คุณคนกันเอง สวัสดีครับ
ในฐานะที่ผมเปิดกระทู้ ออกตัวก่อนว่ามิใช่ผู้รู้แต่จะอธิบายตามที่ได้ศึกษามา
และนี่คือความเห็นส่วนตัวล้วนๆ เด้อ
กลบทไม่ว่าโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะอยู่ที่ว่าใครบัญญัติขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่า
อย่างไร หรือเหมือนกัน หรือแตกต่างกันนิดหน่อย หลายครู หลายตำรา กลบทเดียวกัน
ผู้เขียนอาจจะเพิ่มลีลา และลูกเล่นเข้าไป เพื่อความไพเราะ หรือตัดออกไปบางส่วน
เพื่อความยากง่ายในการเขียนกลบทนั้นๆ กลบทเสือซ่อนเล็บ กลบทพิณประสานสาย หรืออีก
มากมาย ผมว่ามันอยู่ที่ว่าใครศึกษาตำราเล่มใดมา ไม่มีผิดถูกหรอกครับ แต่มันจะเพิ่ม
ความยากง่ายในการแต่ง ลีลาและลูกเล่นสัมผัสในจะพลิ้วไหวแค่ไหน บ่อยครั้งผมจะใช้
คำว่าฉบับ แม้นชื่อเดียวกันแตกต่างกันนิดหน่อยเพราะอ่านมาคนละฉบับเนาะ
เหมือนสัมผัสในสร้อยคู่สะคราญฉบับนี้ไม่บังคับ ใครจะเล่นสัมผัสสระ หรือสัมผัส
ตกกระทบก็ได้ ไม่มีก็ได้อ่านแล้วจักลื่นไหลแค่ไหนอยู่ที่คุณคุณละเลง
ขอบคุณมากมาย
เคารพทุกความคิด
ไมตรีจิตมิตรอักษร
คอนพูทน
สวัสดีค่ะคุณคอนพูทน
-คนกันเอง- ก็เป็นคนหนึ่งที่อ่านกลบทสร้อยคู่สะคราญแล้วรู้สึกประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้อ่าน
(ประทับใจบทกลอน : ดาว...ใจดิน ของ คุณชาญชนะ ฆังคะโชติ)
ก่อนหน้านี้ก็มีโอกาสได้อ่านผลงานของนักกลอนฝีมือดีท่านหนึ่งที่ลงผลงานไว้ทางเว็บไซด์ klonthaiclub.com แห่งนี้
(ชื่อบทกลอน อารมณ์กลอนด้วย กลบท สร้อยคู่สคราญ ของคุณ jatanin)
ครั้นเห็นผังการแต่งของคุณคอนพูทนก็เลยนึกแปลกใจ จึงได้เรียนถามมา....ขอขอบพระคุณสำหรับคำอธิบายค่ะ
โดยส่วนตัวก็รู้สึกดีที่มีคนชื่นชอบและสนใจอะไรเหมือนๆ กัน จะได้มีเพื่อนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันน่ะค่ะ
หวังว่าโอกาสหน้าเราคงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกนะคะ
...และก็ต้องขอเอ่ยปากชมไว้ตรงเลยว่าคุณคอนพูทนแต่งสร้อยคู่สะคราญได้งดงามจริงๆ
(ส่วน-คนกันเอง-ฝีมือยังด้อยนัก คงต้องแต่งแบบเดิมไปก่อน )
....ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
-คนกันเอง-