~"ไม้ไต่คู้..ตัวจู้จี้(จุกจิก)?"~
๐
๐ ธรรมชาติของไม้ร่มไพรพฤกษ์
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ยันเบื้องหน้า
เปี่ยมประโยชน์โชติคุณคุ้นกันมา
ดลฝนฟ้าตกต้องคล้องสมดุล
๐ บ้านทรงไทยเอกลักษณ์ประจักษ์ชาติ
งามพิลาสศิลปะคละอบอุ่น
จั่ว,ฝา,รั้ว,ครัว,ห้อง,ชาน,ผ่องคุณ
ไพร่,นาย,ขุนอาศัยในโบราณ
๐ ผลผลิตจากไม้ในแหล่งหล้า
สร้างคุณค่าอ่าโอ่-รโหฐาน
ส่วน"สระ"หนึ่งไม้ใช้มานาน
ยามเขียนงานอักษรกลอนยากเย็น
๐ ไม้ไต่คู้สำเนียงแห่งเสียงสั้น
เวลาสรรค์ถ้อยกานท์สานความเห็น
ครารับ-ส่ง"ไม้ไต่คู้"ดูให้เป็น
ต่อประเด็นเน้นเสียง..สั้นเลี่ยงยาว
๐ เหมือนวางคำกวีปีมะ"เส็ง"
คงต้อง"เล็ง"หาศัพท์รับคำกล่าว
ต้องรับด้วย"ไม้ไต่คู้"คู่เรื่องราว
เสียงจะวาวแววรับกับเนื้อกลอน
๐ ตัวอย่าง"แข็ง"รับ"แรง"กลอนแปร่งเพี้ยน
อาจถูกคนติเตียนเขียนกลอนอ่อน
"แข็ง"กับ"แก็งค์"เสียงสั้นนั้นแน่นอน
"แรง"รับ"แย้ง"ไม่กร่อนคำกลอนไทย
๐ แยกเสียงสั้นเสียงยาวป่า วประกาศ
กวีชาติร่วมสานงานยิ่งใหญ่
บรรจงพจน์ประณีตฤทธิ์อำไพ
คนอ่านไซร้รู้ถึง..ซึ่งมือครู
ระนาดเอก
เบอร์ลิน เยอรมัน