เห็นรูปดอกปีบที่คุณรัตนาวดีนำมาลง นึกถึงเมื่ออพยพหนีน้ำท่วม บ้านติดกันมีอยู่ต้นหนึ่ง หอมมาก
ถามกะเหรี่ยงที่เฝ้าบ้าน ก็ไม่รู้ว่าชื่ออะไร ให้เก็บมาให้ดู เหมือนดอกที่คุณรัตนาวดีนำมาลงเลย
ยังไม่ได้บอกว่าชอบดอกอะไร อาจจะเป็นดอกที่ได้รับในวันวาเลนไทน์
นึกขึ้นมาได้ถึงดอกกรรณิการ์ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น
แต่เป็นชื่อของเพื่อนนักกลอนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง คือ คุณกรรณิการ์ หิรัญรัศมี
เมื่อผมจัดรายการกลอนทางวิทยุ เธอยังเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ได้มาช่วยอ่านกลอนสำนวนหญิงให้
บทกลอนที่เป็นที่กล่าวขานกันมาก คือ
แม้นไม่ไปพบเขาเราเสียใจ
แต่ถ้าไปพบเขาเราเสียตัว
พี่ศักดิ์เกษม หุตาคม หรือนักประพันธ์นามปากกา อิงอร สงสัยมาก ถามว่าแล้วไปพบเขาหรือเปล่า
เมื่อจบออกมาแล้วเป็นครู แต่มะเร็งคุกคามเธอมาก เธอจิตใจแข็งแกร่งมาก ยังคงสอนอยู่
ได้เยี่ยมเธอที่บ้านซอยเรวดี นนทบุรี ก่อนเธอเสียชีวิตเพียงเดือนเศษ
เธอบอกว่าจะลาออกตอนใกล้ ๆ จะเสียชีวิต เพื่อนำเงินมาให้บุตรชายคนเดียวของเธอ
ไม่ทราบว่าจะลาออกทันหรือเปล่า เธอมีหนังสือกลอนรวบรวมผลงานชื่อ กรรณิการ์
เมื่อนึกไม่ออกว่าชอบดอกอะไร จึงเลือกชื่อเพื่อนนักกลอนคนนี้
ดาว อาชาไนย
ขอบคุณกรรณิการ์จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
กรรณิการ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom: พืช (Plantae)
Division: Magnoliophyta
Class: Magnoliopsida
Order: Scrophulariales
Family: Oleaceae
Genus: Nyctanthes
Species: N. arbor-tristis
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nyctanthes arbor-tristis
กรรณิการ์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้จากตอนเหนือของปากีสถานและเนปาลไปทางใต้ถึงตอนเหนือของอินเดียและตะวันออกเฉียงใต้ของไทย
กรรณิการ์ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ก้านดอกสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรพระ หรือสีทำขนม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ คือ กณิการ์ กรณิการ์
-----------------------------------------------------------------------------
กรรณิการ์ชื่อวิทยาศาสตร์: Nyctanthes arbortristis Linn.
ชื่อสามัญ: กรรณิการ์ ( Night blooming jasmine)
เรื่องราวของดอกกรรณิการ์ มีมากมาย ดอกกรรณิการ์ มีลักษณะโดดเด่นคือก้านดอกเป็นสีแสด ดังที่มีกล่าวไว้ในกาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศกของเจ้าฟ้ากุ้ง
ดอกกรรณิการ์ใช้ย้อมผ้ากันมานาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์กำหนดให้พระภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะมีเครื่องนุ่งห่ม ให้ไปที่ป่าช้า ให้พิจารณาผ้าที่เค้านำมาห่อศพ เรียกว่าผ้าบังสุกุล พิจารณาว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วใช้ได้ ก็ดึงผ้าออกมา
อันเป็นประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน เจ้าภาพจะเอาผ้าสีเหลืองมาวางใกล้กับโลง เรียกว่า ทอดผ้า ทอดแปลว่า ทิ้ง พระท่านก็จะมาจับผ้าและแสดงอาการพิจารณาผ้าบังสุกุล และกล่าวคำ อนิจจา วัตตาสัง ขารา
สมัยก่อนเมื่อนำผ้ามาแล้วจะต้องซักด้วยน้ำขี้เถ้า จนหมดกลิ่น แล้ว จึงนำมาย้อมด้วยดอกกรรณิการ์ โดยเฉพาะก้านดอก จะได้เป็นสีเหลืองฝาดๆ แล้วค่อยนำไปตัดเย็บเป็นสบง จีวร สังคาติ
รัตนาวดี