Re: ขำ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 10:53:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ขำ  (อ่าน 11220 ครั้ง)
Lจ้าVojกaoนบทนี้*
Special Class LV4
นักกลอนรอบรู้กวี

****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 270
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 757



« เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2011, 09:02:PM »

เมื่อวานได้อ่านโพสต์ของคุณกามนิตแล้วทีแรกก็รู้สึกดี ดูเหมือนจะพยายามพูดให้เข้าใจอกเข้าใจกันและกัน
แต่พอมาถึงประโยคท้ายตอนจบที่   ก็ต้องจี๊ดขึ้นมาทันที
เพราะเป็นการท้าทายกันอย่างชัดเจน  แล้วไอ้คนที่ถูกท้าจะเป็นใครถ้าไม่ใช่ผมที่เป็นเจ้ากระทู้
ดังนั้นผมจึงต้องอ่านและพิจารณาโคลงทั้งสองบทอย่างละเอียดอีกครั้งและพยายามทำความเข้าใจด้วยตยเองว่า
มันหมายถึงอะไร(ทั้งๆที่ตนเองก็ไม่เคยจะอ่านลิลิตเรื่องนี้เลยสักนิด)
แต่เมื่ออ่านไปแล้วผมก็ต้อง งง  กับ ศัพท์ บางศัพท์  เช่น  กุเพนทรา  ว่ามันจะหมายถึงอะไร
จำต้องหาในคูเกิ้ล ด้วยว่า ไม่ได้มีพจนานุกรมอยู่ในมือ (ผมกับคำว่าพจนานุกรม ก็เหมือนคนแปลกหน้า
ที่เคยได้ยินแต่ชื่อเสียง แต่ไม่เคยได้พบหน้าค่าตา)  แต่เมื่อหาดูแล้วก็ไม่พบคำอธิบายอย่างไร
คงพบแต่คำแปลโคลงสองบทนั้น ที่ผมไม่มั่นใจว่าจะถูกต้อง  อีกทั้งเมื่อมีผู้นำลิงก์คำแปลโคลงทั้งสองบท
ดังกล่าวมาโพสต์ไว้แล้ว ผมจึงทำใจจำต้องนิ่งเฉยเสีย ด้วยคร้านจะไปตอบโต้เพื่อเอาชนะคะคานโดยคิดเสียว่า
ผู้ต้องการรู้คำตอบก็คงจะได้อ่านตามลิงก์ดังกล่าว  อีกอย่างหนึ่ง  ผมมีเหตุผลอีกสองข้อ  ที่จำต้องนิ่งเฉยเสีย
๑. การแปลโคลงทั้งสองบทที่คุณกามนิตยกมาท้าทายให้แปลนั้น  ถ้าจะมาบอกว่าแปลไทยเป็นไทย ผมไม่เห็นด้วย
ถึงแม้ว่าโคลงทั้งสองบทจะแต่งโดยคนไทยก็ตาม  แต่ศัพท์ที่ยกมาทั้งหมดส่วนใญ่  เป็นศัพท์ บาลี สันสกฤษ  ที่ผ่านการแปลง
การแผลงรูป จนแม้แขกที่เป็นเจ้าของภาษาเองก็ต้อง งงเหมือนกัน  และก็ไม่ใช่ถ้อยคำหรือภาษา ที่ผู้คนในสมัยนั้น
ใช้พูดจาสื่อสารกันเข้าใจแต่ประการใด  ภาษาดังกล่าวจึงจัดเป็นภาษาพิเศษที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่ม คือพวกกวีที่นำคำเหล่านั้นมาเล่น
ไม่เป็นที่เข้าใจกันทั้ง คนไทยในสมัย หรือเจ้าของภาษาดั้งเดิม  ดังนั้นจะใช้คำว่า แปลไทยเป็นไทยได้อย่างไรกัน
ภาษาหรือศัพท์ดังกล่าวนี้ คงเป็นที่รู้กันเฉพาะคนไทยที่นิยมภาษาแขกแล้วนำมาดัดแปลง รู้เฉพาะในหมู่พวกเดียวกันเอง
ที่แม้แต่พวกแขกเองก็ไม่เข้าใจ  ไม่ต่างกับพวกนักเรียนนอกสมัยนี้ที่ชอบพูดไทยคำฝรั่งคำ  คนอื่นไม่มีทางจะเข้าใจได้
ก็คงมีแต่คนที่นำมาใช้หรือกลุ่มของคนที่นำมาใช้เท่านั้นถึงจะเข้าใจ
๒  ผมคร้านที่จะต้องมานั่งพิมอธิบายศัพท์แสงต่างๆ ไม่ใช่เพราะว่าจนภูมิ   แต่เป็นเพราะ สิบความคิดเท่ากับหนึ่งคำพูด
สิบคำพูดเท่ากับหนึ่งคำเขียนหรือคำพิมพ์   ด้วยความไม่สัมพันธ์กันของขบวนการดังกล่าว  ผมเลยคร้านที่จะมานั่งอธิบาย
โดยตัดความรู้สึกเรื่องอยากจะเอาชนะคะคานออกไปเสีย
    แต่วันนี้  เมื่อได้มาเห็นอีกโพสต์หนึ่ง  ของคุณกามนิตแล้วมันทำให้ผมสุดที่จะอยู่เฉยต่อไปได้  จำต้องออกมาพูด
อย่างไรก็ดี  การเขียน การแปล คำอธิบายต่อไปนี้นั้น  เป็นการเขียนตามความเข้าใจของผมเท่านัน  ผมไม่รับรองว่ามันจะถูกต้อง
หรือจะต้องไปยึดเอาเป็นแบบอบ่างบทเรียน  ใครเห็นด้วย จะสนับสนุน ผมก็ไม่ขัดศรัทธา  แต่จะไม่เห็นด้วยผมก็ไม่ว่า
ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน


บทต่อไปนี้คือคำแปล หรือการตีความ โคลงทั้งสองบทนั้น

โคลงสี่ 
๏ พรหมพิษณุบรเมศรเจ้า........จอมเมรุ มาศแฮ 
ยำเมศมารุตอร....................อาศนม้า 
พรุณคนิกุเพนทรา................สูรเสพย 
เรืองรวีวรจ้า.......................แจ่มจันทร ฯ 
 
๏ เอกาทสเทพแส้ง...............เอาองค์ มาฤๅ 
เป็นพระศรีสรรเพชญ.............ที่อ้าง 
พระเสด็จดำรงรักษ...............ล้ยงโลกย ไส้แฮ 
ทุกเทพทุกท้าวไหงว้.............ช่วยไชย ฯ

 คำแปล คำตีความ  โดย กายวิน

พรหมพิษณุบรเมศรเจ้า........จอมเมรุ มาศแฮ
แปลว่า  พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ  ผู้เป็นจอมเจ้าแห่งเขาพระสุเมรุ(เขาสิเนรุ)
ยำเมศมารุตอร....................อาศนม้า
แปลว่า  ประทับนั่งบนหลังม้าอันงดงามที่ชื่อว่ามารุต(ลม)
ตรงคำว่า ยำเมศ  ที่ราชบัณฑิตไปตีความว่า ยมเมศ  ที่หมายถึงพระยม
ผมอยากจะตีความว่า  ยำ  น่าจะหมายถึงย่ำ ส่วนเมศ คือม้า  (ม้าอัศวเมศ)อันชื่อว่า มารุต
สรูปก็คือ ประทับนั่งบนหลังม้าอันชื่อมารุต  หรือพูดง่ายๆก็คือประทับบนสายลม
หรือเหาะหรือลอยมานั่นแหละ  ผมมองไม่เห็นว่ามันจะไปเกี่ยวกับพระยมตรงไหน(เวลาจะเกิดฝนตกนั้น มักจะเกิดฟ้าร้องฟ้าลั่นจน
แผ่นดินสะเทือน คนโบราณ(คนแต่ง)จึงเปรียบเหมือนพระพรหมหรือพระศิวะกำลังควบขับม้าวิ่งตลุยบนท้องฟ้ามาอยู่ จึงเกิดเสียง
สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นดังนั้น)

พรุณคนิกุเพนทรา................สูรเสพย
ตรงนี้ผมงงกับคำว่า กุเพนทรา  มากๆ  พยายามจะไปหาคำแปลว่าหมายถึงสิ่งใดแต่ก็จนปัญญา
 จึงต้องอาศัยการเดาเอาเท่านั้น(กุพิ+อินทรา=ความเป็นใหญ่)ฉะนั้นจึงตีความหมาย
ว่า ความเป็นใหญ่ ของอะไรซักอย่าง(น่าจะหมายถึงเป็นใหญ่หรือมีอำนาจเหนือกลุ่มเมฆ)
คำว่า พรุณ  แปลว่า พระพิรุณ  หรือวรุณเทพ(ฝน)
บาทว่า พรุณคนิกุเพนทรา  ประกอบด้วยศัพท์คือ พรุณ+คนิก+อุพิ+อินทรา(ความเป็นใหญ่-ไม่ใชหมายถึงพระอินทร์)
พรุณคนิก  หมายความว่า  คณะของพระพิรุณ  ซึ่งหมายถึงเมฆฝนนั่นเอง  คำว่า  คนิก  แปลว่าคณะ  ไม่ได้หมายถึง
พระอัคนีแต่ประการใด(พรุณคนิกุเพนทรา  น่าจะหมายถึง คณะของพระพิรุณผู้เป็นใหญ่ในเมฆฝน)
ส่วน  สูรเสพย  หมายถึง  กลบหรือกลืนดวงอาทิตย์ (สูร คำนี้น่าจะหมายถึงดวงอาทิตย์มากกว่าอสูร)
พรุณคนิกุเพนทรา  สูรเสพย  บาทนี้  เมื่อตีความหมายออกมาแล้วก็แปลว่า  "หมู่คณะของพระพิรุณผู้เป็นจอมเมฆ
บดบังหรือกลืนดวงอาทิตย์"  หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ เมฆฝนตั้งเค้ามาบดบังดวงอาทิตย์

เรืองรวีวรจ้า   แจ่มจันทร   แปลว่า  พระอาทิตย์  ปรากฏองค์ เปล่งแสงขึ้นมาอีก  บังเกิดรัศมีงดงาม(พระอาทิตย์ทรงกลด)
คำว่า เรือง เปล่งรัศมี  รวี  คือพรอาทิตย์  วร  หมายถึง พระองค์  จ้า คือชัดเจน  ส่วน แจ่มจันทร  ใช้ในความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบว่างดงาม
เช่นเราเรียกหญิงสาวที่งดงามว่า  เจ้าแจ่มจันทร์  เป็นต้น  ไม่ได้หมายถึงพระจันทรเทพแต่ประการใด

สรูปของโคลงบทนี้ก็คือ  กล่าวถึง ลมพัดหมู่เมฆ(ฝน)เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์  จากนั้นฝนก็ซาไป  พระอาทิตย์เริ่มเปล่งแสง เกิดปรากฏการณ์
รุ้งรอบดวงอาทิตย์  ที่เรียกว่า พระอาทิตย์ทรงกลด  อันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเท่านั้น
เป็นแต่ไปพรรณนา เปรียบเทียบลมว่า  เหมือนพระพรหม พระวิษณุหรือพระอิศวร กำลังนั่งประทับบนหลังม้ามารุ(ลม)แล้วควบขับมาอยู่
เปรียบเทียบหมู่เมฆฝน  ว่า  เปรียบเหมือน คณะของพระพิรุณ  กำลังเข้ายึด(กลืน)ดวงอาทิตย์
ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงธรรมชาติ  ก่อนและหลังฝนตกเท่านั้น  ผมไม่เห็นว่ามันจะไปเกี่ยวกับ เทพ ๑๑  องค์ตรงไหน
(การตีความว่าหมายถึง เทพ ๑๑ องค์  เห็นจะไปเอาคำว่า  เอกาทสเทพ  จากบทอื่นเข้ามารวม  ทำให้เกิดการตีความว่า  โคลงข้างบนนั้น
พูดถึง เทพ ๑๑  องค์  ตรงคำว่า  กุเพนทรา  สูรเสพย  จะไปตีความว่า  ท้าวกุเวร
ผู้เป็นใหญ่เหนืออสูร น่าจะผิด เพราะคำว่าอสูร กับยักษ์
นั้น มันเป็นคนละพวก  ท้าวกุเวร หรือเวสสุวรรณนั้น เป็นจ้าวแห่งยักษ์  ไม่ใช่อสูร  คำว่ากุเพน กับกุเวร ก็เป็นคนละศัพท์กัน
จะไปตีความว่า  กุเพน คือกุเวร  ไม่ได้)



๏ เอกาทสเทพแส้ง...............เอาองค์ มาฤๅ 
เป็นพระศรีสรรเพชญ.............ที่อ้าง 
พระเสด็จดำรงรักษ...............ล้ยงโลกย ไส้แฮ 
ทุกเทพทุกท้าวไหงว้.............ช่วยไชย ฯ

คำว่า เอกาทสเทพ   อาจหมายถึง  เทพ ๑๑ องค์ ดังที่กล่าวมาก็  หรืออาจจะหมายถึงบุคคลคนหนึ่งที่มีนามว่า เอกาทสเทพ ก็ได้เช่นกัน
(ทั้งนี้ต้องอ่านดูในเนื้อเรื่องให้ตลอดถึงจะเข้าใจ)
คำว่า พระศรีสรรเพชญ   อาจเป็นชื่อหรือพระนามของกษัตริย์  พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง  แต่คำว่า สรรเพชญ  มาจากคำว่า
สัพพะ+วิชชา  แปลว่า ผู้รอบรู้สิ่งทั้งปวง  เทียบได้กับคำว่า  สัพพัญญู  ผู้รู้สิ่งทั้งปวง  ซึ่งเป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งสองคำ
โคลงบทนี้ผมไม่อยากจะตีความให้มันยืดยาวไป  ขอตีความง่ายๆว่า

"หรือพระเอกาทสเทพจำแลงองค์มาเป็นพระศรีสรรเพชญ(พระสัพพัญญูพุทธเจ้า)
แล้วเสด็จดำรงรักษาและเลี้ยงดูโลก  ทุกเทพทุกท้าว(กษัตริย์)ต่างก็กันกราบไหว้    ทำให้เกิดชัยชนะสวัสดี"
ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร  เพราะพระพุทธเจ้านั้นทรงเป็นที่นับถือของทวยเทพและมนุษย์อยู่
สรูป  โคลงบทนี้  เป็นการยกยอพระเกียรติ กษัตริย์ ของตนว่า เปรียบเหมือน ทวยเทพ ๑๑องค์ จำแลงมาเป็น
องค์สัพพัญญูพุทธเจ้า  และพระองค์ทรงมีอุปการคุณต่อโลก  จึงเป็นที่เคารพนับถือทั้งเทวดาและมนุษย์
(ก็คือ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นที่นับถือทั้งของเทพและมนุษย์)


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

ลมหนาว, รพีกาญจน์, บ้านริมโขง, ยามพระอาทิตย์อัสดง, กามนิต, นพตุลาทิตย์, tina, สายใย, ~ploy pim~, ปรางทิพย์, เมฆา..., ไพร พนาวัลย์, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า


Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s