๔. เขียนเพื่อเอาชนะตนเอง เอาชนะความไม่รู้ของตนโดยหัดเขียนกลอนกระนั้นพอเราเขียนกลอนได้ก็จะมี โคลง,กาพย์,กลอน,ฉันท์ มาให้เรียนรู้อีก พิมพ์วาสขายหน้าเมื่อคราวันสุนทรภู่ตอนประถม ๕ เลยหันมาเขียนกลอนตอนนั้นเข้ามาในบ้านกลอนใหม่ๆ ครามาครั้งแรกก็โดนท่านสมาชิคติชมกลอนขอยอมรับนะคะว่าเขียนกลอนไม่ได้ไม่เป็นจริงๆในขณะนั้นขนาดผังก็ยังต้องเอามาดูเลยสัมผัสระหว่างบทก็ยังไม่รู้จัก หรือแม้แต่สัมผัสใน สัมผัสสระเป็นอย่างไร สัมผัสอักษรเป็นอย่างไรยังไม่ทราบเลค่ะ ถึงว่าไปย้อนอ่านกลอนตัวเองดูถึงรู้ว่าตลก หรือจะพูดได้ว่าเขียนไม่เป็นเลย เขียนไม่ได้เลยก็ว่าได้ค่ะ ประมาณกระทู้ที่ ๓๐๐ กว่าๆถึงจะรู้ตัวว่าเขียนไม่ได้เรื่องเลยข้อความแต่ละขอความที่ส่งมาพิมพ์วาสขอยอมรับนะคะว่าอ่วมใจเลยจนเต็มไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องกราบขอบพระคุณค่ะ พิมพ์วาสว่า พิมพ์วาสไม่ได้เขียนเพื่อะไรทั้งนั้นหละคะเขียนเพราะมันติดมากกว่ากระมังคะ เพราะว่าพอเขียนบ่อยๆแล้วมันจะจำได้จากนั้นสิ่งที่เรารู้เราก็จะรู้มากขึ้นจากนั้นก็จะแผ่ขยายความรู้แตกออกไปอีก แล้วพอเราหยุดทำมันก็จะลืม ที่ว่าติดนี่หมายถึงว่าเมื่อคราไม่ได้เขียนแล้วมันจะ รู้สึกคันไม้คันมืออยากจะเขียนขึ้นมาเฉยๆก็ประมาณนี้ค่ะ เขียนเพราะว่าเราชอบค่ะเรามีความสุขกับมันก็เขียนไปเถอะค่ะ ประมาณนั้นกระมังคะ
กาพย์กลอนฉันลิลิตรวิจิตรบท
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย
งามถ้อยรสพจน์คำแสนล้ำศิลป์
เจรียงความงามถ้อยนำร้อยสิ้น
ให้เป็นถิ่นรินกลอนอักษรไทย
หนูพิมพ์วาสจ๋า ช่วงหลังๆนี่อา เอ๊ย พี่สังเกตว่าฝีมือหนูพัฒนามากขึ้นทีเดียว จะว่าไปมันเป็นสิ่งที่ดี ในการที่เราได้ครูหรือบุคคลที่มีความรู้มาเป็นผู้แนะนำนั้น
ตลอดถึงมีตัวอย่างหลากหลายให้ศึกษา ช่วยให้ฝีมือเราก้าวหน้าขึ้นเยอะ ผิดกับอา อ๊ยพี่ สมัยที่แต่งกลอนใหม่ๆนั้น(นานมากแล้ว ราวยี่สิบปีเห็นจะได้)
การฝึกกลอนนั้นผงผัง หรือผู้แนะนำไม่มีหรอก ก็เราไม่ได้ศึกษามาทางนี้ ไม่ว่าจะผัง คู่มือแนะนำการแต่ง ล้วนไม่มีทั้งนั้น
แม้แต่กลอนที่จะหามาเป็นแบบอย่างสักบทมันช่างยากเย็นเต็มที กลอนที่หาได้ก็อาจจะเป็นตามหนังสือธรรมะ ที่พระท่านแต่งเป็นคติธรรมคำกลอนแจกบ้าง
จากหนังสืองานศพ ที่เขาพิมพ์กลอนคติธรรมแจกบ้าง แหล่งกลอนที่ถือว่ามีกลอนเยอะพอสมควรก็เห็นจะเป็นหนังสือ ศาลาคนเศร้า ซึ่งต้องเสียเงินซื้อ(ซึ่งถือว่ามีกลอนมากหน่อย)
กับอีกเล่มหนึ่งที่ลงกลอนระดับคุณภาพแต่ลงแค่ฉะบับละสองบท นั่นก็คือ วารสารตราไปรษณียากร
ฉะนั้นการแต่งโคลง กาพย์ กลอน จึงเป็นอะไรที่นับคำ ชนิดเทียบกันแบบคำต่อต่อคำกันเลยทีเดียว กว่าจะจับแนวทางได้ก็นานพอดู
อีกอย่างสมัยก่อนแต่งเองอ่านเอง จึงไม่ได้แต่งบ่อยเหมือนเดี๋ยวนี้ นานๆถ้ามีอารมณ์แต่งถึงจะแต่งขึ้นมาสักครั้ง
แล้วเวลาที่แต่งแล้วจะไปให้ใครอ่านเขาก็มองว่าเป็นพวกบ้ากลอน นอกจากไม่ได้แสดงความชื่นชมยินดี แล้วหนำซ้ำยังจะดูถูกอีกต่างหาก
นี่มันเป็นชีวิตจริง มันเหมือนกระทิงหลงฝูง หรือไผ่นอกกอ ข้าวนอกนาอะไรประมาณนั้นแหละ
ฉะนั้นพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ไอ้ที่แต่งๆนี่ไม่ว่าจะเป็นกลอน กาพย์ โคลง แกะมาเองทั้งนั้นแหละ คล้ายๆพวกนักโบราณแกะศิลาจารึกอะไรประมาณนั้น
หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครูกลอนที่แท้จริงของอา เอ๊ย พี่ ก็คือ บทกลอนที่ใช้ศึกษานั่นเอง หรือถ้าจะนับเป็นบุคคลก็ได้แก่ตัวผู้แต่งกลอนนั้นๆ
ฉะนั้นรุ่นหลังๆนี่จึงถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ที่มีแหล่งกลอนให้ศึกษา มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ มีแผนผัง มีกลอนตัวอย่างให้อ่านให้ศึกษากันอย่างมากมาย
อะไรที่ไม่เข้าใจ ถามอากู๋ เดี๋ยวเดียวก็ได้
เคล็ดลับสำคัญสำหรับการแต่งบทกลอนให้ดีนอกจากจะอาศัยแค่แผนผังกับวิธีการแต่งอย่างเดียวไม่ได้
จำเป็นจะต้องมีบทกลอนบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท ที่แต่งดี แต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์มาเป็นแบบอย่างสำหรับท่องจำให้รู้จักท่วงทำนอง จังหวะจะโคนเสียก่อน
ถ้าอาศัยดูแต่แผนผังอย่างเดียวมักจะอยู่ไม่นาน พอปล่อยแผนผังก็เป๋ การดูแค่แผนแล้วแต่งได้นั้นเป็นเรื่องของผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
ฉะนั้น กลอนตัวอย่างหรือบทครูนั้นจะสำคัญมาก ถ้าได้ตัวอย่างที่ดี เราก็จะดีตามไปด้วย ถ้าได้ตัวอย่างที่ไม่ดี เราก็จะพลอยแย่ คล้ายๆพ่อปูสอนลูกปูแบบนั้น
เสริมอีกข้อ เป็นข้อ ๕ คือ แต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะ การแต่งเพื่อถ่ายทอดศิลปะก็คือการแต่งกลอนด้วยใจรักในศิลปะนั่นเอง
ดังนั้น กลอนที่สื่อออกมาจึงเป็นบทกลอนที่มีคุณภาพ มีความละเอียดอ่อน ตามความตั้งใจของผู้แต่ง
นักกลอนเพื่อน ๆ ของผมมีครูกันทั้งนั้น เป็นครูพักลักจำ คือท่านสุนทรภู่ พวกเรานับถือท่านเป็นครูกันทุกคน
จึงศึกษาและสังเกตงานของท่าน และจดจำมาเป็นแบบอย่างเท่าที่จะทำได้ เพราะจะให้เหมือนครูเป๊ะ ๆ คงทำไม่ได้
ได้สังเกตการเล่นสัมผัสของท่าน ท่านจะไม่มี"สัมผัสเลือน"เลย ขอแนะนำว่าอย่าไปเรียนกับงานของคนอื่น
แม้แต่บางคนที่เขายกย่องกันว่าเป็น"กวี" ยังเขียนผิดฉันทลักษณ์เลย