ผมยังคาใจอยู่เรื่องการส่งสัมผัสระหว่างบท
เลยกลับมาเล็งใหม่อีกเที่ยว
พบว่า สามารถจัดแบ่งวรรคเพลงคิดถึงบ้านได้อีกลักษณะหนึ่ง
คิดถึงบ้าน
๑ เดือนเพ็ญแสงเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นยิ่งหนอยาม เมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา คิดถึงท้องนา บ้านเรือนที่เคยเนา
๒ กองไฟสุมควายตามคอก คงยังไม่มอดดับดอก จันทร์เอยช่วยบอก ให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว ให้พี่น้องเรา นอนหลับอุ่นสบาย
๓ เรไรร้องฟังดังว่า เสียงเจ้าที่เฝ้าคอยหา ลมเอ๋ยช่วยมา กระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่มิหน่าย มิเลือนเคลื่อนคลาย คิดถึงมิวาย ที่เราจากมา
๔ ลมเอยจงเป็นสื่อให้ นำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไป บอกเขานะนา
ให้คนไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา จะไปซบหน้า ในอกแม่เอย. รูปแบบร้อยกรองที่จัดเรียงวรรคใหม่นี้ มีสี่บท ทว่าออกจะพิสดารอยู่ไม่น้อยเพราะในหนึ่งบทมีถึงแปดวรรคด้วยกัน
แต่ถ้าเรานึกถึงฉันทลักษณ์กาพย์ เช่น สุราคนางค์ ๒๘ สุราคนางค์ ๓๒ ที่บทหนึ่งๆมีเจ็ดและแปดวรรคแล้ว
การจัดแบ่งวรรคเพลงคิดถึงบ้านออกเป็นแปดวรรค ก็ย่อมเป็นไปได้
ฉันทลักษณ์ของเพลงคิดถึงบ้านเป็นดังนี้
ในหนึ่งบท มีสองบาท
000000 000000 0000 0000
000000 000000 0000 0000
บาทหนึ่งมีสี่วรรค
000000 000000 0000 0000
วรรคหนึ่งกับสองมีหกคำ
วรรคสามกับสี่มีสี่คำ
บังคับสัมผัสมีสามชนิด
๑ สัมผัสระหว่างวรรค
00000
0 00000
0 000
0 0000
๒ สัมผัสระหว่างบาท
000000 000000 0000 000
0 00000
0 00000
0 000
0 0000
๓ สัมผัสระหว่างบท
000000 000000 0000 0000
000000 000000 0000 000
0 000000 000000 0000 000
0 000000 000000 0000 0000