ปุจฉา...
อันใดฤๅคือเลศเหตุแห่งภพ
ยามเคี้ยวขบหวานล้วนแลหวนหอม
อันใดเล่าเย้าชนให้ยลยอม
กดกายค้อมยอบคลานบนลานกรรม
อันใดฤๅคือเลิศประเสริฐสุด
มวลมนุษย์ยุดมือยื้อถลำ
อันใดหนอคลอคละครากระทำ
แลตอกย้ำสำนึกรำลึกตรอง
ท่ามวัตถุนิยมประสมอยาก
ความมักมากลากทุกข์สุขสนอง
ท่ามกระแสแลเปลือกกล่นเกลือกกอง
มนุษย์ปองใดฤๅใว้ถือชม
ปภัสร์
๒ กันยายน ๒๕๕๔
วิสัชนา
ตัว"ตัณหา"พาจิตตามติดภพ
วุ่นวนสบ"วัฏสงสาร"เวียนวารถม
"นิวรณ์ห้า"เหตุชนยลอาจม
กดจิตข่มซมซานบนลานเพรง
"นฤพาน"ขานเลิศประเสริฐเหตุ
แต่"กิเลส"ยื้อมนุษย์ยุดข่มเหง
"สติมาปัญญา"พร้อมห้อมเชวง
คะครื้นเครงดำริสติตน
ท่ามสิ่งเร้าเย้ายวนชวนพินิจ
จักเกลาจิตฤทธิ์ร้ายให้คลายผล
จงกอบกำธรรมะสู่กมล
ใช่แย่งยล"หลงอยาก"เพียงกากกรรม
ตัณหา=ความทะยานอยากอยาก ความดิ้นรนใจ
กิเลส=ความโลภ โกรธ หลง(โลภะ,โทสะ,โมหะ)
ปฐมพุทธภาสิตคาถา(บางส่วน)
อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
เมื่อเรายังไม่พบญาน ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสังสารเป็นอเนกชาติแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไปฯ
นิวรณ์ห้าและกัมมัฏฐานสำหรับแก้
๑.ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกว่า กามฉันทะ แก้ด้วยเจริญอสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญกายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยัง ให้เป็นของน่าเกลียด
๒.ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า พยาบาท แก้ด้วยเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้คิดในทางให้เกิดเมตตา ช่วยเหลือ เมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดี ไม่ริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้
๓.ความท้อแท้ หรือคร้าน และความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า ถีนมิธะ แก้ด้วยเจริญอนุสติกัมมัฏฐานพิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลกสัญญา กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง
๔.ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือ รำคาญ เรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ แก้ด้วยเพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจใว้ในอารมณ์เดียว หรือ เจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช
๕.ความลังเลไม่ลงได้ เรียกว่า วิจิกิจฉา แก้ด้วยเจริญธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็นอยู่ตามจริง
อีกอย่างหนึ่ง ทำความกำหนดรู้จิตที่มีนิวรณ์ และนิวรณ์ที่มีในจิตกับโทษ เมื่อเกิดปัญญาความรู้จักนิวรณ์ และโทษของนิวรณ์ขึ้น นิวรณ์ก็จะสงบหายไป
เนื้อหาเรื่องนิวรณ์ห้าและกัมมัฏฐานสำหรับแก้ คัดลอกจากหนังสือ "รวมธรรมะ" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทานเป็นพระราชานุสรณ์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙
ปภัสร์
๑๕ กันยายน ๒๕๕๔
วุ่นวนสบ"วัฏสงสาร"เวียนวารถม
"นิวรณ์ห้า"เหตุชนยลอาจม
กดจิตข่มซมซานบนลานเพรง
"นฤพาน"ขานเลิศประเสริฐเหตุ
แต่"กิเลส"ยื้อมนุษย์ยุดข่มเหง
"สติมาปัญญา"พร้อมห้อมเชวง
คะครื้นเครงดำริสติตน
ท่ามสิ่งเร้าเย้ายวนชวนพินิจ
จักเกลาจิตฤทธิ์ร้ายให้คลายผล
จงกอบกำธรรมะสู่กมล
ใช่แย่งยล"หลงอยาก"เพียงกากกรรม
ตัณหา=ความทะยานอยากอยาก ความดิ้นรนใจ
กิเลส=ความโลภ โกรธ หลง(โลภะ,โทสะ,โมหะ)
ปฐมพุทธภาสิตคาถา(บางส่วน)
อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
เมื่อเรายังไม่พบญาน ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสังสารเป็นอเนกชาติแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไปฯ
นิวรณ์ห้าและกัมมัฏฐานสำหรับแก้
๑.ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกว่า กามฉันทะ แก้ด้วยเจริญอสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญกายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยัง ให้เป็นของน่าเกลียด
๒.ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า พยาบาท แก้ด้วยเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้คิดในทางให้เกิดเมตตา ช่วยเหลือ เมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดี ไม่ริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้
๓.ความท้อแท้ หรือคร้าน และความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า ถีนมิธะ แก้ด้วยเจริญอนุสติกัมมัฏฐานพิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลกสัญญา กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง
๔.ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือ รำคาญ เรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ แก้ด้วยเพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจใว้ในอารมณ์เดียว หรือ เจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช
๕.ความลังเลไม่ลงได้ เรียกว่า วิจิกิจฉา แก้ด้วยเจริญธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็นอยู่ตามจริง
อีกอย่างหนึ่ง ทำความกำหนดรู้จิตที่มีนิวรณ์ และนิวรณ์ที่มีในจิตกับโทษ เมื่อเกิดปัญญาความรู้จักนิวรณ์ และโทษของนิวรณ์ขึ้น นิวรณ์ก็จะสงบหายไป
เนื้อหาเรื่องนิวรณ์ห้าและกัมมัฏฐานสำหรับแก้ คัดลอกจากหนังสือ "รวมธรรมะ" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทานเป็นพระราชานุสรณ์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙
ปภัสร์
๑๕ กันยายน ๒๕๕๔