มองตัวตนหนทางคล้ายว่างเปล่า
ทุกข์สุขเศร้ามากแม้นหาแก่นสาร
ใดฤๅค่าควรคุณเกื้อกูลการ
ในเวิ้งวารผลิผลัดอนัตตา
สรรพสิ่งจริงแท้ฤๅแลหลอก
เย้ายวนหยอกยั่วยลให้ค้นหา
ทุรนรานร้อนเร่าเผาวิญญา
ปรารถนาคว้าไขว่อันใดฤๅ
ไม่รู้ใจ
ทุกข์สุขเศร้ามากแม้นหาแก่นสาร
ใดฤๅค่าควรคุณเกื้อกูลการ
ในเวิ้งวารผลิผลัดอนัตตา
สรรพสิ่งจริงแท้ฤๅแลหลอก
เย้ายวนหยอกยั่วยลให้ค้นหา
ทุรนรานร้อนเร่าเผาวิญญา
ปรารถนาคว้าไขว่อันใดฤๅ
ไม่รู้ใจ
อันใดฤๅ ก็หาไม่ใช่ตัวตน
ใยจะค้น ให้เคว้งคว้าง ลิงหลอกเจ้า
เที่ยวยึดติดกายใจนี้ว่าเป็นเรา
หลงมัวเมา ปรนเปรอ เหอลำพอง
ดั่ง พุทธะ ท่านแปลว่า ผู้รู้
ล้ำเลิศครู ขี้แนวทาง ท่านสั่งสอน
ศึกษาตน ว่างตัวตน พ้นหมายปอง
มีครรลอง ท่านเดินนำ ให้เดินตาม
ดั่งจะกล่าว ด้วยเรื่องราว หนทางนี้
มาช่วยชี้ กระทู้ต้น ให้งดงาม
อริยมรรค แปด ทางดี มิมีทราม
เชิญติดตาม อ่านข้างล่าง ดั่งแสดงมา
คันไถ
ขอขอบคุณครับ http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/core_3.htm
มรรคมีองค์ 8 หรือทางสายกลาง
อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกฺข-นิโรธคามินีปฎิปทา-อริยสจฺจ)
หนทางสายนี้เรียกว่า "ทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา) เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ
ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา
ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง
คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน
ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า
และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว
ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง
ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน)
ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค)
เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ
1. เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล
หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.1 ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา
ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง
1.2 ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง
โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย
และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม
กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย
2.1 ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน
2.2 ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย
2.3 ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย
3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย
3.1 ไม่พูดเท็จ
3.2 ไม่พูดส่อเสียด
3.3 ไม่พูดหยาบ
3.4 ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย
4.1 ไม่ฆ่าสัตว์
4.2 ไม่ลักทรัพย์
4.3 ไม่ประพฤติผิดในกาม
5. เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย
6.1 เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
6.2 เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
6.3 เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
6.4 เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
7.1 การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
7.2 การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา
7.3 การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
7.4 การตั้งสติพิจารณาธรรม
(มีรายละเอียดเพิ่มเติมhttp://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/foundations_of_mindfulness.htm)
8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย
(มีรายละเอียดเพิ่มเติมhttp://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/the_four_jhanas.htm)
1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ
คันไถ