"หนาวระทม"
หนาวเหลือเกินเดินนั่งก็ยังหนาว
ก่อนยังหน่วงช่วงคราวมีสาวสู่
เมื่อสมสองจองจากพรากโฉมตรู
พร่ำฉ่ำตรมถมสู่ดูเดียวดาย
ด้วยดึงดันฉันเมินเกินร่ายรัก
ก่อริ้วรอยปล่อยหลักหลุดปักหมาย
หลงเป้าหมองครองร้าวหนาวใจกาย
หน่วงจนเกินเขินปลายไม่หมายมอง
เมื่อหมดมุ่งคุ้งคำต้องจำพราก
เติมจิตพร่องร้องฝากจากใจหมอง
จำจากหมู่คู่เคล้าเคยเฝ้าปอง
คนใฝ่เป็นเช่นต้องลาน้องไกล
ลงเนื้อกลอนวอนหาคราต้องจาก
ครั้นตามจิตคิดมากฝากหวั่นไหว
เฝ้าหวาดหวังยังตรมระทมใจ
เริ่มท้อจนหม่นไหม้..ใครไหนเทียม.
ก่อนยังหน่วงช่วงคราวมีสาวสู่
เมื่อสมสองจองจากพรากโฉมตรู
พร่ำฉ่ำตรมถมสู่ดูเดียวดาย
ด้วยดึงดันฉันเมินเกินร่ายรัก
ก่อริ้วรอยปล่อยหลักหลุดปักหมาย
หลงเป้าหมองครองร้าวหนาวใจกาย
หน่วงจนเกินเขินปลายไม่หมายมอง
เมื่อหมดมุ่งคุ้งคำต้องจำพราก
เติมจิตพร่องร้องฝากจากใจหมอง
จำจากหมู่คู่เคล้าเคยเฝ้าปอง
คนใฝ่เป็นเช่นต้องลาน้องไกล
ลงเนื้อกลอนวอนหาคราต้องจาก
ครั้นตามจิตคิดมากฝากหวั่นไหว
เฝ้าหวาดหวังยังตรมระทมใจ
เริ่มท้อจนหม่นไหม้..ใครไหนเทียม.
"บ้านริมโขง"
กลบท นาคราชแผลงฤทธิ์จะคล้ายกับกลบทช้างประสานงา(หรืออักษรบริพันธ์) คือให้มีสัมผัสอักษรระหว่าง ๓คำของช่วงหลังในวรรคก่อน กับ ๓ คำช่วงแรกในวรรคถัดไป แต่กลบทนาคราชแผลงฤทธิ์ต้องมีสัมผัสสระระหว่างคำปลายวรรคก่อน กับคำแรกของวรรคถัดไปด้วย
(ที่มา รอยทราย: วันเนาว์ ยูเด็น)
การส่งสัมผัสอักษรนั้นยึดตามเสียงพยัญชนะต้น เช่น
ไม่เคืองแค้น สัมผัสกับ แม้นคำโข
คำว่า โข อาจจะต่างรูป แต่ถือว่าเป็นเสียงเดียวกับอักษร ค ต่างแค่เสียงวรรณยุกต์
จักติดไฟ สัมผัสกับ ใจตัดฝน
ฟ(ไฟ) กับ ฝ(ฝน) ถือว่าเป็นเสียงอักษรเดียวกัน
สิ่งที่ต้องระวังคือ พยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเดี่ยวก็ต้องรับสัมผัสอักษรกับพยัญชนะเดี่ยวเช่นเดียวกัน
แค่นคุยข่ม เป็นเสียง ค ค ค สัมผัสกับ คมขากเค้น ซึ่งเป็นเสียง ค ค ค เช่นเดียวกัน
ถ้าไปรับสัมผัสด้วย คมความเค้น เสียงอักษรที่รับจะกลายเป็น ค คว ค ถือว่ารับสัมผัสอักษรไม่ตรง
ถ้าส่งสัมผัสอักษรด้วยพยัญชนะควบกล้ำก็ต้องรับด้วยพยัญชนะควบกล้ำ เช่น
จ่อเพลิงโหม (จ พล ห) รับด้วย โจมพลุ่งเห็น (จ พล ห)
ถ้ารับด้วย โจมผ่านเห็น จะกลายเป็นรับด้วยเสียง จ พ ห ซึ่งคำว่า ผ่าน เป็นคำที่ใช้พยัญชนะต้นเดี่ยว ถือว่าไม่รับสัมผัสอักษร
ถ้า ส่งสัมผัสอักษรด้วยเสียง ร ต้องรับด้วยเสียง ร อาจเลี่ยงไปใช้ ฤ ฤๅ รับได้เพราะถือว่าเสียงเดียวกัน แต่รับด้วยเสียง ล หรือ ฦ ฦๅ ไม่ได้
นักกลอนที่คิดจะเล่นสัมผัสอักษรจึงควรระวัง
ด้วยความปรารถนาดี
เพรางาย มณีโชติ
(ที่มา รอยทราย: วันเนาว์ ยูเด็น)
การส่งสัมผัสอักษรนั้นยึดตามเสียงพยัญชนะต้น เช่น
ไม่เคืองแค้น สัมผัสกับ แม้นคำโข
คำว่า โข อาจจะต่างรูป แต่ถือว่าเป็นเสียงเดียวกับอักษร ค ต่างแค่เสียงวรรณยุกต์
จักติดไฟ สัมผัสกับ ใจตัดฝน
ฟ(ไฟ) กับ ฝ(ฝน) ถือว่าเป็นเสียงอักษรเดียวกัน
สิ่งที่ต้องระวังคือ พยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเดี่ยวก็ต้องรับสัมผัสอักษรกับพยัญชนะเดี่ยวเช่นเดียวกัน
แค่นคุยข่ม เป็นเสียง ค ค ค สัมผัสกับ คมขากเค้น ซึ่งเป็นเสียง ค ค ค เช่นเดียวกัน
ถ้าไปรับสัมผัสด้วย คมความเค้น เสียงอักษรที่รับจะกลายเป็น ค คว ค ถือว่ารับสัมผัสอักษรไม่ตรง
ถ้าส่งสัมผัสอักษรด้วยพยัญชนะควบกล้ำก็ต้องรับด้วยพยัญชนะควบกล้ำ เช่น
จ่อเพลิงโหม (จ พล ห) รับด้วย โจมพลุ่งเห็น (จ พล ห)
ถ้ารับด้วย โจมผ่านเห็น จะกลายเป็นรับด้วยเสียง จ พ ห ซึ่งคำว่า ผ่าน เป็นคำที่ใช้พยัญชนะต้นเดี่ยว ถือว่าไม่รับสัมผัสอักษร
ถ้า ส่งสัมผัสอักษรด้วยเสียง ร ต้องรับด้วยเสียง ร อาจเลี่ยงไปใช้ ฤ ฤๅ รับได้เพราะถือว่าเสียงเดียวกัน แต่รับด้วยเสียง ล หรือ ฦ ฦๅ ไม่ได้
นักกลอนที่คิดจะเล่นสัมผัสอักษรจึงควรระวัง
ด้วยความปรารถนาดี
เพรางาย มณีโชติ