ช่ออักษราลี
|
|
« เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2011, 09:27:PM » |
|
เปิดสมรรถนะ เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 3 แบบ ฮ.ฮิวอี้ (UH-1H Huey)
เริ่มจาก ฮ.ฮิวอี้ซึ่งตกเป็นลำแรกโดยฮิวอี้ หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของกองทัพไทยคือ ฮ.ท.1 หรือ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบที่ 1 ซึ่งผลิตโดยบริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ จำกัด ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยของไทยเป็นรุ่น UH-1H โดยกองทัพบกมีประจำการประมาณ 90 ลำ
เฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1H ของกองทัพบก
ฮ.ฮิวอี้นี้เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเวียดนามกำลังระอุซึ่งเวลานั้นต้องการอากาศยานในการรับส่งกำลังทหารที่อ่อนตัวมีความยืดหยุ่นสูงซึ่งบริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ได้ผลิตเครื่องเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ออกมาในช่วงเวลานั้นซึ่งตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีซึ่งคู่แข่งของอีกค่ายหนึางคือฮ.แบบMi 8/17 โดยฮ.แบบ UH-1 ถูกผลิตออกมามากกว่า 16,000 ลำทั่วโลกประจำการใน 70 ประเทศ ซึ่ง UH 1 Hueyนี้แตกแขนงออกไปหลายรุ่นหลากแบบจนปัจจุบันยังมีการผลิตรุ่นใหม่ๆออกมาอยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ฮ.ฮิวอี้มีความคล่องตัวสูงสามารถบินเลาะตามภูมิประเทศได้คล่อง ซ่อมบำรุงง่ายหาอะไหล่ทดแท่นได้ง่ายค่าใช้จ่ายในการดูแลค่อนข้างต่ำ ด้วยกำลังเครื่องแม้เพียงเครื่องเดียว แต่ก็สามารถปฏิบัติได้หลากหลายภารกิจทั้งภารกิจทางทหารเช่นการส่งกำลังบำรุง ส่งกลับสายการแพทย์ สนับสนุนการรบ รวมถึงงานทางพลเรือนเช่นการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น
สำหรับฮ.ฮิวอี้ในประเทศไทยเป้นม้างานหลักของทุกเหล่าทัพ โดยเฉพาะกองทัพบกซึ่งมีภารกิจค่อนข้างมาก โดยของกองทัพบกถูกนำเข้าประการไว้ที่ ศูนย์การบินทหารบก ลพบุรี โดยฮ.ฮิวอี้ของไทยมีบทบาทมากในช่วงสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์ในหลายสมรภูมิ รวมทั้งการสนับสนุนภารกิจที่มิใช่ภารกิจการรบตามแบบ
ในกรณีของการเข้าไปรับเจ้าหน้าที่ซึ่งเสร็จสินภารกิจผลักดันชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาในพื้นที่ป่าแก่งกระจานออกไปนั้น โดยฮ.ฮิวอี้มีหน้าที่สนับสนุนเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินโดยการเข้าไปรับเจ้าหน้าที่ออกมาจากป่า ซึ่งการเข้าไปรับต้องเผชิญกับภาวะอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เครื่องตกนอกเหนือจากความผิดพลากของมนุษย์และจากเครื่องยนต์
สมรรถนะของฮิวอี้
เครื่องฮิวอี้เป็นเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์เดี่ยว ของประเทศไทยใช้เครื่อง Lycoming T-53 ให้กำลัง 1,400 แรงม้า สามารทำความเร็วสูงสุดที่ 223 กม./ชม. หรือ 124 น็อต สามรารถบรรทุกคนได้สูงสุด 11 คนพร้อมสัมภาระ หรือ ติดตั้งเปลพยาบาลได้ 6 เปล บินได้นาน 2 ชั่วโมง 20 นาที
ฮ. UH-60L Blackhawk
ในส่วนของฮ. แบล็คฮอว์ค (UH-60L Blackhawk) เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพซึ่งเข้าประจำการมาจำนวน 7 ลำ โดยไทยเข้าประจำการมาตั้งแต่ 2545 ทำหน้าที่เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ภารกิจ VIP หรือไว้ให้บุคคลสำคัญเป็นพาหนะเช่น กรณีนายกอภิสิทธิ์เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ จะใช้ฮ.แบล็คฮอว์คเป็นหลัก ทั้งนี้ ฮ.แบล็คฮอว์คได้ถูกส่งลงไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในนามของ หน่วยบินทหารบกยุทธวิธี อโณทัย (บทบ.อโณทัย) จำนวน 2 ลำ
ฮ.แบล็คฮอว์ค
ฮ.แบล็คฮอว์คถูกผลิตโดยบริษัท Sikorsky Aircraft Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางที่ดีที่สุดแบบหนึ่งของโลก ผลิตออกมากกว่า 2,600 ลำ ตั้งแต่ 1974 เป็นต้นมา ประจำการอยู่ใน 24 ประเทศทั่วโลก โดยฮ.แบล็คฮอว์คถูกนำไปใช้ในปฏิบัติการทางทหารหลายปฏิบัติการ ได้แก่ สงครามอ่าวเปอร์เซียทุกครั้ง สงครามก่อการร้ายในอัฟกานิถาน รวมทั้ง การักษาสันติภาพในโซมาเลียที่เกิดเหตุการณ์ ฮ.ตกถึง 2 ลำกลางเมืองโมกาดิชู จนกลายเป็นหนังเรื่อง Blackhawk Down ที่โด่งดัง
เนื่องจากฮ.แบล็คฮอว์คเป็นเฮลิคอปเตอร์สมรรถนะสูง มีความสามารถในการบินไในระดับสูงด้วยระบบอำนวยการบินที่ทันสมัย ห้องนักบินเป็นระบบ Glass Cockpit ซึ่งช่วยลดภาระนักบินและทำให้การบินง่ายมากขึ้น โดยฮ.แบล็คฮอว์คของไทยเข้าประจำการใน กองบินปีกหมุนที่ 9 (ผสม) กองพันบิน ศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี โดยมีเป้าหมายในการบรรจุเข้าประจำการตามแผนการจัดซื้ออาวุธยุทธโธปกรณ์ของกองทัพ ต้องการอยู่ที่ 33 ลำ เพื่อภารกิจลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย ภารกิจพิเศษตามที่ถูกมอบหมาย
แต่เนื่องจากภารกิจหลักของฮ.แบล็คฮอว์คของไทยเป้นงานด้านการบรรทุก/ลำเลียงโดยทั่วไปโดยเฉพาะแขก VIP ซึ่งทำให้อ่อนด้านงานค้นหาและกู้ภัย อีกทั้งอุปกรณ์เพื่อช่วยในการค้นหาและกู้ภัยไม่ได้ถูกติดตั้งเสริมเข้าไป จึงไม่ถือว่าเป็น ฮ.ค้นหาและกู้ภัยแต่อย่างใด ซึ่งที่ผ่านมา ฮ.แบล็คฮอว์คทำหน้าที่ลำเลียงกำลังพลและแขก VIP ได้เป็นอย่างดี ซึ่งฮ.แบ็คฮอว์คลำที่ประสบเหตุเข้าประจำการมาได้ 7 ปีแล้ว
สมรรถนะของแบล็คฮอว์ค
ฮ.แบล็คฮอว์คมีเครื่องยนต์ถึง 2 เครื่องยนต์General Electric T700 GE 701C turboshaft, มีกำลังเครื่องยนต์ละ 1890 แรงม้า (1410 กิโลวัตต์) สามารถบรรทุกทหารได้ 14 คนพร้อมสัมภาระ หรือมากถึง 20 คนเมื่อถอดที่นั่งออกหมด สามารถบบรรทุกอุปกรณ์นอกเครื่องได้สูงถึง 9,000 ปอนด์ (UH 60L) ทำความเร็วได้สูงสุด 159 น็อต (183 mph, 295 กม. / ชม. ) รัศมีทำการ 592 กม.ระยะบินเดินทาง : 1,380 ไมล์ (1,200 nmi, 2,220 กม. ) เมื่อติด ESSS stub wings และ external tanks สามารติดอาวุธได้หลากหลายทั้ง ปืน GAU 19 Gatling 2 ? .50 นิ้ว (12.7 มิลลิเมตร) หรือ จรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์ AGM-114 Hellfire โดยในห้องนักบินถูกติดตั้งด้วยระบบนำร่องที่ทันสมัย
ฮ. Bell -212
เฮลิคอปเตอร์แบบ Bell 212 ของกองทัพไทยถูกจัดอยู่ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย (Search and Rescue : SAR) มีอุปรณ์เสริมเข้ามาคือเครื่องกว้านซึ่งติดอยู่บนลำตัวเครื่องสามารถกว้านเพื่อดึงคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือการถอนตัวออกจากพื้นที่ได้ โดยกองทัพบกประจำการอยู่ประมาณ 40 ลำกระจายไปตามหน่วยงานการบินของกองพลและศูนย์การบินทหารบกตามแต่ละพื้นที่
ฮ.แบบ Bell-212
ฮ. Bell-212 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง 2 ใบพัด 2 เครื่องยนต์บรรทุกผู้โดยสารจำนวน 15 ที่นั่ง โดย ฮ.Bell-212 อยู่ในรุ่น UH-1 N ของบริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท BELL HELICOPTER และบริษัท Pratt & Whitney ของแคนาดา ในช่วงหลังสงครามเวียดนามช่วงปี 70 ศักยภาพของเฮริคอปเตอร์เบลล์ 212 ถูกพัฒนามาจากเฮลิคอปเตอร์รุ่น 204 และ 205 ที่เป็นเครื่องยนต์เดี่ยว ใบพัดคู่
โดยฮ.รุ่นนี้ถูกนำมาใช้เป็นฮ.ค้นหาและกู้ภัยค่อนข้างกว้างขวางด้วยกำลังเครื่องยนตืที่เชื่อถือได้ สมรรถนะของอากาศยานที่ดีและในราคาที่ไม่แพงมากเกินไปเมื่อเทียบกับฮ.แบล็คฮอว์คซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและค่าใช้จ่ายในการดูและใช้งานสูงกว่า
ซึ่งฮ.Bell-212 ถือว่าเป็นม้างานหนึ่งของกองทัพบก ซึ่งลำที่ประสบเหตุนั้นเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2535 ที่ได้รับการปรับปรุงก่อนเข้าประจำการ ซึ่งฮ.Bell-212 ที่ตกนั้นทางกองทัพบกได้รายงานว่าอาจเกิดจากโรเตอร์ท้ายหรือใบพัดหางไม่ทำงานทำให้เครื่องหมุนและตกลงมา ซึ่งทางกองทัพบกได้ประกาศห้ามบินของฮ.Bell-212 ทุกลำจนกว่าจะหาสาเหตุพบ (Mthai)
สมรรถนะ ของเครื่อง Bell-212
ฮ.Bell-212 เป็นเฮลิคอปเตอร์รุ่น Huey ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องสมรรถนะเครื่องยนต์ให้มีความเชื่อได้มาก โดยแต่เดิมฮ.ฮิวอี้จะมีเพียงเครื่องยนต์เดี่ยว ได้พัฒนาและติดตั้งให้มีสองเครื่องยนต์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นโดยพัฒนาร่วมกับบริษัทของแคนาดาและบริษัทผลิตเครื่องยนต์อย่าง Pratt & Withney โดยสามารถทำการบินได้ไกลถึง 420 กม.ความเร็วสูงสุด 220 กม./ชม. สามารถบรรทุกทหารไปได้ 14 คน
โดยสถิติการตกของอากาศยานไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้องถือว่ามีไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งจากสถิติจะพบว่าไทยมีสถิติการตกของอากาศยานทุกปี ตั้งแต่ปี 2001 -2011 เป้นต้นมา สรุปได้ดังนี้ (จากBlogของคุณ Skyman )
2001
ทอ. ฮ. Bell 206 ทบ. ฮ. AH-1F ทร. ฮ. Bell 212 เกษตร ฮ. AS350
2002
ทบ. ฮ. UH-1H ทอ. บ. F-5E, บ. Alphajet, บ. CT-4 เกษตร ฮ. AS350
2003
ทบ. ฮ. UH-1H ทร. ฮ. S-76 ทอ. บ. F-5F
2004
ทอ. บ. PC-9, บ. CT-4
2005
ทบ. ฮ. UH-1H, ฮ. Bell 206 ทอ. บ. CT-4, บ. F-5B, บ. F-5E, บ. Alphajet, บ. AU-23A, บ. PC-9
2006
ทบ. บ. T-41B ทอ. บ. CT-4, บ. Learjet 35A เกษตร บ. PC-6
2007
ทบ. บ. U-17 ทร. ฮ. Bell 214ST ทอ. บ. PC-9 ตำรวจ ฮ. Bell 212 เกษตร ฮ. Bell 206
2008
ทบ. ฮ. TH-300C, บ. T-41, ฮ. UH-1H ทอ. ฮ. UH-1H 2 ลำ
2009
ทอ. บ. Nomad, บ. F-5E
2010
ทอ. บ. F-16 1 ลำ กระทรวงทรัพย์ ฮ. AS350
2011
ทบ. ฮ. UH-1H, ฮ. UH-60L, ฮ. Bell 212 ทอ. บ. F-16ADF 2 ลำ
อุปกรณ์เสริมช่วยในด้านความปลอดภัยในการบิน
ในเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกทั้งสามลำนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ท้องฟ้าปิด ทำให้การเข้าไปทำงานของงเฮลิคอปเตอร์มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งโดยปกติ การขับอากาศยานนั้นมีความเสี่ยงทุกรูปแบบอยู่แล้ว เพราะอุบัติภัยไม่เลือกใครเป็นพิเศษอยู่แล้ว ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์ช่วยในการบินย่อมจะเพิ่มความปลอดภัยแก่ทั้งนักบินและผู้โดยสารได้เป็นอย่างดี
- ระบบเตือนภัยการชนพื้นดิน (Enhanced Ground Proximity Warning System : EGPWS) ระบบนี้จะทำการแจ้งเตือนอากาศยานขณะที่บินอยู่ในอากาศว่าเครื่องจะชนเข้ากับพื้นดินหรือภูเขา โดยจะทำการแสดงผลความสูงระหว่างเฮลิคอปเตอร์กับพื้นดินซึ่งถ้าอยู่ใกล้กันมากจะมีเสียงเตือนเป็นคำพูดบอกระยะความสูงออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะช่วยนักบินในการนำร่องเครื่องในภาวะที่ใกล้กับพื้นดินได้มาก โดยระบบจะทำการเตือนใน 7 โหมดได้แก่
1.ลดระดับด้วยอัตราลดระดับมากเกินไป (Excessive Descent Rate) 2.เข้าใกล้พื้นมากเกินไป (Excessive terrain enclosure rate ) 3.เสียความสูงในระหว่าง Takeoff หรือ Go Around (Loss altitude after takeoff or go around) 4.ขาดความสนใจเมื่อใกล้จะถึงพื้น (Inadvertent proximity to terrain) 5.ลดระดับต่ำกว่าแนวร่อน (Decent below glide slope) 6.ขานความสูง และ เตือนเมื่อเอียงปีกด้วยมุมที่มากเกินไป (Radio altitude call-out and excessive bank angle alert) 7.เตือนเมื่อตรวจพบ Wind Shear (Wind Shear alert)
Enhanced Ground Proximity Warning System : EGPWS
- ระบบการรับรู้สถานการณ์โดยรอบ (Enhanced Situational Awareness ) ระบบนี้จะแสดงภาพสภาพแวดล้อมภายนอกอากาศยานว่าจะต้องเจอกับภูมิประเทศแบบใด ความสูงขนาดไหน ระยะที่เท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยนักบินที่บินในระดับต่ำเรี่ยตามภูมิประเทศ
Enhanced Situational Awareness
แต่อุปกรณ์เหล่านี้เป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบในการช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการบินของเฮลิคอปเตอร์รวมทั้งอากาศยานแบบอื่นๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกของเฮลิคอปเตอรฺนั้นยังมาจากสภาะวอกากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและรุนแรงจนทำให้อากาศยานได้รับผลกระทบจนตกก็มีอยู่หลายครั้ง จากปัจจัยความไม่พร้อมของมนุษย์การตัดสินใจ ความไม่พร้อมของตัวเครื่องอากาศยานเองเนื่องจากข้อบกพร่องในการดูแลซ่อมบำรุง เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอุบัติภัยได้ทั้งสิ้น
SIU มีความเห็นว่าเฮลิคอปเตอร์ในประเทศไทยยังขาดเฮลิคอปเตอร์รูปแบบ ช่วยเหลือชีวิต (rescue)เช่น รุ่นHH-60 Jayhawk ที่คอยกู้ภัยทางทะเล หรือ Jet A-1 Avtur.ที่เหมาะสมกับทุกสภาพอากาศ โดยเฮลิคอปเตอร์จำพวกนี้มีลักษณะเฉพาะตัวและมีความนิ่งมากกว่า
โดยหลายๆภารกิจที่เฮลิคอปเตอร์ทั้ง 3 แบบของกองทัพไทยได้รับมอบหมายในการช่วยเหลือชีวิตนั้นไม่เหมาะกับสมรรถนะในการเข้าช่วยเหลือ เช่น รุ่นแบล็กฮอว์ก นั้นเคยเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่น้ำท่วมอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราชในปีที่ผ่านมา และรุ่นเบลลำที่ตกเพิ่งได้รับภารกิจในการเคลื่อนย้ายร่างของ ผบ.พล.9 ในวันก่อนเกิดเหตุที่จะตกเพียง 1 วันเท่านั้น
ตัวอย่างเฮลิคอปเตอร์ช่วยชีวิต U.S Coast Guard รุ่น HH-60 Jayhawk
อีกปัญหาหนึ่งก็คือเรื่องของเครื่องหลายลำมีอายุการใช้งานที่เกินขีดอายุการใช้งานที่ระบุไว้แล้ว เป็นธรรมดาที่เมื่อเครื่องมีอายุมากขึ้นย่อมมีค่าความเสื่อมที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าซ่อมบำรุงที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ที่มา มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311692611&grpid=01&catid=&subcatid=
|
|
|
|