หัวข้อ: โศลก ฉันท์บาลีสันสกฤต เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 08 มกราคม 2025, 12:28:PM $ น้องหมูแดง
13 สิงหาคม 2567 $ โศลก เป็น ฉันท์ที่มี วรรคละ 8 พยางค์ หนึ่งบท มี 4 บาท ฉะนั้น ถ้าจะแต่งโศลก ต้องใช้กลอน 8 ไทยพอเทียบได้ หรือไม่ ก็เอาฉันท์มาใช้ กำหนดครุลหุ ดังนี้ (ค-ครุ, ล-ลหุ) $ โศลกแบบที่ 1 ค ค ค ค ล ค ค ค ล ล ค ค ล ค ล ค ค ล ค ค ล ค ค ล ล ล ค ล ล ค ล ล @ ความคิดฅน คือ พลังสรรค์สร้าง มุริเริ่ม"ทาง" มิท้อ ฤ ถอย เหนื่อยก็ผ่อน คอย สหาย ชี้แนะ จะประสบ สุขะศานติ นะ @ ความคิดฅน คือ พลังทำลาย ปะทุ ดีร้าย ณ กาลสถาน พึง ตระหนัก ฌาน ไสว ใฝ่ผลิ สติ เจิด มนะ จ้า สิริ $ โศลกแบบที่ 2 ล ค ค ล ล ค ค ล ค ล ค ล ล ค ล ค ค ค ล ล ล ค ค ล ค ค ค ค ล ค ล ค @ พลังคิด มิละเลิก สู้สิ ดำริ ชอบ ปะทุครัน มิเบื่อ เพื่อผอง จะผลิผสาน มานะ เมตตารัก สู่ กระทำ เสมอ @ พลังคิด สติใช้ ชั่วละ พึง ประจง ประจุธรรม มิเผลอ เพื่อผอง พิริยะ การุญ ลุ รักรับใช้ จง ประเจิด ประจักษ์ # 7242001 28 ธันวาคม 2567 # ฉันท์บาลีสันสกฤต ไม่มีเรื่องสัมผัสครับ (จะสัมผัสใน สัมผัสนอก สัมผัสระหว่างบาท ระหว่างบท ก็ไม่มี กวีไทยมาเพิ่มเอา) มุ่งแต่งให้ตรงบัญญัติ ครุลหุ และ อาจมีเล่น เสียงพยัญชนะ หรือ เสียงสระ (ทางไทยก็คือเล่นสัมผัสสระ สัมผัสพยัญชนะ) ให้แพราวพราว $ น้องหมูแดง 7 มกราคม 2568 $ ถูกต้องและใช้ได้เลยครับ ขอย้ำ เงื่อนไขการแต่งฉันท์แบบบาลีสันสกฤต อีกที คือ แต่งให้ถูกตามตำแหน่งครุลหุ ส่วนใครมีฝีมือมากก็อาจแต่งเล่นคำ เช่น พยัญชนะเดียวกันทั้งวรรค (ที่ไทยเรียกว่าเป็นกลบทอักษรล้วน) สลับพยัญชนะกัน (ที่ไทยเรียกอักษรสลับล้วน) หรือสระเรียงกันเท่าใด ๆ ก็ว่าไป และนอกจากนั้น ฉันท์บาลีอนุโลมให้ว่า ในปลายบาทซึ่งต้องเป็นครุ อาจใช้คำลหุได้ (คือใช้พยางค์หรือคำเสียงสั้นได้) เรียกว่า ปาทันตครุ @ ขอขอบคุณ คุณน้องหมูแดง และคุณ #7242001 (จาก Pantip) ที่ได้ร่วมแบ่งปัน ครับ toshare/share |