“ต้นแมงดา” หอมกรุ่นละมุนกลิ่น
คนท้องถิ่นเด็ดใบมาปรุงอาหาร
ได้กลิ่นหอมแมงดาน่ารับประทาน,
เกิดริมธาร หุบเขาลำเนาไพร ฯ
อริญชย์
๑๙/๑๒/๒๕๕๔
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakE0TURZMU13PT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1DMHdOaTB3T0E9PQ==
ต้นแมงดา"ทำมัง"
รู้ไปโม้ด
[email protected]
อยากรู้จักต้นกลิ่นแมงดา เป็นอย่างไรอธิบายด้วยครับ
Niwat
ตอบ นิวัต
ไม้พันธุ์ที่มีกลิ่นเหมือนแมงดาคือ "ทำมัง" ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอธิบายไว้ว่า ทำมังเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นแมงดา สกุล Litsea วงศ์ Lauraceae โดยที่ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ถึง 400 ชนิด อาทิ อบเชย สะทิด ทัง บง ฯลฯ ทำมังเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข พบกระจายในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกา สำหรับประเทศไทยซึ่งเรียกชื่อทำมังเหมือนกันหมด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่จ.ประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง (อ.บางสะพาน และอ.บางสะพาน น้อย) ชุมพร สุราษฎร์ธานี นรา ธิวาส โดยชอบอยู่ตามที่ชื้นในหุบเขา ริมลำธาร ในป่าดงดิบจนถึงป่าพรุ แต่ไม่ค่อยพบในป่าบนภูเขา
ทำมังเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มแบบพีระมิดค่อนข้างโปร่ง เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น 30-40 ซ.ม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาลถึงเทา ใบแบบใบเดี่ยวเรียงสลับหมุนเวียนรอบกิ่ง ใบกว้าง 3-9 ซ.ม. ยาว 6-20 ซ.ม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซ.ม. แผ่นใบบางเป็นมัน เส้นแขนง 4-12 คู่ มองเห็นชัดเจนทางด้านท้องใบ บนใบมีต่อมน้ำมัน ผลรูปไข่ยาว 1 ซ.ม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลแดง ภายใน มีเมล็ดเดียว ต้นทำมังมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ดอกแยกเพศ ส่วนกลิ่นแมงดามีอยู่ที่ใบ เปลือกลำต้น และเนื้อไม้ นิยมนำใบอ่อนมาผสมลงในแกงเลียงเพื่อให้มีกลิ่นฉุนของแมงดา หรือนำใบแก่ย่างไฟตำผสมลงในน้ำพริก จะได้น้ำพริกกลิ่นแมงดา และนำไม้มาทำสากสำหรับตำน้ำพริกที่ต้องการให้มีกลิ่นแมงดา
ในการสำรวจพันธุ์ไม้ พบประเทศไทยมีทำมัง 4 ชนิด ลักษณะใกล้เคียงกันมาก ได้แก่ 1.Litsea elliptica Boerl. พบมากที่จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นคือใบรูปมนรี ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่น คือ กว้าง 2-6.5 ซ.ม. ยาว 6-14 ซ.ม. มีเส้นแขนงใบ 5-8 คู่ ฐานใบไม่เท่ากัน กระพี้ไม้สีเหลืองอ่อน ส่วนต้นขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่น และก้านดอกสั้นเพียง 3 ม.ม. 2.Litsea leiantha Hook.f พบมากที่ จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะเด่นคือใบค่อนข้างใหญ่ ฐานใบเท่ากัน เส้นแขนงใบและเส้นตาข่ายเห็นชัดเจนด้านล่างของใบ ก้านดอกสั้น
3.Litsea petiolata Hook.f พบมากที่จ.ตรัง ลักษณะเด่นคือก้านใบยาวเรียว ใบมีขนาดกลาง กลิ่นฉุนกว่าชนิดอื่น 4.Litsea resinosa Bl. พบมากที่จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะเด่นคือมียางใสที่ใบ มีใบขนาดใหญ่ที่สุดคือ กว้าง 4-9 ซ.ม. ยาว 11-20 ซ.ม. เส้นแขนงใบ 7-12 คู่ มีช่อดอกยาวกว่าชนิดอื่น แต่ลำต้นเล็กกว่า อย่างไรก็ตาม การจำแนกทำมังทั้ง 4 ชนิด ยังค่อนข้างสับสน โดยเฉพาะเมื่อทำมังเป็นต้นไม้ทั้งต้นตัวผู้และตัวเมียจึงแยกชนิดได้ยาก ส่วนในมาเลเซียมีรายงานว่ามีทำมังชนิดที่ 1, 3 และ 4
ทุกวันนี้ ทำมังในแหล่งธรรมชาติถูกตัดทำลายจนเกือบสูญพันธุ์ เพื่อนำพื้นที่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด กาแฟและโกโก้ ข้อมูลระบุว่า ช่วงเวลาก่อนเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์ (4 พฤศจิกายน 2532) ยังมีต้นทำมังอยู่ประปรายในเขตประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง และชุมพรตอนบน รวมทั้งที่เกษตรกรปลูกอยู่บ้าง แต่หลังจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ต้นทำมังสูญไปจากบริเวณนั้นอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ เพราะลำต้นผอมสูง ทรงพุ่มลีบ การจะขึ้นไปเก็บเมล็ดทำได้ลำบาก ประกอบกับเมล็ดที่ร่วงลงมากระจายหายไป ทำให้ต้นกล้าที่ขึ้นอยู่ในสภาพป่าธรรมชาติมีน้อยมาก การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจึงมีโอกาสน้อยมากด้วย
ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีตอนกิ่ง ใช้เวลา 3-4 เดือนจึงออกรากและตัดไปปลูกได้ แต่ในการทดลองใช้ฮอร์โมนเร่งราก ABT หมายเลข 1 และ 2 เข้มข้น 2,500 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ทาบริเวณที่ควั่น ใช้ใบตองแห้งหุ้มไว้ 2 สัปดาห์ แล้วหุ้มด้วยขุยมะพร้าว พบว่าเร่งให้ออกรากได้ในเวลา 2 เดือน และกิ่งออกรากได้สูงถึงร้อยละ 95
หน้า 24
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
24 พฤศจิกายน 2024, 12:29:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: "รู้-ไม้-ใช่-ว่า-ตัด-มา-แบก-หาม" (อ่าน 9091 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: