เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,312
ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ
|
|
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2011, 02:32:PM » |
|
สัมผัสระหว่างบทในการแต่งกลอนคือ
คำสุดท้ายของบทก่อนหน้า ต้องรับด้วยสระเสียงเดียวกันแต่ต่างเสียงพยัญชนะต้นใน ๑. คำสุดท้ายของวรรครับบทต่อไป ๒.คำสุดท้ายของวรรครองบทต่อไป ๓.คำที่สามหรือห้าของวรรคส่งของบทต่อไป
เช่น
มีศาลาแห่งไหนให้หลบหนาว คนใจร้าวเซซังทั้งตัวสั่น พายุกล้าห่าฝนหล่นโรมรัน คว้าไม่ทันสักอย่างกางกำบัง
จู่ทางเดินเพลินจิตปิดทางผ่าน คิดจะหวนคืนบ้านก็พลาดหวัง น้ำป่าซัดตัดธารสะพานพัง ฝนประดังทิ่มสายคล้ายรังแก
สัมผัสระหว่างบทคือ บัง-หวัง-พัง-ดัง สี่คำนี้รับสัมผัสด้วยสระเดียวกันคือ เสียง อัง หรือ สระอะ (รูปไม้หันอากาศ) สะกดด้วยแม่กง ต่างเสียงพยัญชนะต้นคืออักษรตัวแรกต้องต่างเสียง ดังตัวอย่าง ใช้ เสียง บ ว พ และ ด พยัญชนะต้นบางตัวเขียนรูปต่างแต่เสียงเดียวจึงต้องระวัง เช่น (พง)พี กับ (นา)ภี พยัญชนะต้นเป็น พ กับ ภ แต่ถือว่าเสียงเดียวกันคือเสียง พ จะใช้รับสัมผัสกันไม่ได้
และ พยัญชนะต้นนั้นก็ใช้รับหรือส่งได้แค่ครั้งเดียว จะส่งด้วย ใจ แล้ว รับด้วย ใจ เพราะคิดว่าคำหนึ่งเป็นคำส่ง คำหนึ่งเป็นคำรับสัมผัส ไม่ได้
ถ้าจะลงรายละเอียดลึกกว่านั้นอีก พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน ต่างแค่เสียงวรรณยุกต์ ในการประกวดกลอนถ้าส่งและรับสัมผัสกัน ถือว่าเป็นสัมผัสซ้ำ เช่น (นา)ที จะรับสัมผัสด้วย (ถ้วน) ถี่ ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นเสียงพยัญชนะต้น ท เหมือนกัน ตัวหนึ่งเป็นอักษรสูง ตัวหนึ่งเป็นอักษรต่ำเท่านั้น แต่ในการต่อกลอนเล่นกัน บางทีก็อนุโลมกัน ซึ่งจะให้ดีก็ควรหัดแบบที่ถูกไม่ใช่แบบอนุโลมนะคะ
เข้าใจรึยังคะ ว่าทำไมเขาถึงไม่ค่อยอธิบายกัน อธิบายทีก็ต้องพิมพ์ยาวเหยียดเลยน่ะ
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ช่วงนี้ไม่ว่าง, ยามพระอาทิตย์อัสดง, hort39, เอ๊พ, พี.พูนสุข, บ้านริมโขง, กาญจนธโร, รพีกาญจน์, นพตุลาทิตย์, ไพร พนาวัลย์, ดอกกระเจียว, ~ploy pim~, ระนาดเอก, ♥ กานต์ฑิตา ♥, อ้อนจันทร์, Music, ธันวาคม, Lจ้าVojกaoนบทนี้*, เมฆา..., สะเลเต, ปนิตา, พ่อค้าพเนจร, ธรรมศาลา, ไร้นวล^^, หนามเตย, อริญชย์, อนุรักษ์ไทย, อนิลจร, มนัสศิยา, ชลนา ทิชากร, จารุทัส, สมนึก นพ, m1, jeedja
ข้อความนี้ มี 34 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนที่กำลังไล่ตามความฝัน ท่ามกลางความผกผันของเวลา
|
|
|