มันผิดตรงที่ อัน ไม่ควรจะไปรับกับคำว่า อาน ครับ
เขาถือว่า สระคนละตัวกัน อย่าง โคน กับ คน แม้เสียงจะใกล้กัน
แต่ก็คือสระคนละตัวครับ จัดเป็นสัมผัสเพี้ยน หรือสัมผัสเผลอ
(ตามที่เขาว่ามานะครับ)
DEWADA
ปล.ถ้าเกิดคุณ นพ จะส่งกลอนประกวด จะต้องระวังตรงจุดนี้ด้วยนะครับ
เกิดไปเจอกรรมการเคร่งๆ จะได้เข้าใจว่า แพ้เพราะเหตุใด
อีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องเขียนคำสลับกัน อย่าง ว้าเหว่ เป็น เหว่ว้า ทักทายเป็นทายทักงี้ ความหมายมันเปลี่ยน
ทำให้เราชวดรางวัลได้(แม้ว่าจะแต่งดีก็ตาม)
แบบว่า ขอแจมนะครับ
ในความเห็นส่วนตัว นะครับ ผมว่าในการเขียนกลอนไม่ได้บังคับให้มีสัมผัสในครับ
แต่ถ้ามีจะดูไพเราะ อย่างที่คุณนพยกมา ผมว่าไม่ใช่สัมผัสเพี้ยนครับ ถ้าเป้นสัมผัสนอกนี่ผิดแน่ครับ
ถ้าอ่านแล้วสัมผัสในพอไปได้มันไม่ค่อยสะะดุดหรอกครับ
ส่วนเรื่อง การสัมผัสซ้ำจริง ๆไม่เคยมีใครบอกว่ามันผิด บางครั้งเขาก็ต้องการเน้นคำ อย่างที่คุณ เทวดา บอก
ลองทบทวนกลบทให้ดี จะดูออกว่าบางกลบท มันจะทำให้กลอนเพี้ยนได้ ไม่มีตัวอย่างนะครับ อย่างถอยหลังเข้าคลอง ลองแต่งดูจะรู้ว่า มันเพี้ยนๆ
ไม่มีใครบอกว่าผิด แต่ฉันทลักษณ์ ที่กำหนดไว้ รวมถึงข้อห้ามต่างๆ ผ่านการพิจารณา มาหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า ถ้าเป็นไปตามนั้นกลอนจะมีความไพเราะ อย่างที่สุด
เรื่องPMก็ยังสืบทอดกันมาอยู่ ครับพี่แจ้ค แต่ว่าหลายๆ คนไม่มีศิลปะในการสอน ทำให้เหมือนไปด่า ไปจู้จี้เขา ทำตัวเป็นครูที่เคร่งจัด ทั้งที่ไม่ใช่ มันน่ารำคาญครับ
หลายคนบอกมา จึงเห็นย้ายเวปหนีกันบ่อยๆ คือเตือนกันได้แต่ให้เหมือนพี่น้องมากกว่าจะเป็นครู นะครับ เพราะมาตรฐานตัวเองไม่สามารถไปตัดสิน อะไร หรือความคิดใครเขาได้หรอก
พงษ์