หนาวเอยเผย หนาวใจ ใครจะรู้
หญิงควรชวน ชิดคู่ อยู่เคียงสอง
ข้างกายชาย เช้า-เย็น เป็นครอบครอง
ค่ำคืนตื่น ฟื้นสนอง ป้องปกกัน
หนาวลมห่ม หนาวพัด ซัดใจเจ้า
สำเนียงเสียง สอดเคล้า เล่าสุขสันต์
ชายหญิงอิง แอบกอด พรอดรำพัน
คงอุ่นคุ้น ครวญฝัน มั่นภิรมย์.....
หทัยกาญจน์
๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕
หญิงควรชวน ชิดคู่ อยู่เคียงสอง
ข้างกายชาย เช้า-เย็น เป็นครอบครอง
ค่ำคืนตื่น ฟื้นสนอง ป้องปกกัน
หนาวลมห่ม หนาวพัด ซัดใจเจ้า
สำเนียงเสียง สอดเคล้า เล่าสุขสันต์
ชายหญิงอิง แอบกอด พรอดรำพัน
คงอุ่นคุ้น ครวญฝัน มั่นภิรมย์.....
หทัยกาญจน์
๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕
กลบทสิงโตเล่นหาง
หทัยกาญจน์วางกระทู้ดูเหมาะสม
ขอผังนี้ด้วยหนามาให้ชม
คำผสมสัมผัสจัดอย่างไร
ขอลองแต่งแจงรู้ดูให้ด้วย
คุณคนสวยช่วยทานกานต์ผมใหม่
วางมานี้ที่เห็นเป็นเช่นใด
ถูกบ้างไหมในคำควบกล้ำมา.
นพ
7 ม.ค.55
หทัยกาญจน์วางกระทู้ดูเหมาะสม
ขอผังนี้ด้วยหนามาให้ชม
คำผสมสัมผัสจัดอย่างไร
ขอลองแต่งแจงรู้ดูให้ด้วย
คุณคนสวยช่วยทานกานต์ผมใหม่
วางมานี้ที่เห็นเป็นเช่นใด
ถูกบ้างไหมในคำควบกล้ำมา.
นพ
7 ม.ค.55
ตัวอย่างวางวาดคำนำมากล่าว
ร้อยรสพจน์แพรวพราวสาวศึกษา
อักษรกลอนกลนี้ที่ตรึงตรา
นำแก่นแผนผังว่า...หาให้คุณ
หทัยกาญจน์
๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕
emo_47กลบท สิงโตเล่นหาง
การแต่ง : มีการบังคับให้ใช้สระเสียงเดียวกัน “ซ้ำกัน ๒ คู่ อยู่ ณ กลางวรรค
ของทุกวรรค โดยให้มีคำมาคั่นระหว่างคำ ๒ คู่นั้น ๑ คำ”
ดังรูป...
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่าง กลบท สิงโตเล่นหาง กับ กลบท
ช้างชูงวง คือ ช้างชูงวง มีคำที่ ๓ กับคำที่ ๔ และคำที่ ๖ กับคำที่
๗ มีสระเสียงเดียวกัน ส่วนสิงโตเล่นหาง มีคำที่ ๒ กับคำที่ ๓ และ
คำที่ ๕ กับคำที่ ๖ มีสระเสียงเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
แสนรักหนักฤาทัยใครจะเสมอ
นอนกลางวันฝันถึงเจ้าเฝ้าละเมอ
ลืมเผยอเนตรเขม้นเห็นแต่เงา
สำคัญจิตร์คิดว่าน้องย่องมาแอบ
เห็นวับแวบเดินดูรู้ว่าเสา
นำสะเทินเขินคิดผิดแล้วเรา
สลดทรวงง่วงเหงาเศร้าโศกโทรม
คัดลอกมาจาก หนังสือ ร้อยกรอง ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ วราภรณ์ บำรุงกุล หน้า ๒๗๑
ปล. เท่าที่ศึกษามามีดังที่กล่าวข้างต้น หากเพื่อนๆ ท่านใด มีสิ่งใดเพิ่มเติมช่วยชี้แนะได้นะค่ะ
การแต่ง : มีการบังคับให้ใช้สระเสียงเดียวกัน “ซ้ำกัน ๒ คู่ อยู่ ณ กลางวรรค
ของทุกวรรค โดยให้มีคำมาคั่นระหว่างคำ ๒ คู่นั้น ๑ คำ”
ดังรูป...
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่าง กลบท สิงโตเล่นหาง กับ กลบท
ช้างชูงวง คือ ช้างชูงวง มีคำที่ ๓ กับคำที่ ๔ และคำที่ ๖ กับคำที่
๗ มีสระเสียงเดียวกัน ส่วนสิงโตเล่นหาง มีคำที่ ๒ กับคำที่ ๓ และ
คำที่ ๕ กับคำที่ ๖ มีสระเสียงเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
แสนรักหนักฤาทัยใครจะเสมอ
นอนกลางวันฝันถึงเจ้าเฝ้าละเมอ
ลืมเผยอเนตรเขม้นเห็นแต่เงา
สำคัญจิตร์คิดว่าน้องย่องมาแอบ
เห็นวับแวบเดินดูรู้ว่าเสา
นำสะเทินเขินคิดผิดแล้วเรา
สลดทรวงง่วงเหงาเศร้าโศกโทรม
คัดลอกมาจาก หนังสือ ร้อยกรอง ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ วราภรณ์ บำรุงกุล หน้า ๒๗๑
ปล. เท่าที่ศึกษามามีดังที่กล่าวข้างต้น หากเพื่อนๆ ท่านใด มีสิ่งใดเพิ่มเติมช่วยชี้แนะได้นะค่ะ