ว๊า..... ไม่มีใครมาเล่นเลยนะคะ พี่อริฯ...
แซมเล่นก็ได้....
ว๊าย.......
ว่าย.......
♫.. ♪.. ♪
หวาย..... หวาย แน่ๆ เลยค่ะ....
แซมนี่เอง
บ๊ะ อยู่ต่างประเทศยังรู้อีกเหรอเนี๊ยะ หมดมุกแล้วนะ อิอิ
หวาย ฮ่ะ ฮะ ถูกต้อง
แกงหวาย
หน่อหวาย
ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ
หวายเป็นพืชป่าชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นอยู่ใน เขตป่าเบญจพรรณมีทั้งชนิดที่มีลำต้น ยาว นำไปทำเครื่องใช้ไม้สอยจักสานผูก มัดเสาเรือนให้ยึดแน่น หวายอีกชนิดหนึ่งเป็น หวายที่นิยมใช้หน่อรับประทาน นำมาทำกับข้าว เช่น ต้มจิ้มแจ่ว น้ำพริก และแกงปรุงรสตาม ที่ต้องการโดยเฉพาะกลุ่มชาวภูไท ชาวกะเลิง ชาวญ้อ เป็นกลุ่มที่ชอบรับประทานแกงหวาย มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ จึงนิยมปลูกหวายไว้ขาย รับประทานในครัวเรือน
หวายมีมากกว่า 50 พันธุ์ แต่ที่ชาวบ้านรู้ จักและนำมาใช้ปรุงอาหารมี 4 ขนิดได้แก่
1. หวายขมหรือหวายโคก เป็นหวายชนิดต้น เตี้ย มักชอบขึ้นตามป่าละเมาะหวายชนิดนี้มี อายุหลายปี พุ่มหวายสูงประมาณ 1 เมตรแต่ลำ ต้นเลื้อยยาวออกไปหวายชนิดนี้จึงต้องสับ นำมาทั้งหัวแกะกาบออกจึงจะได้หน่อ หวายอ่อนนำไปเป็นอาหาร
2. หวายบุ่นหรือหวายกระบองเป็นหวายที่มี ลำต้นใหญ่ มีข้อถี่ มีหนามมาก ถ้ามี อายุมากจะเป็นเครือให้เส้นหวายหนาใหญ่ นำ ไปทำเครื่องเรือนเช่น เก้าอี้ หกถักทอภาชนะต่าง ๆ หวายชนิดนี้นำไปแกงไม่อร่อย
3. หวายหางหนู เป็นหวายต้นเล็ก ๆ ลำต้น โตประมาณนิ้วมือ ลำต้นสูงชะลูด ขึ้นเร็วเมื่อ ปล่อยทิ้งไว้หลายปี จะให้เส้นหวายขนาดเล็ก นำเส้นหวายไปใช้จักรสานได้ นำส่วนยอด มาแกงเป็นอาหารได้ แต่มีข้อเสียคือ เนื้อ ยอดอ่อนไม่นุ่มจึงขายไม่ได้ราคามากนัก นอกจากจะบริโภคเองหรือแจกจ่ายผู้คุ้นเคย
4. หวายดง หวายชนิดนี้มีลำต้นใหญ่ กว่าหวายหางหนูแต่เล็กกว่าหวายหางหนูหรือ หวายกะบองถ้าเกิดในป่าดงดิบหวายชนิด นี้จะยาวเลื้อยไปตามต้นไม้ตั้งแต่ลำ ต้นจนถึงยอดไม้จึงให้เส้นหวายยาว 20 -30 เมตร นำเส้นหวายมาใช้จักรสานได้ ส่วนยอดหรือหน่อนำมาแกงอ่อมได้รสชาด อร่อยมากกว่าหวายชนิดอื่น
แหล่งที่พบ
หวายป่าพบได้ตาป่าละเมาะและป่าเบญจพรรณ ทั่วไป เกิดจากนกถ่ายมูลเมล็ดหวาย เมื่อ หวายตกลงพื้นดินมีอุณหภูมิพอเหมาะจะขึ้น เป็นหวายป่า ในปัจจุบันนิยมนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะ ในแปลงหรือกระบะในเรือนเพาะชำ เมื่อเมล็ดหวาย ขึ้นเป็นต้นอ่อนก็ย้ายลงในถุงพลาสติก เพื่อนำ หวายลงไปปลูกในหลุมเป็นแถว เพื่อให้ตัด ยอดอ่อนมาจำหน่ายหรือนำมาปรุงอาหารต่อไป
แหล่งที่ปลูกหวายมากที่สุดคือบริเวณไหล่เขา ภูพาน ในบริเวณอำเภอกุดบาก อำเภอวาริชภูมิ กิ่ง อำเภอภูพาน เป็นแหล่งที่มีหน่อหวายจำหน่ายมาก ที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม -มกราคม เป็นช่วงที่หวายแตกยอดอ่อนหน่อเจริญ งอกงาม
ความสัมพันธ์กับชุมชุม
หวายเป็นอาหารที่นิยมรับประทาน แต่เนื่องจากมี ราคาแพง จึงมักเป็นอาหารพิเศษ ในการรับแขก หรืองานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม ชาวผู้ไทยนิยมรับประทานแกงหวายถือว่าหวาย เป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหวายมีรส ขมเล็กน้อย แต่เมื่อดื่มน้ำหลังรับประทานจะ มีรสหวาน ชาวผู้ไทยจึงนิยมแกงหน่อหวาย เมื่อรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนเป็นสำคัญ แกงหวาย ของชาวผู้ไทยอำเภอวาริชภูมิ มีวิธีทำดัง นี้
http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/sgk/file/n4.html