หัวข้อ: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: นายขี้เหร่ดำปืด ที่ 08 พฤศจิกายน 2008, 12:43:PM สวัสดีคับวันนี้ผมมีสาระมาฝาก(แต่ก่อนไม่มีเลยคิคิ) ก็ไม่รู้ว่ามีใครโพสไปหรือยังนะครับถ้ามีแล้วก้ขออภัยด้วย
วันนีผมมีแผ่นพังของกลอนไทยมาฝากหลายๆคนอาจจะแต่งกลอนไม่ถูก(มีหรือเปล่า)หรือว่าไม่ตรงตาม อย่างที่เป็นนะคับ(คงเข้าใจที่พูดนะผมอธิบายม่ะค่อยถูก) มาเริ่มเลยละกัน มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem8.gif) กลอน 1 บท จะมี 2 บาท หรือ 2 คำกลอน บาทแรกเรียก บาทเอก ประกอบด้วย วรรคสดับ กับ วรรครับ บาทที่ 2 เรียก บาทโท ประกอบด้วย วรรครอง กับ วรรคส่ง ดังรูป (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem_8.gif) (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem4.gif) โคลงสี่สุภาพ 1 บท จะมี 4 บาท วรรคหน้าของทุกบาทจะมี 5 คำ วรรคหลังของบาทที่ 1 2 และ 3 มี 2 คำ แต่เพิ่มสร้อยในวรรคที่ 2 ของบาทที่ 1 และ 3 ได้อีกบาทละ 2 คำ วรรคหลังของบาทที่ 4 มี 4 คำ บังคับเอก 7 แห่ง คำโท 4 แห่ง และกำหนดสัมผัสดังนี้ (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem_4.gif) คำแนะนำในการแต่งโคลง 1. คำที่ 4 และ 5 ในบาทที่ 1 สับตำแหน่งคำเอกและโทกันได้ เช่น ออกจากปาก น้ำน่าน หนองพราย 2. ให้ใช้คำตายแทนตำแหน่งบังคับคำเอกได้ 3. ในตำแหน่งบังคับคำเอก คำโท ให้ใช้เอกโทษ และ โทโทษ แทนได้ตามลำดับ เช่น ใช้ ฟ่า แทน ฝ้า เป็นเอกโทษ ใช้ เฉ้น แทน เช่น เป็นโทโทษ แต่พึงใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น 4. คำสุดท้ายของบาทที่ 1 (ไม่นับคำสร้อย) นิยมเสียงจัตวา และ สามัญ ห้ามคำที่ใช้รูปวรรณยุกต์เอก โท ตรี เสียงเอก โท ตรี ในคำตายใช้ได้ 5. คำสุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่ 2 และ 3 ใช้แบบเดียวกับคำสุดท้ายของบาทที่ 1 6. คำสุดท้ายของบทนิยมเสียงจัตวาและสามัญ ห้าม เสียงเอก โท และ ตรี กล่าวก่อนเรื่องกาพย์ คำว่า "กาพย์" มีทั้งความหมายกว้างและแคบ ในความหมายกว้างซึ่งเป็นความหมายเดิม หมายถึง บทประพันธ์ที่ได้ร้อยกรองขึ้น ไม่จำกัดว่าเป็นคำประพันธ์ชนิดใด เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย ฯลฯ นับว่าเป็นกาพย์ทั้งสิ้น แต่มักใช้ในความหมายที่แคบ คือ หมายถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายฉันท์มักใช้แต่งปนกับคำประพันธ์ประเภทฉันท์ แต่ไม่กำหนด ครุ ลหุ อย่างฉันท์ จริงๆแล้วกาพย์มีอยู่หลายชนิด แต่เราจะกล่าวถึงเพียง 3 กาพย์ในที่นี้คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์ (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem11.gif) (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem_11.gif) (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem16.gif) (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem_16.gif) (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem28.gif) (http://www.kbyala.ac.th/digital-lib-m5-44/poem/Poem_28.gif) ที่มา...http://www.kbyala.ac.th หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: มั่น แซลี้ ที่ 08 พฤศจิกายน 2008, 04:07:PM หูย...ผมไม่ชอบของถูกอ่ะ ผมชอบของแพงอ่ะ อิอิอิ ล้อเล่นน่ะครับ ได้ความรู้มากเลยครับ ผมแต่งกาพยานี 11 ผิดมาตลอดเลย เพิ่งรู้ก็จากตรงนี้แหละครับ แต่โคลงสี่สุภาพเนี้ย ลองแต่งทีหนึ่งโครตยากเลย แต่แค่ทีเดียวเอง หรือเพื่อนๆมีตัวอย่างเป็นกลอนเป็น กาพมะพร้าว เอ้ย!!!ไม่ใช่ๆ กาพย์เอามาโพสให้ดูก็ดีน่ะครับ emo_28 emo_28 emo_28 emo_28 หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: เพลงผ้า ที่ 08 พฤศจิกายน 2008, 04:49:PM หูย...ผมไม่ชอบของถูกอ่ะ ผมชอบของแพงอ่ะ อิอิอิ ล้อเล่นน่ะครับ ได้ความรู้มากเลยครับ ผมแต่งกาพยานี 11 ผิดมาตลอดเลย เพิ่งรู้ก็จากตรงนี้แหละครับ แต่โคลงสี่สุภาพเนี้ย ลองแต่งทีหนึ่งโครตยากเลย แต่แค่ทีเดียวเอง หรือเพื่อนๆมีตัวอย่างเป็นกลอนเป็น กาพมะพร้าว เอ้ย!!!ไม่ใช่ๆ กาพย์เอามาโพสให้ดูก็ดีน่ะครับ emo_28 emo_28 emo_28 emo_28 +55555 กาพมะพร้าว คิดได้อีกแย้ววพี่มั่น เชื่อเค้าเล้ยย ซะดีมั๊ยเนี๊ยย....emo_32 หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ 08 พฤศจิกายน 2008, 05:52:PM ได้ความรู้ดีเอาไป +3 เล๊ย น้องชาย emo_28 emo_28
หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: Alpha ที่ 09 พฤศจิกายน 2008, 02:26:PM แนะนำเพิ่มเติมสำหรับกาพย์นะคะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/kaap/index.html
กาพย์ยานี11 กาพย์ยานีลำนำ....................สิบเอ็ดคำจำอย่าคลาย วรรคหน้าห้าคำหมาย............วรรคหลังหกยกแสดง ครุลหุนั้น................................ไม่สำคัญอย่าระแวง สัมผัสต้องจัดแจง.................ให้ถูกต้องตามวิธี กาพย์ฉบัง16 ฉบังสิบหกควร.......................ถ้อยคำสำนวน พึงเลือกให้เพราะเหมาะกัน วรรคหน้าวรรคหลังรำพัน......วรรคหนึ่งพึงสรร ใส่วรรคละหกคำเทอญ วรรคสองต้องสี่คำเชิญ.........แต่งเสนาะเพราะเพลิน ใครได้สดับจับใจ กาพย์สุรางคนางค์28 ...............................................สุรางคนางค์ กำหนดบทวาง......................ยี่สิบแปดคำ บทหนึ่งเจ็ดวรรค..................เป็นหลักพึงจำ วรรคหนึ่งสี่คำ.......................แนะนำวิธี ...............................................หากแต่งหลายบท จำต้องกำหนด......................บัญญัติจัดมี คำท้ายวรรคสาม..................ต้องตามวิถี สัมผัสกันดี...........................ท้ายบทต้นแล กาพย์สุรางคนางค์32 กาพย์หนึ่งนามอ้าง..............สุรางคนางค์ กำหนดบทวาง.....................สามสิบสองคำ บทหนึ่งแปดวรรค................เป็นหลักพึงจำ วรรคหนึ่งสี่คำ......................แนะนำวิธี โบราณวางกฎ.....................หากแต่งหลายบท จะต้องกำหนด....................บัญญัติจัดมี วรรคสี่คำท้าย.....................ต้องให้ถูกที่ สัมผัสกันดี..........................ท้ายบทต้นแล หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: ท้องฟ้าสีชมพู ที่ 03 มีนาคม 2009, 09:19:PM งืมๆ
รู้สึกว่มันจะไม่คอ่ยเหมือนที่ได้จำมาจากที่ครูสอนเท่าไหร่นะคะ แต่ว่ายังก็ขอบคุณมากๆนะคะ สำหรับความรู้นี้ ท้องฟ้าน้อยๆนี้จะจดจำและนำไปใช้ค่ะ emo_54 emo_28 หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: ข้าน้อยขอฝากตัว ที่ 04 มีนาคม 2009, 08:12:AM ลักษณะบังคับทั่วไปของคำประพันธ์
1. ลักษณะบังคับทั่วไป หมายถึง ลักษณะบังคับที่คำประพันธ์ทุกชนิดต้องมี ได้แก่ คณะ กับ สัมผัส 1.1 คณะ มี 2 ความหมาย ความหมายที่เป็นในลักษณะบังคับเฉพาะชนิดของ "ฉันท์" เรียกว่า "คณะฉันท์" ได้แก่เสียงครุลหุเรียงกัน 3 เสียง ในฉันท์วรรณพฤติ และเสียง ครุ-ลหุ เรียงกัน 4-5 มาตรา ในฉันท์ มาตราพฤติ โดยนับครุ = 2 มาตรา ลหุ = 1 มาตรา ซึ่งไทยรับมาจากอินเดีย แต่ในคำประพันธ์เลือกใช้เฉพาะฉันท์วรรณพฤติเท่านั้น เพราะ ฉันท์มตราพฤติค่อนข้างจะยุ่งยาก ส่วนในความหมายที่ของลักษณะบังคับทั่วไป คณะ คือ ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ 1 บท ที่ประกอบด้วยส่วนย่อยดังนี้ - บท - บาท - วรรค - คำ "บท" ได้แก่คำประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลงสี่สุภาพ 4 บาท เป็น 1 บท (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 : 453) กล่าวอีกนัยหนึ่ง "บท" ก็คือ คำประพันธ์ 1 ตอน ที่มีองค์ประกอบของฉันทลักษณ์ครบถ้วน เช่น โคลงสี่สุภาพ 1 บท ประกอบด้วย 4 บาท 30 คำ มีวรรณยุกต์เอก 7 แห่ง วรรณยุกต์โท 4 แห่ง ส่ง-รับสัมผัส 3แห่ง ตามตำแหน่งที่บังคับ อาจมีคำสร้อยได้ 2 แห่ง คือ ท้ายบาทแรก และ ท้ายบาทที่สาม กลอนแปด 1 บท ประกอบด้วย 2 บาท 4 วรรค วรรคละ 8 คำ ส่ง - รับสัมผัส 4 แห่ง ตามตำแหน่งที่บังคับ สักวา 1 บท ประกอบด้วย 4 บาท 8 วรรค วรรคละ 7-9 คำ ส่ง - รับสัมผัส 7 แห่ง ตามตำแหน่งที่บังคับ ขึ้นต้นบทด้วยคำว่า "สักวา" ลงท้ายด้วยคำว่า "เอย" ฯลฯ[/font][/size] หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: ข้าน้อยขอฝากตัว ที่ 04 มีนาคม 2009, 08:24:AM "บาท" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 469) ให้ความหมายว่า บาท น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์... คำประพันธ์ที่มีลักษณะบังคับย่อยเป็นบาท ได้แก่ กลอน โคลงสี่ โคลงห้า กาพย์ยานี และฉันท์ที่บังคับบรรทัดละ 2 วรรค ดังนั้น ลักษณะสำคัญของบาทก็คือ คำ ประพันธ์ 2 วรรค ซึ่งอาจมีจำนวนคำในวรรคเท่ากันหรือไม่ก็ได้ เช่น
โคลงสี่ 1 บาท มี 2 วรรค แบ่งเป็น 5 - 2 และ 5 - 4 "กาจับกาฝากต้น ตุมกา กาลอดกาลากา ร่อนร้อง เพกาหมู่กามา จับอยู่ กาม่ายมัดกาซ้อง กิ่งก้านกาหลง" (ลิลิตพระลอ) กาพย์ยานี 1 บาท มี 2 วรรค แบ่งเป็น 5 - 6 " เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตาตรู" (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) วสันตดิลกฉันท์ 14 1 บาท มี 2 วรรค แบ่ง เป็น 8 - 6 "บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย" (สามัคคีเภทคำฉันท์) กลอนหก 1 บาท มี 2 วรรค แบ่งเป็น 6 - 6 "เห็นนางนวลศรีมีโฉม ดั่งโสมส่องหล้าราศรี เนาเรือเหนือสรัทปัทมี ตรณีจันทร์นวลชวนชม" (กนกนคร) ข้อควรสังเกตประการหนึ่ง คือ คำประพันธ์ที่แบ่งย่อยเป็นบาท เป็นคำประพันธ์ชนิดที่ 1 บท บังคับจำนวนวรรคคู่ เช่น 4 วรรค 8 วรรค เป็นต้น และวางรูปคำประพันธ์บรรทักละ 2 วรรค สำหรับคำประพันธ์ประเภทกลอน "บาท" มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "คำกลอน" หรือ "คำ" อนึงคำประพันธ์ที่กำหนด 2 บาท เป็น 1 บท เช่น กลอน และกาพย์ยานี บาทแรกเรียกว่า "บาทเอก" บาทที่สอง เรียกว่า "บาทโท" หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: ข้าน้อยขอฝากตัว ที่ 04 มีนาคม 2009, 08:34:AM ส่วนเรื่อง ของ วรรค กับ คำ คงไม่ต้องอธิบาย อะไรนะ เอาสักนิดและกัน
- วรรค เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กลอน" อย่าสับสนนะจำดีๆ เห็นใครเรียกกลอนแทนวรรคก็อย่าไปงง นอกจาก "กลอน" แล้ว "วรรค" ยังใช้ว่า "บ่อน" ได้อีกคำหนึงเช่นกัน ดังตัวอย่าง ในประชุมลำนำ หน้า 59 และ 63 ลองหาอ่านดูนะถ้าสนใจ กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน อ่านสามตอนทุกวรรคประจักษ์แถลง ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน กำหนดบทกะระยะกะสัมผัส ให้ฟาดฟัดชัดความตามกระสวน วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ---------------------------------------- กลอน 8 บัญญิต 8 อักษร เป็นกลอน 2กลอนเป็นคำ 2คำเป็นบท <<<<< ไม่งงนะตามที่อธิบายไว้ข้างต้น กลอนแปดเป็นบัญญัติพิกัดไว้ กำหนดในบ่อนบาทไม่ขาดเขิน วรรคละแปดอักษรไม่หย่อนเกิน อย่าให้เยิ่นเย้อไปฟังไม่ดี บทหนึ่งนั้นสี่กลอนผ่อนจำกัด มีบัญญัติจัดนามไว้ตามที่ คือสดับรับรองส่งจำนงมี จงแจ้งใจในคดีวิธีกลอน ในวรรคทุกวรรคจักกำหนด คือเทียมรถเทียมแอกแซกอักษร **เทียมรถ เทียมแอก คู่เคียง พวกนี้คือรูปแบบการเล่นสัมผัสใน* อีกคู่เคียงเรียงคำร่ำสุนทร ทบเทียมทวนทับซ้อนอักษรกัน เป็นคำล้อเลียนคำเล่นสัมผัส แบบบัญญัติยอกย้อนดูผ่อนผัน ให้คล่องต้องจังหวะคณะกัน อ่านให้ครั่นครวญฟังวังเวงใจ หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: ขวด ที่ 07 เมษายน 2009, 09:02:AM มีอีกกลอนถ้าจะแต่งให้ถูกมิต้องมีสัมผัส
ลืมครุ-ลหุเอกโทเสียให้สิ้น มิต้องมีคำเป็นคำตายหน่ายกบาล แค่แต่งไปตามใจใครจะว่าอะไร (แต่งตามฉันทลักษณ์บ้างก็ดีนะครับอนุรักษ์ไว้ก็ดี) หัวข้อ: Re: มาแต่งกลอนกันให้ถูกกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: ขวด ที่ 14 เมษายน 2009, 02:36:PM โคลงห้า เป็นโคลงโบราณ มีสี่บาท มีวรรคสองวรรคแบ่งเป็น วรรคบังคับ และ วรรคสร้อย ดังตัวอย่าง
นานาอเนกน้าว เดิมกัลป์ จักรร่ำจักราพาฬ เมื่อไหม้ กล่าวถึงตระวันเจ็ด อันพลุ่ง น้ำแล้งไข้ขอดหาย เจ็ดปลามันพุ่งหล้า เป็นไฟ วาบจตุรบาย แผ่นขว้ำ ชักไตรตรึงษ์เป็นเผ้า แลบ่ล้ำสีลอง (ลิลิตโองการแช่งน้ำ) บาทหนึ่งมีห้าคำ บทหนึ่งมียี่สิบคำ มีคำสร้อยสองคำ ในทุกบาท คำสร้อยลงด้วยถ้อยคำธรรมดา สัมผัสอยู่ท้ายบาทถ้ามีสร้อยอยู่ท้ายสร้อย บาทสุดท้ายของบาทที่หนึ่งหรือถ้ามีสร้อยให้ใช้สรอยสุดท้ายของบาทที่หนึ่ง สัมผัสกับคำที่ หนึ่งหรือสองหรือสามหรือสี่ ของบาทที่สาม บาทที่สองก็เช่เดียวกับบาทที่หนึ่งแต่สัมผัสกับบาทที่สี่ ถ้าจะมีอีกบทให้คำสุดท้ายของบาทที่สาม หรือถ้ามีคำสร้อยให้ใช้คำสร้อยสุดท้าย สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองหรือสามหรือสี่ของบาทที่หนึ่งในบทต่อไป และให้บาทที่สี่เช่นเดียวกับบาทที่สามแต่สัมผัสในบาทที่สองของบทถัดไป บังคับให้มีเสียงโทแต่ไม่มีเสียงเอก คำโทที่บังคับนั้นมีสองตัวคือ ท้ายบาทที่สองแต่ถ้ามีคำสร้อยของบาทที่สองให้ใช้คำสุดท้ายของคำสร้อย และคำที่สามของบาทที่สี่ อนึ่ง วรรณคดีที่ใช้โคลงห้ามีปรากฎแต่ในลิลิตโองการแช่งน้ำที่แต่งกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยเท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครนิยมแต่งกัน โคลงห้ามีอีกชื่อหนึ่งคือ มณฑกคติ |