หัวข้อ: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 19 ธันวาคม 2009, 10:39:PM (http://drnui.com/poempix/yadfonponlomnao.jpg)
emo_111 หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: สุวรรณ ที่ 20 ธันวาคม 2009, 02:43:AM ([url]http://drnui.com/poempix/yadfonponlomnao.jpg[/url]) emo_111 เป็นโคลงประเภทไหนหรือคะ อยากลองหัดเขียนดูบ้างค่ะ หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 09:10:AM โคลงสี่สุภาพ ธรรมดา ๆ นี่แหละครับ ... เพียงแต่ว่าจัดระเบียบการใช้คำนิดหน่อย ให้ดูเหมือน ๆ กัน เพื่อที่จะเป็นโคลงชุดเดียวกันได้ (http://drnui.com/poempix/klong02.jpg) emo_85 หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: สุวรรณ ที่ 20 ธันวาคม 2009, 11:48:AM โคลงสี่สุภาพ ธรรมดา ๆ นี่แหละครับ ... เพียงแต่ว่าจัดระเบียบการใช้คำนิดหน่อย ให้ดูเหมือน ๆ กัน เพื่อที่จะเป็นโคลงชุดเดียวกันได้ ([url]http://drnui.com/poempix/klong02.jpg[/url]) emo_85 ขอบคุณค่ะ พอดีสังเกตเห็นคำที่ 4 ,5 ของโคลงในบาทที่ ๔ แต่ละบทเป็น โท โท จะฝึกเขียนดู แต่ว่ายากจังค่ะ หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 11:54:AM การใช้คำโทคู่ในวรรคหน้าบาท ๔
เป็นข้อบังคับของโคลงดั้น ในที่นี้ผมลองเอามาใช้กับโคลงสี่สุภาพดูบ้าง มันก็พอใช้ได้อยู่นะครับ เพียงแต่ว่า... เสียงโคลงมันดูง่องแง่งไป เมื่อเขียนติด ๆ กันหลาย ๆ บท emo_68 หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: ป้ากันนา ที่ 20 ธันวาคม 2009, 12:21:PM ลมหนาวพัดผ่านพริ้ว เย็นเยียบ ลอยล่องหมอกบางเปรียบ ม่านไซร้ ดอกเหมยเบ่งบานเทียบ ลมเย็น ฝนพร่างเพียงโลมไล้ ลู่ไม้ใบบัง.. หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 12:53:PM ลมหนาวพัดผ่านพริ้ว เย็นเยียบ ลอยล่องหมอกบางเปรียบ ม่านไซร้ ดอกเหมยเบ่งบานเทียบ ลมเย็น ฝนพร่างเพียงโลมไล้ ลู่ไม้ใบบัง.. ลมหนาวพัดผ่านพลิ้ว พลันหาย หนาวเหน็บในพระพาย พัดไล้ ร้างนางห่างหาวาย วอดเหน็บ หนาวนอ หนาวจับจิตจนไข้ ขื่นล้นกมลหนาว ฯ ขอบพระคุณครับ ที่ร่วมเขียนโคลง emo_100 หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: บ้านกลอนไทย ที่ 20 ธันวาคม 2009, 01:10:PM ๐ ลมหนาวพัดผ่านพริ้ว เย็นเยียบ ลอยล่องหมอกบางเปรียบ ม่านไซร้ ดอกเหมยเบ่งบานเทียบ ลมเย็น ฝนพร่างเพียงโลมไล้ ลู่ไม้ใบบัง.....(ท่านแม่ครูกันนา) ๐ หนาวจังดังรักล้ม จมดิน หมองหม่นบนกวิน สลักไว้ ลมโชยอยากโบยบิน ตามรัก ไปนอ ฝนกลับเทสาดให้ หยุดกั้นฝันเสมอ.....(นะโมศิษย์) แบบว่า...มอบให้ป้ากันนากับลุงของป้าครับ ฮ่าๆ emo_26 (http://img117.imageshack.us/img117/6945/7466bp0.gif) หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: sabunrga ที่ 20 ธันวาคม 2009, 01:20:PM ลมหนาวพาพัดพร้อม สายฝน
ฟ้าหม่นทำให้คน ยิ่งเศร้า รอบกายมืดมนจน ใจหม่น เทียนส่องดนตรีเคล้า หลุดพ้นได้ไฉน emo_06 emo_89 emo_84 emo_33 หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 01:58:PM ขอถามหน่อยนะครับ การเขียนโคลงติดๆกันหลายๆบทนั้น จะีมีสัมผัสระหว่างบทด้วยมั้ยครับ หรือว่า แยกเป็นบทใครบทมัน แล้วเอามาต่อกันล่ะครับ ??? ขอบคุณครับ (เปลวฟ้า) ตามฉันทลักษณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการร้อยสัมผัสระหว่างบทเมื่อเขียนโคลงหลาย ๆ บทต่อ ๆ กัน การร้อยสัมผัสโคลงนั้นนักโคลงเขาเรียกว่า การเข้าลิลิตครับ เผื่อไปอ่านเจอที่อื่น emo_85 หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: บ้านกลอนไทย ที่ 20 ธันวาคม 2009, 02:51:PM ...ขอเพิ่มเติมต่อจาก ท่านพี่ วฤก ครับ... การร้อยโคลง หรือ การเข้าลิลิตโดยหลักแล้ว?.ไม่บังคับครับ (แต่โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าน่าจะมี) เพราะจะทำให้เนื้อหาเป็นเรื่องสอดรับกันกับบทอื่นๆ อีกทั้งโบราณเราก็เคยสอนไว้ แต่จะไปบังคับกันจริงๆในเรื่องการเขียนลิลิตเสียมากกว่า.. ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต" หรือการ "ร้อยโคลง" ครับ วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ มี ๒ ประเภท คือ ๑. ลิลิตสุภาพ คือ ลิลิตที่ใช้รายดั้นและโคลงดั้นแต่งสลับกันอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น ๒. ลิลิตดั้น คือ ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นและโคลงดั้นแต่งสลับกันอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลติยวนพ่าย เป็นต้น ข้อสังเกต: ๑. โคลงนั้นใช้ทั้งโคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ สุดแต่เห็นสมควรว่าตอนไหนควรจะใช้โคลงชนิดใด ๒. ถ้าแต่ลิลิตสุภาพ ต้องใช้ร่ายสุภาพขึ้นต้น แล้วใช้โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพแต่งสลับกัน ถ้าแต่งเป็นลิลิตดั้น ต้องใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วต่อไปก็ใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้นแต่งสลับกัน ๓. ถ้าเป็นโคลงสี่ดั้น นอกจากจะสัมผัสเกี่ยวกันระหว่างบทดังกล่าวแล้ว ยังต้องให้คำสุดท้ายของโคลงบทต้น สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ ของบาทที่ ๒ ของบทต้อไป ตามแบบและชนิดของโคลงดั้นชนิดนั้นๆ ด้วย กฏ : ร่ายและโคลงที่ใช้ในลิลิตนั้น มีลักษณะดังกล่าวมาแล้วข้างต้น บังคับให้มีการสัมผัส โดยเพียงแต่เพิ่มสัมผัสระหว่างบทให้เกี่ยวข้องติดต่อกัน ตั้งแต่ต้นจนจบ (คือให้คำสุดท้ายองบทต้น สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคแรกของบทต่อไป) ดังนั้นในเรื่องการเขียนโคลงทั่วๆไปจึงควรจะมีการร้อยโคลงหรือการเข้าลิลิตด้วยเพื่อให้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน จะทำให้ภาษาสวยงามขึ้น แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้ผิดกฎแต่อย่างใดครับ (ทั้งนี่ท่านป้า(พี่)อัณณ์รินแห่งบ้านกลอนไทยสืบค้นข้อมูลมาบอกว่าสมควรมี?) จึงเป็นเช่นนั้นหล่ะครับ......(ผิดพลาดขออภัย..และท่านใดมีอะไรเพิ่มเติมเชิญนะครับ) ( ขอบคุณ คุณครูวัลภา เทียนดำรง อาจารย์ชำนาญการภาษาไทย โรงเรียนตราษตระการคุณ ) emo_100 emo_89 emo_100 (http://i18.photobucket.com/albums/b130/pangb81/Line_line/kapook_18284.gif) หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 03:27:PM ๐ ลมหนาวพัดผ่านพริ้ว เย็นเยียบ ลอยล่องหมอกบางเปรียบ ม่านไซร้ ดอกเหมยเบ่งบานเทียบ ลมเย็น ฝนพร่างเพียงโลมไล้ ลู่ไม้ใบบัง.....(ท่านแม่ครูกันนา) ๐ หนาวจังดังรักล้ม จมดิน หมองหม่นบนกวิน สลักไว้ ลมโชยอยากโบยบิน ตามรัก ไปนอ ฝนกลับเทสาดให้ หยุดกั้นฝันเสมอ.....(นะโมศิษย์) แบบว่า...มอบให้ป้ากันนากับลุงของป้าครับ ฮ่าๆ emo_26 ([url]http://img117.imageshack.us/img117/6945/7466bp0.gif[/url]) ละเมอรุมรุ่มร้อน รมลม ร้อนเร่าเผาผ่าวซม ซบไข้ คิมหันต์ครั่นเนื้อตรม ตรอมอก ฟกเอย พ้นผ่านฝนหนาวไสร้ สู่ร้อนรอดไฉน ฯ หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 03:28:PM ลมหนาวพาพัดพร้อม สายฝน ฟ้าหม่นทำให้คน ยิ่งเศร้า รอบกายมืดมนจน ใจหม่น เทียนส่องดนตรีเคล้า หลุดพ้นได้ไฉน emo_06 emo_89 emo_84 emo_33 ลมหนาวพัดผ่านอ้อม อกถวิล ลมสะบัดซัดสาดสินธุ สะอื้น หยาดฝนหล่นไหลริน รดอก เรียมอา พยุอึกทึกครื้น ครึกคล้ายไห้หวน ฯ หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 03:42:PM ...ขอเพิ่มเติมต่อจาก ท่านพี่ วฤก ครับ... การร้อยโคลง หรือ การเข้าลิลิตโดยหลักแล้ว?.ไม่บังคับครับ (แต่โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าน่าจะมี) เพราะจะทำให้เนื้อหาเป็นเรื่องสอดรับกันกับบทอื่นๆ อีกทั้งโบราณเราก็เคยสอนไว้ แต่จะไปบังคับกันจริงๆในเรื่องการเขียนลิลิตเสียมากกว่า.. ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต" หรือการ "ร้อยโคลง" ครับ วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ มี ๒ ประเภท คือ ๑. ลิลิตสุภาพ คือ ลิลิตที่ใช้รายดั้นและโคลงดั้นแต่งสลับกันอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น ๒. ลิลิตดั้น คือ ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นและโคลงดั้นแต่งสลับกันอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลติยวนพ่าย เป็นต้น ข้อสังเกต: ๑. โคลงนั้นใช้ทั้งโคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ สุดแต่เห็นสมควรว่าตอนไหนควรจะใช้โคลงชนิดใด ๒. ถ้าแต่ลิลิตสุภาพ ต้องใช้ร่ายสุภาพขึ้นต้น แล้วใช้โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพแต่งสลับกัน ถ้าแต่งเป็นลิลิตดั้น ต้องใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วต่อไปก็ใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้นแต่งสลับกัน ๓. ถ้าเป็นโคลงสี่ดั้น นอกจากจะสัมผัสเกี่ยวกันระหว่างบทดังกล่าวแล้ว ยังต้องให้คำสุดท้ายของโคลงบทต้น สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ ของบาทที่ ๒ ของบทต้อไป ตามแบบและชนิดของโคลงดั้นชนิดนั้นๆ ด้วย กฏ : ร่ายและโคลงที่ใช้ในลิลิตนั้น มีลักษณะดังกล่าวมาแล้วข้างต้น บังคับให้มีการสัมผัส โดยเพียงแต่เพิ่มสัมผัสระหว่างบทให้เกี่ยวข้องติดต่อกัน ตั้งแต่ต้นจนจบ (คือให้คำสุดท้ายองบทต้น สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคแรกของบทต่อไป) ดังนั้นในเรื่องการเขียนโคลงทั่วๆไปจึงควรจะมีการร้อยโคลงหรือการเข้าลิลิตด้วยเพื่อให้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน จะทำให้ภาษาสวยงามขึ้น แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้ผิดกฎแต่อย่างใดครับ (ทั้งนี่ท่านป้า(พี่)อัณณ์รินแห่งบ้านกลอนไทยสืบค้นข้อมูลมาบอกว่าสมควรมี?) จึงเป็นเช่นนั้นหล่ะครับ......(ผิดพลาดขออภัย..และท่านใดมีอะไรเพิ่มเติมเชิญนะครับ) ( ขอบคุณ คุณครูวัลภา เทียนดำรง อาจารย์ชำนาญการภาษาไทย โรงเรียนตราษตระการคุณ ) emo_100 emo_89 emo_100 ([url]http://i18.photobucket.com/albums/b130/pangb81/Line_line/kapook_18284.gif[/url]) เรื่องการร้อยโคลงนี่ ถ้าเป็นโคลงสอง โคลงสาม นั่นนะต้องร้อยแน่ ๆ แต่โคลงสี่ .... ผมยังไม่แน่ใจ พอดีตอนนี้ติดทำงานที่ รพ. ยังให้คำตอบที่แน่นอนไม่ได้ คืนนี้กลับบ้าน จะค้นคำตอบมาให้ครับ ในการเขียนร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือกลอน ก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดยังคงเป็น "รสความ" เสมอ นั่นคือ ... ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญแก่เนื้อความที่จะเขียนไว้ก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อได้เนื้อความดีแล้ว จึงค่อยมาประดับประดาตกแต่งให้มี "รสคำ" เกิดขึ้น ดังนั้น .... ในความเห็นส่วนตัว .... อยากให้เขียนโคลงแต่ละบทให้ได้ใจความชัดเจนเสียก่อน แน่นอน... ในการเขียนโคลงมากกว่า ๑ บทนั้น เนื้อความจากแต่ละบทต้องต่อเนื่องกันไปไม่หลงเข้าป่าเข้าดงในระหว่างทาง และหากว่าอยากจะร้อยโคลงแล้ว.... คำที่นำมาร้อยทำให้เนื้อความเสียไป ... ก็ไม่ควรต้องร้อยสัมผัส เพราะไม่ได้บังคับเอาไว้ในฉันทลักษณ์ หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: สุวรรณ ที่ 20 ธันวาคม 2009, 08:52:PM หยาดฝนโปรยหล่นฟ้า มาดิน
ชรหลั่งไหลรดริน ทั่วหล้า พาเสริมส่งชีวิน ชีพตื่น คืนเฮย ดุจดั่งหยาดน้ำฟ้า ดับร้อนคลายลง หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: gizon ที่ 20 ธันวาคม 2009, 09:51:PM สายฝนกระหน่ำฟ้า ซัดสาด
แรงส่งลมโหมฟาด อกร้าว ใจเจ็บดั่งเจียนขาด สูญดับ สิ้นเลย เหมือนถูกพายุกร้าว ซัดซ้ำกลางใจ หัวข้อ: Re: หยาดฝนปนลมหนาว เริ่มหัวข้อโดย: วฤก ที่ 20 ธันวาคม 2009, 10:36:PM ไปค้นมาแล้วขอรับ .... เรื่องการร้อยโคลงสี่ หรือการเข้าลิลิต emo_47
พบว่า .... ในลิลิตสมัยอยุธยาอย่างลิลิตพระลอ ... ไม่ร้อยโคลง แต่.... emo_44 แต่ว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างลิลิตนิทราชาคริต .... ท่านร้อยโคลงครับ emo_45 เพราะฉะนั้น ... ท่านจะร้อยหรือไม่ก็ได้ ... ไม่บังคับ ส่วนตัวกระพ้ม .... ตามเรื่องตามราว .... ร้อยบ้างไม่ร้อยบ้าง ตามอารมณ์ ตัวอย่าง ร้อยคำแรก (http://drnui.com/poempix/chomchan.jpg) คำที่สอง (http://drnui.com/poempix/kaekam.jpg) และ.... ไม่ร้อยเลย (http://drnui.com/poempix/plaengklong.jpg) |