หัวข้อ: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 07 พฤศจิกายน 2013, 08:22:AM อยากทราบว่าในกลอนแปดท้ายวรรคทุกวรรคจึงห้ามเสียงวรรณยุกต์ นั้นๆ
หรือให้ใช้วรรณยุกต์นั้นๆ ห้ามกันมาแต่เมื่อใด ครับ แล้ว ใครเป็นคนห้าม แล้วเคยมีการแก้ไขกันบ้างไหมครับ ข้อห้ามนี้ แล้วการยอมรับข้อห้าม ทั้งประเทศเป็นแบบแผนเดียวกันมีมาแต่สมัยใด และเคยมีการคัดค้านข้อห้ามกันบ้างไหม ก่อนที่จะได้เป็นฉันทลักษณ์อย่างนี้ ที่อ่านๆมาก็บอกต่อๆกันมาว่าห้ามนั้่นๆ แต่ยังไม่เคยเห็นการเผยเเพร่ตามที่ถามข้างบนนั้นครับ หมายเหตุ..ไม่ขอพาดพิงถึงกลอนเปล่าทุกประการครับ ขอบคุณครับ เฒ่าริมทาง http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=webboard (http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=webboard) หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: เพลิงคำ ที่ 07 พฤศจิกายน 2013, 09:55:AM ผมคิดว่า ฉันทลักษณ์ ก็คือข้อกำหนดที่ยอมรับตามๆกันมาเรื่อยๆ
แรกๆอาจพัฒนามาจากการขับร้องเพื่อความไพเราะ ส่วนเป็นข้อห้ามเมื่อไหร่นั้น คงเป็นการห้ามเพื่อเป็นมาตรฐานในการประกวดกลอน ถ้าถามหลักฐานที่ชัดเจน ผมก็ไม่ทราบ สันนิษฐานว่าเริ่มต้นในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ และเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ มีการคัดค้านไหม น่าจะมีนะครับ ถึงมีกลอนในรูปแบบฉันทลักษณ์อื่นๆอีก ...อ่านความคิดเห็นผมแก้กลุ้มไปก่อนนะครับ หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: พยัญเสมอ ที่ 07 พฤศจิกายน 2013, 12:59:PM ไม่รู้เหมือนกันแฮะ ผมรู้เฉพาะวิธีแต่งเท่านั้นไม่เคยรู้ประวัติความเป็นมาของกลอน
ที่แต่งอยู่ทุกวันนี้ก็อาศัยดูแบบอย่างที่คนรุ่นเก่าๆแต่งไว้ อ่านแล้วสังเกตเอาว่าเขาใช้คำยังไง วางเสียงสูงเสียงต่ำยังไง ลงสัมผัสตรงไหน กลอนส่วนมากเขียนยังไงเราก็แต่งไปตามนั้น หรือจะพูดให้ฟังง่ายเข้าก็เป็นพวกครูพักลักจำนั่นแหละไม่ใช่ผู้รอบรู้อะไรหรอก emo_47 ถ้าจะถามว่าเคยมีการคัดค้านไหม ก็ใครจะกล้าไปคัดค้านเล่าครับ ในเมื่อเราต้องเป็นฝ่ายไปเรียนรู้จากเขา เราคือเด็กครับไปเรียนพูดเรียนเขียนจากผู้ใหญ่ ถ้าไปคัดค้านแล้วเมื่อไหร่จะได้ความรู้กันครับ การคัดค้านผมจะคัดค้านเฉพาะสิ่งที่ผมเคยรู้มาก่อนแล้ว อาทิเช่นนักกลอนในรุ่นหลังบอกว่าห้ามลงสัมผัสซ้ำ ที่จริงเรารู้ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นถูกต้อง เพราะการแต่งกลอนที่ดีก็ควรเลี่ยงสัมผัสซ้ำ กลอนที่มีแต่สัมผัสซ้ำไม่ใช่กลอนที่น่าฟัง แต่เราก็รู้อีกว่าในกรณีที่จำเป็นจะต้องลงจริงๆก็ลงได้แม้ว่านักกลอนส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับก็ตาม เราลงเพื่อความเหมาะสมต่อเรื่องนั้นไม่ใช่การจนภูมิ แต่ลงเพื่อสื่อความหมายที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นกลอนบทหนึ่งในนิลาศเกาหลีที่เห็นหลายๆคนชอบหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง "ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่ากเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายสาวไม่คำนับเข้าจับตัว" ในกลอนตัวอย่างนี้มีผู้รู้หลายท่านเคยวิจารณ์ว่าลงไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณาจากเนื้อเรื่องแล้วผมมีความเห็นส่วนตัวว่าลงได้ เพราะในเนื่อเรื่องพูดถึงร้อยตรีสาว ถ้าผู้แต่งเขาอยากจะใช้คำอื่นเขาย่อมทำได้แต่เขาไม่ทำเพราะเขาต้องการสื่อความหมายถึงร้อยตรีสาวจริงๆ ทีนี้สมมุติเกิดไม่ลงด้วยตรีสาวลองเป็นเป็นคำอื่นๆดู "ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่ากเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายบ่าวไม่คำนับเข้าจับตัว" "ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่ากเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนาห้าวไม่คำนับเข้าจับตัว" "ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่ากเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายขาวไม่คำนับเข้าจับตัว" "ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่ากเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายยาวไม่คำนับเข้าจับตัว" "ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่ากเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วินัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายคล้าวไม่คำนับเข้าจับตัว" คือเปลี่ยนมันเปลี่ยนได้ แต่อ่านแล้วมันตลกดี emo_26 ถึงยังไงลงด้วยพบนายสาวฟังดูดีกว่า สื่อความได้ชัดเจนกว่า อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องพยัญชนะเดียวกันสระเดียวกันแต่ต่างวรรณยุกต์ก็ลงไม่ได้อีก เช่นลงกัน จะไปลงกั้นอีกไม่ได้ ถือว่าซ้ำ ขาว ข่าว ข้าว สัน สั่น สั้น ไหม ใหม่ ไหม้ เพราะถือว่าลงซ้ำ เรื่องนี้ผมเถียงหัวเด็ดทีนขาดครับ ยังไงผมก็เห็นว่าลงได้ เพราะพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขาก็ให้ความหมายอยู่แล้วว่า เป็นคนละคำ คนละความหมายไม่เกี่ยวกัน ถ้าเรื่องแค่นี้นักกลอนยังแยกไม่ออกกรุณาอย่ายกตนเป็นผู้รอบรู้เรื่องภาษาเด็ดขาด อายชาวบ้านเขาครับ ชาวบ้าน ตาสีตาสา หรือเด็กป.4 ก็ยังรู้ว่าเป็นคนละคำคนละความหมาย โดยมากที่ผมมักจะออกมาเขียนคัดค้าน ก็เฉพาะเรื่องที่ผมรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเรื่องนั้นๆนักกลอนรุ่นเก่า(ที่เก่ากว่าคนที่ชอบออกมาวางกฏเกณฑ์)เขาเคยทำเขาเคยเขียนมาแล้ว แล้วกฏเกณฑ์บางอย่างมันก็ไม่ได้มีมาแต่เดิม เป็นสิ่งที่นักกลอนรุ่นใหม่มากำหนดเอาภายหลัง บางอย่างเราเห็นถูกต้องเราก็ทำตาม แต่บางอย่างที่เราเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือเกินงามไปเราก็ไม่จำเป็นจะต้องทำตามก็ได้ แต่เรื่องเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคของกลอนแปดที่คุณถามมา เป็นเรื่องที่เราต้องเคารพและต้องทำตามครับ ไม่งั้นกลอนที่เราเขียนคงไม่เรียกว่ากลอนแปด หรืออย่างน้อยที่สุดก็คงไม่ใช่กลอนแปดแบบที่เขานิยมกัน แต่อาจจะเป็นได้แค่กลอนแปลก emo_15 emo_45 emo_47 emo_111 emo_111 emo_111 emo_111 หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 07 พฤศจิกายน 2013, 04:39:PM emo_50 ขออนุญาต ร่วมด้วยนะคะ คือรัตน์อยากแต่งกลอนเป็นแต่ยังแต่งไม่เก่งค่ะ แต่จำได้แม่นยำว่า ลงต่างสระ ก็เป็นข้อห้ามเด็ดขาดเหมือนกันนะคะ ที่จำได้ เพราะโดนเอ็ดบ่อยแล้วค่ะ emo_43 เช่นตัวอย่างข้างล่างนี้ อ่านผ่านสายตามา จำไม่ได้ว่าที่ไหนของใคร (ต้องขออภัยท่านผู้แต่งค่ะ) emo_126 ๐ ทุกข์ สยามไร้รากจะฝากหมาย นักการเมืองทำลายจนยากสาง ที่สัตย์ซื่อไร้สินทุ่มเทวาง สู้เงินหว่านอัปรีย์ทู่ซี้ทน จากใจ รัตนาวดีค่ะ emo_126 emo_116 หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 07 พฤศจิกายน 2013, 05:31:PM คิดอยู่นานว่าจะแจมด้วยหรือเปล่า
ถือว่าแชร์กันนะครับ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ (ไม่รู้ว่าคุณอภัยเขาจะให้รึเปล่า 555) ในหนังสือ ประชุมลำนำ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ซึ่งแต่งไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 แต่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ในทันที กระทั่งท่านเสียชีวิตไปแล้วหลายปี จึงได้นำมาจัดพิมพ์ในปี 2514 (http://i882.photobucket.com/albums/ac25/Kan_ry/1314980109.jpg) มีการกล่าวถึงเสียงท้ายของกลอนดังนี้ครับ (หน้าที่ 55) 1. "...คำที่สุดของกลอนสดับ (คือกลอนต้น) จะใ้ช้อักษรใดก็ได้..." 2. "...คำที่สุดของกลอนรับนั้นอย่าให้ใ้ช้อักษรกลางหรืออักษรต่ำที่เปนสุภาพ บังคับให้ใช้แต่อักษรสูง..." ถ้าตีความตามความเข้าใจผม ก็น่าจะแปลว่า เสียงท้ายวรรค 2 ห้ามเสียงสามัญ เพราะ อักษรสูงไม่มีเสียงสามัญ 3. "...คำที่สุดของกลอนรองนั้นอย่าให้ใช้อักษรสูงที่เปนสุภาพ ให้ใช้แต่อักษรกลางกับต่ำ..." "...ในที่สุดของกลอนส่งนั้น อย่าให้ใช้อักษรสูงที่เปนสุภาพ ให้ใช้แต่อักษรต่ำกับอักษรกลาง" ส่วนอันนี้ผมก็งง ๆ อยู่ จะว่าต้องการห้ามจัตวา ก็ดูแย้ง ๆ กัน เพราะ แม้อักษรต่ำจะผันจัตวาไม่ได้ แต่อักษรกลางผันได้ แต่ถ้าเทียบ ๆ เคียง ๆ กับข้อหนึ่ง ผมก็เดาเองว่า น่าจะห้ามจัตวานะ (แหะ ๆ แบบตรงกันข้ามกัน อันหนึ่งห้ามเสียงสูงที่สุด อันหนึ่งห้ามเสียงต่ำที่สุด) (หน้าที่ 54) 3. "เอกหรือโทอยู่ในที่สุดกลอนส่ง เป็น ละลอกทับ" "เอกหรือโทอยู่ในที่สุดกลอนรับหรือกลอนรองนั้นเป็น ละลอกฉลอง" การกล่าวถึง "ละลอกทับ" และ "ละลอกฉลอง" ในหนังสือ ไม่ได้ระบุว่า เป็นข้อต้องห้ามหรือไม่ (พยายามค้นแล้ว แต่ไม่เจอ) แสดงว่าอาจไม่ได้ห้าม วรรณยุกต์เอกหรือโท ที่วรรค 2, 3 และ 4 แต่ เสียงท้ายของกลอนในยุคปัจจุบัน (ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่าใครกำหนด และกำหนดเมื่อไหร่) วรรค 1 ได้ทุกเสียง แต่ไม่นิยมสามัญ วรรค 2 ห้ามเสียงสามัญ และตรี วรรค 3 และ 4 ให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญ หรือ ตรี สำหรับการห้ามเสียงตรีในวรรค 2 ผมก็เพิ่งทราบเหตุผลของการห้าม ก็คือ เขากลัวเสียงมันเพี้ยน แล้วทำให้คนฟังสับสนครับ เช่น "ไว้" หากไปวางเป็นเสียงท้ายวรรค 2 อาจได้ยินเป็น "หวาย" ดังนั้น ส่วนตัวของผมจึงเห็นว่า ตรี ในวรรค 2 น่าจะใช้ได้ แต่ต้องระมัดระวัง แล้วทีนี้ ลองฟังการอ่านทำนองเสนาะนี่นะครับ http://www.youtube.com/watch?v=ZzH4_iEs57E จะเห็นว่า วรรค 1 จะอ่านแบบค่อย ๆ ไล่เสียงสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ วรรค 2 ก็จะอ่านแบบเดียวกับวรรค 1 (เสียงท้ายวรรคนี้จึงควรมีระดับเสียงที่สูง และถ้าใช้เสียงสามัญล่ะก็ เอื้อนไม่ได้เลยละครับ) วรรค 3 จะหลบเสียงลงมา แล้วอ่านในระดับเสียงที่เท่า ๆ กันตลอดวรรค วรรค 4 ก็จะอ่านในระดับเสียงที่เท่า ๆ กันตลอดวรรค เช่นเดียวกับวรรค 3 (เสียงท้ายวรรค 3 และ 4 จึงไม่ควรมีระดับเสียงที่สูง) ศรีเปรื่อง ปล. แต่ผมก็อยากรู้นะครับว่า ข้อบังคับเสียงท้ายในแบบยุคปัจจุบัน กำหนดขึ้นเมื่อไหร่ และ โดยใครหรือหน่วยงานใด หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 08 พฤศจิกายน 2013, 08:50:AM แฮะ ๆ ไม่อยากแอบอ้างเอาดีชอบครับ
เป็นคำถามที่ผมไปพบที่ web สมาคมนักกลอน แต่ไม่มีผู้ออกความเห็น จึงเห็นควรนำมาเผยแพร่ (แผ่ = ขยาย, แพร่ = กระจาย) จะได้เกิดการวัฒนายิ่ง ๆ ==== คุณ share มาถามต่อในเรือนไทยหรือคะ? คนถามคงหงุดหงิดนิดหน่อยว่า ทำไมวรรคที่สองลงท้ายด้วยเสียงสามัญไม่ได้ วรรคที่สามกับสี่ลงด้วยเสียงจัตวาไม่ได้ ฯลฯ อยากทราบว่าในกลอนแปดท้ายวรรคทุกวรรคจึงห้ามเสียงวรรณยุกต์ นั้นๆ หรือให้ใช้วรรณยุกต์นั้นๆ ทั้งสองอย่างค่ะ มันเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เมื่อห้ามวรรณยุกต์หนึ่งก็เท่ากับอนุญาตวรรณยุกต์ที่เหลือ เมื่อให้ใช้วรรณยุกต์ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว ก็เท่ากับไม่ให้ใช้ตัวที่เหลือ ห้ามกันมาแต่เมื่อใด ครับ แล้ว ใครเป็นคนห้าม แล้วเคยมีการแก้ไขกันบ้างไหมครับ ยังไม่เคยเจอกฎระเบียบที่ตราขึ้นมาเป็นทางการ แต่ถ้าดูวรรณคดีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เคยอ่านกลอนบทละครที่ไม่ได้ตีพิมพ์ เก็บเป็นตัวเขียนอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ พบว่าเคร่งแต่สัมผัสนอก-ใน และสัมผัสระหว่างบท แต่เสียงวรรณยุกต์ปล่อยมากกว่ากลอนอย่างที่เราใช้กันปัจจุบันนี้ บาทสุดท้ายลงด้วยเสียงจัตวาก็มี แต่ขออภัยยกตัวอย่างไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือในมือ ดิฉันเข้าใจว่ากลอนที่กำหนดเสียงวรรณยุกต์อย่างปัจจุบันนี้ เริ่มตั้งแต่กลอนเสภามาก่อน เช่นในขุนช้างขุนแผนตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แล้วแพร่หลายในสมัยสุนทรภู่ กลอนที่ท่านเขียนเดิมเรียกว่า"กลอนตลาด" ต่อมาเราเรียกเสียใหม่ว่า "กลอนสุภาพ" แบบฉบับที่สุนทรภู่นิยมใช้ก็คือใช้วรรณยุกต์แบบเดียวกับกลอนเสภา กลอนในสมัยก่อน ใช้ขับ ใช้ประกอบเพลง ใช้อ่านดังๆ ไม่ได้อ่านในใจอย่างปัจจุบัน ดังนั้นเสียงวรรณยุกต์จึงมีผลในเชิงออกเสียงมาก ผู้ที่รู้การขับเพลงไทยเดิมและเสภาบอกว่า การลงคำท้ายมีผลต่อทำให้เพลงหรือเสภานั้นไพเราะหรือไม่ไพเราะ ออกเสียงง่ายหรือยาก ดังนั้นก็เป็นได้ว่า การกำหนดวรรณยุกต์ เอื้อต่อการออกเสียงในทำนองต่างๆ จึงกลายเป็น"กรอบ" การเขียนต่อๆมา ข้อห้ามนี้ แล้วการยอมรับข้อห้าม ทั้งประเทศเป็นแบบแผนเดียวกันมีมาแต่สมัยใด และเคยมีการคัดค้านข้อห้ามกันบ้างไหม ก่อนที่จะได้เป็นฉันทลักษณ์อย่างนี้ ที่อ่านๆมาก็บอกต่อๆกันมาว่าห้ามนั้่นๆ แต่ยังไม่เคยเห็นการเผยเเพร่ตามที่ถามข้างบนนั้นครับ ตอบข้างบนแล้วนะคะ หมายเหตุ..ไม่ขอพาดพิงถึงกลอนเปล่าทุกประการครับ กลอนเปล่าไม่มีสัมผัส ไม่กำหนดวรรณยุกต์อยู่แล้วค่ะ เทาชมพู (ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม) http://www.reurnthai.com/ (http://www.reurnthai.com/) หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 08 พฤศจิกายน 2013, 08:15:PM แหะ ๆ ไปเจอบทความดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องเสียงท้ายเพิ่มเติมอีกครับ
http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538774437&Ntype=2 (http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538774437&Ntype=2) หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 10 พฤศจิกายน 2013, 10:35:AM ตามที่ได้กล่าวอ้างถึง หนังสือ ประชุมลำนำ ฯ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์
แล้วตัดข้อความมาบางส่วน... คิดไปคิดมา...เอาของจริงมาแบ่งปันเลยน่าจะดีกว่า (เพราะผมตีความเอง...อาจมีอคติ emo_85) (http://s24.postimg.org/eaon3ue39/IMG_55.jpg) (http://postimage.org/) (http://s23.postimg.org/6ko8uofcb/IMG_54.jpg) (http://postimage.org/) ศรีเปรื่อง หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 12 พฤศจิกายน 2013, 10:54:AM สงสัยว่าคนถามอาจเขียนกลอนส่งประกวด แล้วใช้วรรณยุกต์แตกต่างไปจากที่กำหนดกันมาจนกลายเป็นเกณฑ์ เช่น แทนที่จะเขียนว่า
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน ก็อาจจะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็นว่า แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลดเลี้ยวทั้งเคี้ยวคด ถึงเถาวัลย์พันล้ำเหลือกำหนด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน แล้วถูกกรรมการปรับตก หรือท้วงติงว่าผิดฉันทลักษณ์ เจ้าตัวก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่าที่ผิดนั้นใครกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้แต่ครั้งไหน ถ้าจะว่าผิดวรรณยุกต์ก็เอาระเบียบที่ตราไว้แต่โบราณมาให้ดูหน่อย การเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์แบบที่ยกตัวอย่างมาข้างบน เห็นบ่อยในปัจจุบัน ว่ามีการลงเสียงวรรณยุกต์กันตามใจชอบ เมื่อไม่มีใครท้วงติง อีกหน่อยก็คงใช้ตามๆกันไปจนกลายเป็นเสียงที่อนุโลมใช้ได้ไปเอง แต่ส่วนตัวดิฉันไม่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ตามนี้ ด้วยเหตุผลเดียวคือรู้สึกว่ามันไม่ไพเราะเท่านั้นละค่ะ เทาชมพู (ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม) http://www.reurnthai.com/ (http://www.reurnthai.com/) หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 12 พฤศจิกายน 2013, 12:09:PM ขอบคุณ ท่าน toshare มากครับ ที่เอาเกร็ดดี ๆ มาฝากอย่างต่อเนื่อง
ผมเองก็มี กลอน ที่ใช้เสียงตรีที่ท้ายวรรคสอง มาแชร์กันครับ "ถึงปวดร้าวปานหทัยถูกใครม้าง ก็ขอขว้างรักเก่ามิเอาไว้ แล้วออกดั้นเดินป่าพนาไพร ประจากสาวแก้มใสแต่ใจดำ" ศรีเปรื่อง "ไว้" ที่ท้ายวรรค 2 หากอ่านทำนองเสนาะ ก็อาจได้ยินเสียงเป็น "ไหว" หรือ "หวาย" ปล. แฮะ ๆ "ทะม้าง" นี่ไม่ทราบจริง ๆ ครับ ถึงปวดร้าวเจียนจินต์ภินทะม้าง emo_45 ท่าน toshare เป็นงงกับศัพท์ประหลาดของผม คือ คำนี้ผมดึงเอาลักษณะของฉันท์มาใช้ในกลอน ภินทะม้าง = ภินท+ม้าง (ที่ใส่ อะ ไว้ด้วยก็เพราะกลัวคนอื่นไม่อ่านออกเสียงตามที่ผมตั้งใจ) แนวคิดมาจากคำว่า "ภินท์พัง" ซึ่งเป็นการเอาคำสองคำที่มีความหมายในทำนองว่า "ทำลาย" มาวางซ้อนกัน ผมก็เลยเกิดไอเดียประเจิดเอา "ม้าง" มาแทนที่ "พัง" ซะเลย emo_19 แต่คิดไปคิดมา...ผมเขียนกลอนอยู่นี่นา ก็เลยแก้ใหม่ตามที่เห็นข้างบนครับ ขอบคุณท่าน toshare ครับ ที่ทักท้วง ไม่ปล่อยให้ผมเล่นสนุกตามอำเภอใจ emo_126 หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 12 พฤศจิกายน 2013, 01:10:PM ข้อห้ามในกลอนแปด ท้ายวรรค น่าจะมาจาก ปฐยาวัตตฉันท์ ในคัมภีร์วุตโตทัย นะครับ ขอนำประวัติที่มาของ กลอน มาลงให้อ่าน
และพิจารณาดูว่า เป็นไปได้ไหม ที่มาของ “กลอน” หลวงธรรมาภิมณฑ์ ( ถึก ) เชื่อว่า กลอน มีที่มาจากคำฉันท์ในหมวดวิสมพฤตมีกำหนด วรรคละ 8 คำ แต่ไม่กำหนด ครุ – ลหุ แบบฉันท์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้สนับสนุนแนวคิดนี้ โดย สันนิษฐานว่า กลอนแปด น่าจะมาจาก ปฐยาวัตตฉันท์ ในคัมภีร์วุตโตทัย กลอน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.กลอนสำหรับอ่าน เช่น กลอนเพลงยาว 2.กลอนสำหรับขับร้อง เช่น กลอนบทละคร, กลอนเสภา, กลอนสักวา, กลอนดอกสร้อย กลอน น่าจะมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนต้น แต่ยังขาดหลักฐานที่แน่นอน เช่น กลอนเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา, “กลอนกลบทสิริวิบุลกิติ” ของหลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ), กลอนเพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กลอน บทหนึ่งมี 2 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหนึ่งมี 6 – 7 – 8 คำ ( ถ้าเป็นกลอนเสภา วรรคหนึ่งมีได้ถึง 9 คำ ) มีทั้งสัมผัสนอก, สัมผัสใน, สัมผัสระหว่างบท ตัวอย่าง กลอนเพลงยาว ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ........................ โฉมหอมหอมเหิรเวหาหวล แต่โหยหามิได้เว้นทิวาครวญ ............................................ กลอนเพลงยาว จะขึ้นต้นด้วย วรรคที่ 2 ของคำกลอน เหมือนกับ กลอนนิราศ ที่มาของ “โคลง” โคลง มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) ได้พัฒนามาจากร่ายโบราณ ที่มีคำสร้อย ( คำสร้อยนั้นสามารถส่งสัมผัสได้เพียงแต่ส่งกระโดดข้ามไปวรรคหนึ่ง ) เรียกว่า “โคลงมณฑกคติ” หรือกบเต้น เช่น โคลงมณฑกคติ ในลิลิตโองการแช่งน้ำ นานาอเนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักรวาฬเมื่อไหม้ กล่าวถึงตระวันเจดอันพรุ่ง น้ำแล้งไข้ขอดหาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำโคลงบทนี้มาวางแผนผังใหม่ในแบบโคลงโบราณที่เป็นกลบท เรียกว่า “กลบทเก็บบท” (ซึ่งยังไม่เคร่งครัดเรื่องสัมผัสและคำเอกคำโท) นานาอเนกน้าว เดิมกัลป์ จักร่ำจักรวาฬ เมื่อไหม้ กล่าวถึงตระวันเจด อันพรุ่ง อันพรุ่งน้ำแล้งไข้ ขอดหาย โคลงที่เก่าที่สุดของเมืองเหนือ คือ โคลงอุสสบารส แต่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 1900 หลังจากมีโคลงมณฑกคติ มา 7 ปี ( จาก “มหากาพย์ท้าวบาเจือง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์” ดร.ประคอง นิมมานเหมินทร์, วิทยานิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 ) ประเภทของโคลง โคลงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1.) โคลงโบราณ มี 8 ชนิด ได้แก่ 1. วิชชุมาลี 2. มหาวิชชุมาลี 3. จิตรลดา 4. มหาจิตรลดา 5. สินธุมาลี 6. มหาสินธุมาลี 7. นันททายี 8. มหานันททายี (2.) โคลงดั้น มี 4 ชนิด ได้แก่ 1. โคลงสองดั้นวิวิธมาลี 2. โคลงสามดั้นวิวิธมาลี 3. โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี 4. โคลงสี่ดั้นบาทกุญชร (3.) โคลงสุภาพ มี 8 ชนิด ได้แก่ 1. โคลงสองสุภาพ 2. โคลงสามสุภาพ 3. โคลงสี่สุภาพ 4. โคลงห้า 5. โคลงจัตวาทัณฑี 6. โคลงตรีพิธพรรณ 7. โคลงกระทู้ 8. โคลงกลบท ตัวอย่าง โคลงกลบทเก็บบท กล่าวถึงน้ำฟ้าฟาด ฟองหาว ฟองหาวดับเดโช ฉ่ำหล้า ฉ่ำหล้าปลาดิ้นดาว เดือนแอ่น เดือนแอ่นลมกล้าป่วน ไปมา ( จากลิลิตโองการแช่งน้ำ ) ตัวอย่าง โคลงโบราณมหาวิชชุมาลี ( ที่มีลักษณะข้อบังคับของโคลงดั้น ) บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง โลกา ระเรื่อยเกษมสุขพูน ใช่น้อย แสนสนุกศรีอโยธยา ฤๅร่ำ ถึงเลย ทุกประเทศชมค้อยค้อย กล่าวอ้างเยิรยอ ( จากลิลิตพระลอ ) (คำโท 2 ที่ เป็นบัญญัติของโคลงดั้น ลักษณะของโคลงดั้นเคร่งครัดในเรื่อง จำนวนคำ, สัมผัส, และเอกโท ทำให้แต่งได้ยาก ) ตัวอย่าง โคลงจัตวาทัณฑี โคลงหนึ่งนามแจ้งจัต วาทัณ ฑีนา บังคับรับกันแสดง อย่างพร้อง เลบงแบบแยบยลผัน แผกชนิด อื่นเอย ที่สี่บาทสอดคล้อง ท่อนท้ายบทประถม ที่มาของ “ ร่าย ” ร่ายโบราณ ของไทยมีที่มาจาก ร้อยแก้วชนิดพิเศษ ที่มีจังหวะและมีสัมผัส ในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยพัฒนามาเป็น “คัทยกาพย์” คือครึ่งร่ายครึ่งร้อยแก้ว ร่าย มี 4 ประเภทคือ 1. ร่ายโบราณ 2. ร่ายสุภาพ 3. ร่ายดั้น 4. ร่ายยาว วิธีดูประเภทของร่าย 1.ร่ายโบราณ ถ้าร่ายบทใด ตอนจบไม่มีการเปลี่ยนสัมผัส ร่ายนั้นคือ ร่ายโบราณ 2.ร่ายดั้น ถ้าร่ายบทใด ตอนจบไม่มีสัมผัส ( ลงแบบสองบาทท้ายของโคลงดั้นวิวิธมาลี ) ร่ายนั้น คือ ร่ายดั้น 3.ร่ายสุภาพ ถ้าร่ายบทใด ตอนจบย้ายสัมผัส ( ลงแบบโคลงสองสุภาพและเป็นวรรณยุกต์โท คือย้ายจากการส่งสัมผัสจากตัวที่ 1 – 2 – 3 ไปเป็นตัวที่ 5 และคำส่งสัมผัสเป็นคำโท คำรับสัมผัส ก็เป็นคำโท ) ร่ายนั้น เรียกว่า ร่ายสุภาพ 4.ร่ายยาว ถ้าร่ายบทใด มีจำนวนคำในแต่ละวรรค มากกว่า 5 คำ ร่ายนั้นคือ ร่ายยาว การสัมผัสของร่าย มีการส่งสัมผัสท้ายวรรค และมีสัมผัสเชื่อมกับต้นวรรคหน้า ต่อไปเช่นนี้จนจบ การส่งและรับสัมผัส ต้องเป็นคำชนิดเดียวกันเช่น ส่งคำเป็น ก็ต้องรับคำเป็น ส่งคำตาย ก็ต้องรับคำตาย ส่งคำเอก รับคำเอก, ส่งคำโท รับคำโท ดังนี้เสมอไป ถ้าเป็นร่ายวรรคละ 5 คำ มักจะใช้รับกับคำที่ 1 – 2 – 3 คำใดคำหนึ่ง ของวรรคหน้า ( ที่มา “หลักภาษาไทย” พระยาอุปกิตศิลปสาร, 2514 หน้า 417 ) T.พรสรวง (คนเดิม) http://www.vcharkarn.com/vcafe/210428 (http://www.vcharkarn.com/vcafe/210428) หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 15 พฤศจิกายน 2013, 02:36:AM พรุ่งนี้ว่าง...คืนนี้ขอทุ่มสุดตัวเลยครับ emo_20
http://www.youtube.com/watch?v=x5XiTIhf3CU#noexternalembed&feature=youtu.be (http://www.youtube.com/watch?v=x5XiTIhf3CU#noexternalembed&feature=youtu.be) ทำไมกลอนวรรค ๒ จึงห้ามเสียงตรีที่คำท้าย เหตุผลไม่ใช่เรื่องความไพเราะ แต่เพราะกลัวเสียงเพี้ยนครับ ดังตัวอย่าง "ไว้" รูปโท แต่ให้เสียงตรี เมื่อวางไว้ท้ายวรรค ๒ ของกลอน เวลาอ่านทำนองเสนาะเราอาจได้ยินเป็น "ไหว" หรือ "หวาย" ได้ครับ ( emo_26 ไม่รู้ว่าคนอ่านอ่านเพี้ยน หรือ คนฟังฟังเพี้ยน) ศรีเปรื่อง ๑๕ พ.ย. ๒๕๕๖ หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 19 พฤศจิกายน 2013, 06:39:AM ที่ผมจะวิพากษ์ต่อไปนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว โดยใช้การสังเกต และไม่ได้อ้างอิงตำราเล่มใด
หากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยด้วยนะครับ เป็นที่ยอมรับกันว่า "คำตาย" สามารถนำมาใช้เป็นคำท้ายของกลอนในวรรค ๓ และ ๔ ได้ แม้ว่า เสียงกลอนที่ได้จะไม่ไพเราะสักเท่าใดก็ตาม จากการสังเกตของผมพบว่า เครื่องไม้เครื่องมือในภาษาไทย ที่ทำให้เสียงสั้นมีดังนี้ ๑. ไม้ไต่คู้ เปน ใส่ไม้ไต่คู้ >> เป็น ๒. วรรณยุกต์เอก เปิน ใส่วรรณยุกต์เอก >> เปิ่น (ลองอ่านดูนะครับ จะเห็นว่าเสียงสั้นลงอย่างชัดเจน) ๓. คำตาย คำที่เวลาทำนองเสนาะ เอื้อนได้ลำบาก ซึ่งก็จะเป็นคำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด และก็พวกสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด ๔. คำลหุ คำที่มีเสียงสั้น ซึ่งผสมจากสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด ( emo_19 ดูเหมือนจะเป็นสับเซต ของคำตายนะ) ทีนี้ ในโคลง มีการยอมรับให้เอาคำตายและคำลหุ มาแทน คำเอก ได้ ซึ่งในทัศนะของผมเห็นว่า น่าจะเป็นเพราะลักษณะเสียงที่สั้น คล้าย ๆ กันนั่นเอง ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะเอาคำที่ให้ "เสียงเอก" มาเป็นคำท้ายของกลอนในวรรค ๓ หรือ ๔ ได้ โดยเฉพาะหากเราเลือกคำที่เป็นพยางค์ปิด (คำที่มีตัวสะกด) และ ใช้สระที่เสียงสั้นซักหน่อย เช่น ส่ง ก่น จุ่ง ข่ม ซึ่งเวลาเราออกเสียง ลมส่วนใหญ่ ก็จะถูกกักไว้ที่ปาก คล้าย ๆ กับคำตายบางคำ เช่น (กำ)หนด, ลด ผมเลยลองทดสอบตรรกะนี้ โดยหาคำที่ให้ "เสียงเอก" ที่มีเสียงกระชับซักหน่อยมาวางที่ท้ายวรรค ๓ ลองพิจารณากันดูนะครับ ผมเจอะสาวไฉไล...ใกล้นางฟ้า ทรวดสง่า...ทรงสะอาง...เปรียบนางหงส์ รีบกระทำตาขยิบ...วิบวิบส่ง หมายอนงค์เจ้าเอี้ยว...มาเหลียวแล (ต้องขออนุญาตนำกลอนของท่านสุนทรภู่ ที่ลงท้ายด้วยคำตายมาใช้เป็นกรณีศึกษานะครับ) ๑. อ่านแบบกลอนธรรมดา http://www.youtube.com/watch?v=GgOTbjaKWxU ๒. อ่านแบบเสภา http://www.youtube.com/watch?v=NvuMCot_C-0 ศรีเปรื่อง ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๖ ปล. emo_45 emo_45 อ่านไม่เพราะ ได้แค่ ฟิลลิ่ง ยังไงก็ทนฟังกันสักนิดนะครับ หัวข้อ: Re: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 11 มกราคม 2023, 02:02:PM @ วันเอ๋ยวันคืน กาลกินกลืน อำนาจ วาสนา รัฐประหาร เผด็จการ ยากชีวา ต้องสิ้นท่า ติดหล่ม ตะเกียกตะกาย @ วันเอ๋ยวันคืน ปลุกชีพชื่น รื่นรมย์ สมมาดหมาย ปฏิบัติธรรม นำหน ดลทุกข์คลาย สงบสบาย พึ่งธรรม์ มั่นมุเอย กลอนดอกสร้อย |