การเขียนกลอน โดยอาศัย คำสามคำที่อ่านได้ความหมายทั้งสองทาง แล้วอ่านกลับไปกลับมาสามเที่ยว
จากสามคำก็กลายเป็นกลอน เก้าคำ หนึ่งวรรค ตัวอย่างเช่น
เจ็บเพราะช้ำ
ก็อ่านว่า เจ็บเพราะช้ำ ช้ำเพราะเจ็บ เจ็บเพราะช้ำ
(ดูความหมาย และวรรณยุกต์เสียงสูงเสียงต่ำให้ตรงกับที่นิยมในเวลาแต่งกลอน เสร็จแล้วก็พับเก็บ ให้เหลือแค่สามคำตามเดิม)
ในวรรคถัดไปก็ดำเนินวิธีตามเดิม เป็นแต่ลงสัมผัสที่คำแรก(เพื่อว่าเมื่อเวลาอ่านย้อนกลับคำสัมผัสจะได้ลงในคำที่หก)
และคำที่สามนั้นต้องลงด้วยเสียงสูง เสียงเอกหรือคำตาย ตามนิยมแห่งกลอน(เพราะคำที่สามจะต้องไปเป็นคำท้ายวรรค)
ขอผู้ที่สนใจพึงทดลองด้วยตนเองเถิด เมื่อลองดูแล้วก็จะทราบด้วยตนเองว่าจะต้องทำอย่างไร
เจ็บเพราะช้ำ
น้ำตาไหล
จำจากไป
ใครทำเรา
อ่านเป็นกลอนว่า
เจ็บเพราะช้ำ ช้ำเพราะเจ็บ เจ็บเพราะช้ำ
น้ำตาไหล ไหลตาน้ำ น้ำตาไหล
จำจากไป ไปจากจำ จำจากไป
ใครทำเรา เราทำใคร ใครทำเรา
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมต้องอ่านหลายเที่ยวด้วย สงสัยคงอยากเหนื่อยมั้ง เป็นอีกหนึ่งความท้าทายดี
ปล.ส่วนหลักการวิธีแต่ง+ฉันทลักษณ์ก็อยู่ในกลอนแปดกลอนเก้านั่นละ แม่นหลักแล้วจะรู้เอง
ข้อสำคัญ.เมื่องแต่งเสร็จก็ควรจะพับเก็บ ให้เหลือวรรคละสามคำ ห้ามไม่ให้แสดงโชว์ทั้งหมด(ที่แสดงโชว์ให้เห็นก็เพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 10:12:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: หึ หึ (อ่าน 4574 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: