ตอบ .... บอม ซอม ดุ๊ก ครับ
การเขียนโคลงเป็นชุด ก็คล้ายๆ กับการเขียนเพลงนั่นแหละครับ
เมื่อเราร้องเพลงท่อนที่ ๑ ของเพลง ก. แล้ว
เราไม่ควรต่อด้วยท่อนที่ ๒ ของเพลง ข.
แล้วไปต่อด้วยเพลงท่อนที่ ๓ ของเพลง ค. ฯลฯ
นอกจากจะเป็นการร้องเล่นๆ สนุกๆ อย่างเราร้องต่อเพลงขณะเมาตอนไปเที่ยว
ในที่นี้ "นมตำเลีย" วฤกเขียนเป็นโคลงมา ๔ บท
ทั้ง ๔ บทจึงควรมีความสัมพันธ์กัน
ความสัมพันธ์ของบทประพันธ์ โดยหลักแล้ว ท่านจะใช้ความสัมพันธ์เชิงเนื้อหา
ด้วยเหตุนี้ เรื่องพระอภัยมณี จึงไม่ไปต่อกับ กากี หรือ สามก๊ก
ยกเวันแต่ "อุณรุทร้อยเรื่อง" ซึ่งคุณสุวรรณท่านแต่งเล่นสนุกๆ
โคลงชุด "นมตำเลีย"
วฤก
ทดลองเขียน โดยกำหนดให้โคลงแต่ละบทมีความสัมพันธ์กันเชิง
"รูปแบบ" มากกว่า "เนื้อหา"
เป็นการทดลองเขียนเท่านั้นนะ ... อย่าได้ยึดถือเป็นสรณะไป
เริ่มจาก ... วฤกได้ทดลองวางรูปแบบโคลงสี่สุภาพใหม่ดังนี้
OOOOO............OO
OOOOO............OO
OOOXY.............XY
XYOTT..............OOOO
XY คือซ้ำอักษร
TT คือทำเป็นโทคู่
โคลงบทที่ ๓ เขียนให้ยากขึ้น โดยการซ้ำ(เสียง)อักษร เพิ่มขึ้นเป็น
OOOAB............AB
ABOCD............CD
CDOEF.............EF
EFOTT..............OOOO
เมื่อกำหนดรูปแบบแล้ว ... ก็จึงเขียนโคลงขึ้นมา ....
เมื่อโคลงถูกกำหนดรูปแบบอย่างเคร่งครัดแล้ว
จึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ที่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ที่ไม่คุ้นหูกัน
แต่คำพวกนี้ ... ถ้าอ่านวรรณคดีบ่อยๆ จะไม่รู้สึกว่ายากเลยครับ
ขออภัยที่ทำให้ต้องเปิดพจนานุกรมประกอบการอ่านโคลงชุดนี้ แหะ ๆๆๆ