรุงบาดาล” หรือ “หมาน้อย” หรือ “ใบก้นบิด” จัดเป็นพืชเถาและเป็นไม้เลื้อยที่พบได้ในป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าไผ่ ป่าพุ่ม บางครั้งพบบนภูเขาหินปูน ในประเทศไทยพบได้ในป่าแถบ จ.สกลนคร และจังหวัดใกล้เคียง
ในการนำเอาใบกรุงเขมามาบริโภคนั้น อ.ราตรีบอกว่านิยมนำมาบริโภคเป็น 2 รูปแบบ คือ ใช้เป็นของหวานหรือของคาว ถ้าใช้เป็นของคาวให้เลือกใบกรุงเขมาที่แก่จัดมีสีเขียวเข้ม ประมาณ 10-20 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาขยี้กับน้ำสะอาด 1 ถ้วย ในขณะที่ขยี้ใบกรุงเขมาจะรู้สึกเป็นเมือกลื่น ๆ ขยี้จนได้น้ำสีเขียวเข้ม หลังจากนั้นให้กรองเอากากออก นำน้ำที่ได้มาปรุงรสชาติด้วยการเติมน้ำปลาร้า พริกป่น น้ำปลา ข้าวคั่ว เนื้อปลาต้มสุก ใบหอมและผักชีหั่นผสมคลุกเคล้ากันรับประทานเป็นอาหารคาว แต่ถ้าจะทำเป็นของหวานให้เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งลงไปในน้ำกรุงเขมาที่กรองกากออกแล้ว จากนั้นตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที น้ำกรุงเขมาจะจับตัวเป็นก้อน นำมารับประทานเป็นของว่างที่มีรสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ปริมาณที่พบ: มาก
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: อ.ราตรี พระนคร จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับต้นกรุงเขมาและได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าเป็นพืชป่าอีกชนิดหนึ่งที่น่าปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน ทั้งเป็นการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นให้คงอยู่กับเราไปได้นานเท่า
นาน และการนำต้นกรุงเขมามาปลูกไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากเป็นพืชป่าที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ชอบดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุสูง ชอบอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่แต่ไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ หากได้มีโอกาสเข้าไปในป่าแล้วพบต้นกรุงเขมาสามารถขุดแบ่งต้นจากป่ามาปลูกก็ได้ ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรเพาะต้นกล้ากรุงเขมาขายในราคาต้นละ 10-15 บาท ปลูกลงดินให้เป็นไม้เลื้อยขึ้นต้นไม้ใหญ่หรืออาจจะทำค้างเหมือนกับการปลูกถั่วก็ได้แต่ข้อควรระวังต้นกรุงเขมาไม่ชอบปุ๋ยเคมีเพราะมีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงจะทำให้ต้นเปื่อยและตายได้
ดังนั้นควรเน้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นหลัก จากการทดลองในการปลูกต้นกรุงเขมาของ อ.ราตรี ในช่วงฤดูฝนจะต้องระวังศัตรูที่สำคัญคือ หนอนกระทู้และหอยทาก ในขณะที่ช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องราแป้ง แต่ปัญหานี้จะน้อยลงเมื่อต้นกรุงเขมาเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
อ.ราตรียังได้บอกว่าในอนาคตการขยายพันธุ์ต้นกรุงเขมาใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สาขาพืชศาสตร์ โทร. 0-4277-1460.
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: คนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่นี้ได้มีการนำเอาใบกรุงเขมามาทำเป็นอาหารว่างลักษณะคล้ายวุ้น เรียกว่า “วุ้นหมาน้อย” โดยเฉพาะผู้ที่ฟื้นไข้ได้รับประทานจะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้ กระเปร่า ข้อมูลทางด้านสมุนไพร ได้บอกสรรพคุณของกรุงเขมาไว้ว่าช่วยในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้อาการร้อนในและรักษาโรคตับ ในประเทศอินโดนีเซียมีการใช้รากกรุงเขมานำ มาต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ส่วนของใบตำใส่น้ำตั้งทิ้งไว้ให้เป็นเยลลี่กินเป็นอาหารช่วยย่อยและแก้ปวดท้อง
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=8970
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
24 พฤศจิกายน 2024, 05:41:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: "บทกลอนเพื่อสุขภาพ" (อ่าน 95225 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: