......นวล..."นางแย้ม"...แนมยิ้มบนพริ้มพักตร์
...เมื่อตระหนักสายสนิทเสน่หา
...ทุกถ้อยย้ำหวังแนบเนาเคียงเยาวภา
...ตราบเวหาสิ้นจำรูญ...สูรย์...จันทร
......ขวามือในภาพของคุณรัตนาวดี....นางแย้ม.....งามมากค่ะ(ลงภาพไม่เป็นต้องอาศัยหน่อยนะคะ)....เหมือนมะลิซ้อนที่มารวมกันเป็นช่อ....หอมแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร...ส่วนดอกกรรณิการ์...ยืนยันว่าน่ารักมากค่ะตรงก้านสีส้มสด
....นางแย้ม.....
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อวงศ์ : Verbenaceae
ชื่อสามัญ : Burma conehead, Fragrant clerodendrum
ชื่อพื้นเมือง : ปิ้งชะมด, ปิ้งช้อน, ส้อนใหญ่
ถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคไตพิการ
ลักษณะทรงพุ่ม : ไม้พุ่มล้มลุก ต้นแก่เมื่อออกดอกไปได้ระยะหนึ่งจะแห้งตายควรตัดออก
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มล้มลุก ดอกคล้ายดอกมะลิซ้อนหลายดอกอัดรวมกัน
ฤดูการออกดอก : ออกดอกตลอดปี แต่ออกดอกมากช่วงฤดูฝน
เวลาที่ดอกหอม : หอมแรงตลอดวัน
การขยายพันธุ์ : ขุดต้นอ่อนที่เกิดจากรากที่อยู่ใกล้ผิวดิน เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ต้นอ่อนจะเกิดมากตั้งแต่ปีที่ 2 หลังจากเริ่มปลูก การตอนและปักชำ เท่าที่รวบรวมข้อมูลสามารถทำได้แต่คิดว่าไม่จำเป็นหากไม่ได้ทำเพื่อการค้า
ข้อแนะนำ : ปลูกได้ดีทั้งกลางแจ้งและที่ร่มรำไร (แดดประมาณ 50%) การปลูกในที่ร่มรำไรจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม การปลูกในครั้งแรกปลูกเพียงต้นเดียวก็พอเนื่องจากมีการแตกต้นใหม่ หากต้องการดอกขนาดใหญ่ ควรเด็ดดอกที่อยู่ตามกิ่งแขนงออกเหลือเฉพาะดอกที่อยู่ที่ยอดบนสุดเท่านั้น คล้ายกับวิธีที่ใช้กับต้นดาวเรือง ควรตัดกิ่งและต้นที่แก่ออกบ้างเพื่อจะได้ต้นใหม่ที่ให้ดอกขนาดใหญ่ ใบอาจทำให้ผิวหนังของบางคนระคายเคืองได้
ข้อมูลอื่นๆ : ใบ ใช้ประคบรักษาไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ราก ใช้แก้ไข้ บำรุงประสาท ใช้รากฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาเริมหรืองูสวัด ต้มรับประทานแก้ฝีภายใน ขับปัสสาวะ ไตพิการ
ด้วยใจ
รัตนาวดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อวงศ์ : Verbenaceae
ชื่อสามัญ : Burma conehead, Fragrant clerodendrum
ชื่อพื้นเมือง : ปิ้งชะมด, ปิ้งช้อน, ส้อนใหญ่
ถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคไตพิการ
ลักษณะทรงพุ่ม : ไม้พุ่มล้มลุก ต้นแก่เมื่อออกดอกไปได้ระยะหนึ่งจะแห้งตายควรตัดออก
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มล้มลุก ดอกคล้ายดอกมะลิซ้อนหลายดอกอัดรวมกัน
ฤดูการออกดอก : ออกดอกตลอดปี แต่ออกดอกมากช่วงฤดูฝน
เวลาที่ดอกหอม : หอมแรงตลอดวัน
การขยายพันธุ์ : ขุดต้นอ่อนที่เกิดจากรากที่อยู่ใกล้ผิวดิน เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ต้นอ่อนจะเกิดมากตั้งแต่ปีที่ 2 หลังจากเริ่มปลูก การตอนและปักชำ เท่าที่รวบรวมข้อมูลสามารถทำได้แต่คิดว่าไม่จำเป็นหากไม่ได้ทำเพื่อการค้า
ข้อแนะนำ : ปลูกได้ดีทั้งกลางแจ้งและที่ร่มรำไร (แดดประมาณ 50%) การปลูกในที่ร่มรำไรจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม การปลูกในครั้งแรกปลูกเพียงต้นเดียวก็พอเนื่องจากมีการแตกต้นใหม่ หากต้องการดอกขนาดใหญ่ ควรเด็ดดอกที่อยู่ตามกิ่งแขนงออกเหลือเฉพาะดอกที่อยู่ที่ยอดบนสุดเท่านั้น คล้ายกับวิธีที่ใช้กับต้นดาวเรือง ควรตัดกิ่งและต้นที่แก่ออกบ้างเพื่อจะได้ต้นใหม่ที่ให้ดอกขนาดใหญ่ ใบอาจทำให้ผิวหนังของบางคนระคายเคืองได้
ข้อมูลอื่นๆ : ใบ ใช้ประคบรักษาไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ราก ใช้แก้ไข้ บำรุงประสาท ใช้รากฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาเริมหรืองูสวัด ต้มรับประทานแก้ฝีภายใน ขับปัสสาวะ ไตพิการ
ด้วยใจ
รัตนาวดี