พิมพ์หน้านี้ - "สิน" องค์เจ้าตาก

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => กลอนประวัติศาสตร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: toshare ที่ 09 พฤศจิกายน 2018, 09:46:PM



หัวข้อ: "สิน" องค์เจ้าตาก
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 09 พฤศจิกายน 2018, 09:46:PM

จัดใหญ่ฉลอง 250 ปี สถาปนากรุงธนบุรี - ไทยรัฐ
เทิดพระเกียรติ 250 ปี พระวีรกรรมพระเจ้าตากฯ - Nation TV


@ "สิน" องค์เจ้าตาก ข้าฯ........น้อมนบ
สยามแผ่นดินสุขสงบ...............กอบกู้
พระเกียรติเทิดควรครบ............กรุงท่าน..ไยควบ
ปวงราษฎร์ใคร่ขอรู้..................โปรดชี้แจงแถลง



ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2514 จอมพลถนอมในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร
ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 24 ให้รวมจังหวัดธนบุรีเข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร เรียกว่า "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี"


หัวข้อ: Re: "สิน" องค์เจ้าตาก
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 10 พฤศจิกายน 2018, 01:37:PM
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_5171

ถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานะความเป็น “พระเจ้าแผ่นดิน”
ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น
เพื่อแสดงความสืบเนื่องของแผ่นดินตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึงสมัยของพระองค์ (รัชกาลที่ ๔)

หลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสาร “ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๐๘ ที่ตรัสเรียกว่า “กรุงธนบุรี” แปลว่าพระเจ้าแผ่นดินธนบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงกล่าวใน “พระราชกรัณยานุสร” ว่า พระนามเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยกย่องขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินคงมีอยู่แน่ แต่ไม่ปรากฏ (หลักฐาน) ดังที่ได้ตรัสว่า “พระนามเดิมคงมีอยู่ แต่จะใช้พระนามไร ก็ไม่รู้ที่จะสันนิษฐานต้องยกไว้”

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ตรวจชำระแก้ไขพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ พระองค์ได้ขนานพระนามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียใหม่ตามพระวินิจฉัยส่วนพระองค์ว่า
“สมเด็จพระบรมราชา องค์ที่ ๔” ซึ่งนักพงศาวดารไทยก็ได้ยึดถือตามกันมาและถือเป็นพระนามทางการของพระองค์ไป

อย่างไรก็ดี ภายหลังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวินิจฉัยตามหลักฐานที่ปรากฏในภายหลัง ระบุว่า พระนามที่แท้จริงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีควรจะเป็น “สมเด็จพระเอกาทศรถ” อันเป็นพระนามที่กษัตริย์ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมทรงใช้
สืบต่อกันมา รวมถึงพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย ดังที่ปรากฏพระราชโองการตั้งเจ้านครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ สุทธิศักดิ์ ยังพบว่า ข้อสันนิษฐานภายหลังของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีหลักฐานอื่นรองรับอีกหลายชิ้น เช่นพระราชสาส์นล้านช้าง ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชทานไปถึงพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ ที่จดพระนามร่วมสมัยของพระองค์ว่า “สมเด็จพระมหาเอกาทุศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว” ตามด้วยพระราชสาส์นล้านช้าง
พ.ศ. ๒๓๑๗ ที่ออกพระนามว่า
“สมเด็จพระมหาเอก (า) ทศรธอิศวรบรมนารถบรมบพิตรฯ”

เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจชำระแก้ไขพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระองค์ได้แก้ไขพระวินิจฉัยเดิม และแก้พระนามของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใหม่เป็น “พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว” ซึ่ง สุทธิศักดิ์ กล่าวว่า พระนามดังกล่าวถอดความได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ผู้ครอบครองราชรถทั้งสิบเอ็ดรถ

อย่างไรก็ดี สุทธิศักดิ์ มองว่า พระนามดังกล่าวมิได้เป็นพระเกียรติยศสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
“จึงเห็นควรปริวรรตพระนามตามอักขรวิธีในปัจจุบันเป็น ‘พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร’ แปลว่า
พระเจ้าแผ่นดินผู้แบ่งภาคมาจากเทพยดาผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๑๑ พระองค์ คือ
พระพรหม พระพิษณุ พระอิศวร พระพาย พระพิรุณ พระเพลิง พระยม พระไพศรพณ์ พระอินทร์ พระจันทร์ และพระอาทิตย์
ตามคติความเชื่อใน ‘ลัทธิเทวราช’ ของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจรรโลง
สิทธิธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าแผ่นดินในอดีต”

ด้วยเหตุนี้ สุทธิศักดิ์ สรุปว่า
“สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงควรมีพระนามทางการตามจารึกในพระสุพรรบัฏว่า ‘สมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร’ นับเป็นพระองค์ที่ ๖ ถัดจากพระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวรที่ ๕ (สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ)”  ไม่ใช่สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ ๔ อย่างที่ยึดถือกันมาแต่เดิม

อ้างอิง: “พระนามทางการที่ปลาสนาการของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”.
สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ธันวาคม ๒๕๕๓

ผู้เขียน    เมฆา วิรุฬหก
เผยแพร่    วันพฤหัสที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2560


หัวข้อ: Re: "สิน" องค์เจ้าตาก
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 28 ธันวาคม 2019, 09:14:PM


@ "สิน" องค์เจ้าตากไท้....รำลึก
สยามสุข ธ สู้ศึก..............กอบกู้
พึงประชาร่วมตรองตรึก...สรรค์สืบ..ไสวเฮย
ศิลป์ศาสตร์สรรพ(ะ)รู้......สฤษฏ์ไซร้พระประสงค์