หัวข้อ: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 22 กันยายน 2013, 12:49:PM วันนี้ผมขอถกในเรื่องการใช้คำศัพท์ในกลอนแปดครับ เนื่องจากมีมิตรและอาจารย์หลายท่านแนะนำผมว่า หลายต่อหลายครั้งกลอนของผมมักจะมีคำภาษาบาลีและภาษาโบราณอยู่บ่อยครั้ง แม้ท่านจะว่านี่เป็นสไตล์ของผมและเป็นความถนัดของผม แต่บางครั้งถ้าเราแต่งอะไรที่มันเข้าใจยากและลืมใช้ภาษาง่ายๆมันก็จะขาดอรรถรสในบทกลอนได้ เพราะกลอนแปดหรือกลอนสุภาพนั้นมีชื่อเรียกเล่นๆว่า กลอนตลาด หากเราจะยึดท่านสุนทรภู่เป็นแบบอย่าง ก็น่าจะลองฝึกไว้ด้วย
โดยส่วนตัวผม ผมวิเคราะห์ว่าที่ผมแต่งแบบนี้ก็เนื่องจาก ผมชอบโคลงมาก ผมเริ่มต้นฝึกโคลง และผมคิดโคลง มันง่ายกว่าคิดกลอน จึงมีบ่อยครั้งที่ภาษาโคลงผมมาปะปนอยู่กับบทกลอนจำนวนมาก ยิ่งพอช่วงหนึ่งปีหลังมานี้ ผมเริ่มต้นฝึกฉันท์ บางครั้งนั่งคิดแต่คำบาลี-สันสกฤตอยู่ตลอด จึงมีบ่อยครั้งที่คำเหล่านี้จะมาปรากฎในกลอนแปดของผม ที่ผมเขียนกระทู้นี้ไม่ได้มาบอกว่าผมผิดนะครับ ผมคิดว่าจริงๆมันก็คือสไตล์ของผม แต่เมื่อเราจะฝึกหัดกลอนทั้งทีก็ควรหัดมันทุกๆรูปแบบ ทุกๆช่องทาง ทุกๆสไตล์ และเมื่อนี่คือข้อด้อยที่ท่านอาจารย์ภาษาไทยหลายๆท่านที่มีประสบการณ์และหลักภาษาไทยแน่นกว่าผมมากแนะนำผมมาผมจึงขอน้อมรับและพยายามจะฝึกตามคำแนะนำครับ เพราะทุกๆคำแนะนำของมิตรและอาจารย์หลายท่านที่commentมามีคุณค่าสำหรับการพัฒนาฝีมือมาก ผมก็หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์บ้างนะครับกับเพื่อนๆทุกท่าน งั้นถ้าเพื่อนๆท่านไหนเข้ามาอ่านและอยากมาร่วมวงเสวนาด้วย ก็จงยึดกติกาว่า เราจะแต่งกลอนด้วยคำง่ายๆ ผมจะลองดูครับ ๐กลอนอ่อนด้อยถ้อยความว่างามหลัก (อิอิอิผมเกือบเผลอลงด้วยคำว่า ลักษณ์ตามที่ถนัดแล้ว) เพราะขลุกขลักคำคมอันสมศรี (อันนี้ขออนุญาตลงคำว่าศรี เพราะคำนี้ชอบเป็นการส่วนตัว) บางครั้งคิดคลับคล้ายแยบคายมี บางครั้งที่คำถลอกปอกเปิกเกิน ๐พิเคราะห์ความตามอย่างครูวางไว้ จึงเข้าใจแจ่มชัดพร้อมหัดเหิน จะค่อยร้อยเรียงเสียงสำเนียงเพลิน จะดุ่มเดินโดยหลักจากอาจารย์ฯ emo_126 emo_126 emo_126 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: panthong.kh ที่ 22 กันยายน 2013, 01:17:PM (http://image.ohozaa.com/i/e3c/KetJWu.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/x6nJoQEQ1rUsrQs6) คำว่ารัก รักมาก ลำบากแสน คำว่าแฟน แแฟนนั้น ฉันมองผ่าน คำว่ารู้ รู้นิดหน่อย ด้อยดักดาน คำที่อ่าน อ่านไป ไม่จดจำ จึงแต่งตาม ตามที่ มีสมอง จึงแต่งตรอง ตรองตรึก ฝึกเช้าค่ำ จึงเตาะแตะ แตะต้อง ทุกผองคำ จึงเพ้อพร่ำ พร่ำเพรื่อ เบื่อกลอนตน พันทอง emo_116 emo_126 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 22 กันยายน 2013, 04:48:PM เป็นเหมือนกันครับ ท่านไร้นาม
คือ ส่วนตัวชอบเสียงสั้น-ยาวคละเคล้ากัน แรก ๆ ก็หัด... หลัง ๆ มันคล้าย ๆ จะติด...ถ้าไม่คุม ก็จะเผลอหลุดทุกที 555 โรคนี้เป็น...เหมือนกัน...เอ่อ! มันติด สันสกฤต-มคธ รัวทั่วเวหน ปล่อยลหุ-ครุศัพท์, สลับปน ใครเผลอยล...ถึงกะสั่น..เพราะงันงง เขียนอะไร...ไป่รู้...ดูมิออก จะกล่าวบอก...กิจใด...ใฝ่ประสงค์ แน่ะ! เตลิด...เข้าป่า...พนาพง ทำเพื่อนวงแตกซะนี่...คุณศรี ฯ เอ๊ย (ก่นตัวเองซะหน่อย) ศรีเปรื่อง ๒๒ ก.ย. ๒๕๕๖ ปล. แฮ่ ๆ มาแก้สำนวนครับ ถ้าอ่านไม่ละเอียดเดี๋ยวจะพานเข้าใจผิด emo_85 emo_85 emo_85 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 22 กันยายน 2013, 05:30:PM แต่ผมแอบดีใจอย่างหนึ่งว่า ในเว็บบ้านกลอนไทยเรา บางทีความสนใจมันมีมาก ทำให้หลายๆคนที่มาอ่านก็เต็มใจที่จะเปิดพจนานุกรมดูความหมายและเวลาใครโพสต์กระทู้และมีเพื่อนมาต่อกระทู้ก็พยายามที่จะคงสำนวนตามเจ้าของกระทู้ ให้กลอนคล้ายๆกัน ยกตัวอย่างเช่น น้องดินกับคุณพันทอง แต่งกลอนโดยใช้ภาษาทั่วไปและพลิ้วและไพเราะมาก แต่หลายครั้งเวลามาต่อกลอนผม ก็ได้พยายามนำศัพท์ที่สวยงามมาใช้ ซึ่งผมอ่านแล้วมีความสุขมาก เช่นใช้คำว่า รุจิเรข แหม ผมชอบมาก emo_85 อันนี้แต่งแบบขอแซวคำแนะนำท่านอาจารย์นะครับผม emo_85 emo_126 ๐พยายามตามแต่จะแลเห็น ผุดผ่องเพ็ญฤๅพร่องก็พร้องเผย เพราะดนูนี้ฤดีเปรมปรีดิ์เปรย อันคุ้นเคยคติท่านบุราณรักษ์ ๐วาทวิไลไสวหว่านให้กานท์ยาก เพื่อนพ้องหากเห็นนัยได้ประจักษ์ และร่วมร้อยสร้อยสาส์นโอฬารนัก ผมคงถักถ้อยไกลสมัยนิยม หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 22 กันยายน 2013, 06:45:PM emo_126 ชอบทุกสไตร์ของทุกท่านค่ะ อ่านแล้วชื่นชมเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละท่านค่ะ emo_46 emo_50 ส่วนรัตน์ก็ปลาบปลื้มถ้ามีท่านผู้อ่านคอยติชม หรือแนะนำ (เอกลักษณ์แต่งตามอารมณ์ค่ะ) ขอให้เป็นกำลังใจ ไปตลอดด้วยนะคะ รักทุกท่านผู้อ่านจากใจจริงจ้า.. emo_55 ☆ รัตนาวดี ☆ emo_116 emo_126 ปล. ช่วงนี้รัตน์ มิใคร่ว่างจึงไม่ค่อยได้แต่งค่ะ emo_54 http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=hFe7eLwAXoc หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไพร พนาวัลย์ ที่ 22 กันยายน 2013, 10:34:PM ก่อนที่จะมาเขียนกลอนเล่นที่บ้านกลอนไทยแห่งนี้ ผมก็ได้ไปแต่งกลอนเล่นๆที่เวบอื่นมาบ้าง ช่วงนั้นมันมีแรงบันดาลใจหลายๆอย่าง ทำให้กลอนที่เขียนออกมาลื่นไหล ได้อรรถรสดีพอสมควร เพลิดเพลินกับการแต่งกลอน จนไม่สนใจวิชาที่เรียน ต้องสอบซ่อมหลายครั้งเลยทีเดียว แต่พอมาบ้านกลอนไทย นักกลอนรุ่นพี่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณระนาดเอก คอยแนะนำตักเตือนเรื่องฉันทลักษณ์ ชิงสัมผัสบ้าง สัมผัสเลือนบ้าง สัมผัสซ้ำบ้าง อย่างสม่ำเสมอ (จนผมถือเอาเป็นแบบอย่างไว้คอยสะกิดน้องใหม่ และขอขอบคุณ คุณระนาดเอกเป็นอย่างสูงไว้ ณที่นี้ด้วย) และอ่านวิธีแต่งกลอนแปดของที่นี่อย่างจริงจังบ้าง กลอนแปดของผมจึงเข้าร่องเข้ารอยมากขึ้น แต่มันกลับเป็นว่ากลอนของผมไม่ลื่นไหล ไม่ได้อรรถรสเท่าที่ควรเลย เพราะจะต้องระวังในเรื่องฉันทลักษณ์ต่างๆและที่สำคัญคือต้องสัมผัสกับกลอนที่เราจะต่ออีกด้วย มันจึงบังคับให้หาคำคล้องจองกัน ทำให้เสียจุดมุ่งหมายที่จะสื่อ มันกลายเป็นเหมือนกับว่า กลอนพาไปซะแล้ว ช่วงหลังๆมานี้ ผมไม่มีเวลาที่จะเขียนกลอนเท่าไหร่นัก ก็เลยเข้ามาในลักษณะพักผ่อนอ่านกลอน เขียนกลอนต่อเพื่อนๆอย่างสนุกสนานซะมากกว่า และไสตล์ของผมก็ชอบใช้คำง่ายๆในลักษณะของกลอนตลาดอย่างแท้จริง นักกลอนใหม่ๆไฟแรงเขียนได้ดีหลายๆคน ก็ขอให้กำลังใจนะ ขอให้มีความสุขสนุกกับการเขียนกลอนโต้ตอบกัน และตั้งกระทู้สนุกๆให้ชาวเราได้ร่วมวงตลอดไปนะครับ ขอบใจคุณไร้นาม ที่เปิดประเด็นสังสรรค์เสวนาขึ้นมาให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อความคุ้นเคยและสนิทสนมเหมือนญาติสนิทมิตรสหาย ด้วยรักสามัคคี เอื้ออาทรห่วงใยกัน ในบ้านกลอนไทยของเราเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยของเราเพื่อเยาวชนรุ่นหลังต่อๆไปนะครับ ลุงไพร พนาวัลย์ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ~ขลุ่ยกันแสง~ ที่ 23 กันยายน 2013, 02:21:AM emo_68 คือ..ผมจะมาสารภาพความในใจนิดหน่อยครับ อายนะเนี่ย! แต่ก็อยาก จะบอกครับ คือ..ผมชอบกลอนของรุ่นพี่ ในบ้านกลอนหลายต่อหลายท่านเลยนะครับ แต่กลอนที่ผมอ่านแล้วรู้สึกชอบมากเป็น พิเศษก็คือกลอนของท่านพี่"ไร้นวม-ไร้รัก" นี่แหละครับ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไมถึงชอบทั้งๆที่อ่านแล้วผมก็เข้าใจบ้าง ไม่ค่อยเข้าใจบ้าง ทุกๆครั้งเมื่อผมอ่านแล้ว ผมอยาก จะเข้าไปต่อกลอนด้วยจัง แต่ก็ไม่กล้าซักทีคือผมรู้สึกว่าถ้าผมไปต่อกลอนของท่านพี่"ไร้นวมฯ" มันคงจะดูไม่จืดแน่..คงเหมือนกับเอาผ้าไหมมาวางคู่กับผ้าขี้ริ้ว หรือเอาทองมาวางคู่กับก้อนกรวดน่ะ ผมอยาก แต่งกลอนให้ได้แบบนั้นจัง ไม่รู้สิ..คือผมรู้สึกว่า กลอนของท่านพี่"ไร้นวมฯ"มันดูสวย-ไพเราะมากครับ ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี่แหละครับ คือเหตุผลที่ผมไม่เคยไปต่อกลอนของท่านพี่"ไร้นวมฯ"เลย ทั้งๆที่ชอบมากๆเลย.. อย่าเข้าใจผมผิดนะครับท่านพี่"ไร้นวมฯ"ว่าทำไม"ขลุ่ยกันแสง"ไม่ไปต่อกลอน ของพี่เลยแต่ไปต่อของคนอื่นได้ คือ..ผมยังด้อยฝีมือ ยังต้องฝึกฝนอีกนานครับ ยังไงก็ขอฝากให้พี่ๆทุกๆท่านช่วยขัดเกลาขลุ่ยเลานี้ด้วยนะครับ ขอให้พี่ๆทุกๆท่าน ช่วยเป็นครูสอนสั่งศิษย์คนนี้ด้วยนะครับ ..ด้วยความเคารพ.. ~ขลุ่ยกันแสง~ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 23 กันยายน 2013, 03:25:AM emo_73...งั้นผู้เป็นน้องก็หมดสิทธิ์ ที่จะสอนสั่งนะ..หมดภาระไปหนึ่งล่ะ emo_30 emo_26 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ~ขลุ่ยกันแสง~ ที่ 23 กันยายน 2013, 03:54:AM emo_126มาก่อนเป็นพี่ มาหลังเป็นน้อง มาพร้อมเป็นเพื่อน..จ้า emo_126 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: Prapacarn ❀ ที่ 23 กันยายน 2013, 04:56:AM emo_95 ท่านขลุ่ย..คารวะพี่แซมบัดเดี๋ยวนี้.... emo_100 ท่านพี่ไร้... เช่นนั้น คารมกลอนของน้องแซมก็ตกป๋อง เป็นแน่ ชิมิคะ emo_79 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 23 กันยายน 2013, 05:10:AM (ถึงท่านขลุ่ยครับ)
-ผมเองก็ไม่ได้แกล้งยอท่านนะครับ แต่กลอนใครที่มีสัมผัสในเยอะๆผมจะชอบครับ และกลอนท่านก็มีสิ่งนี้ ผมจึงดีใจเวลาท่านมาต่อกลอนผมครับ อย่าเปรียบขนาดทองกับผ้าขี้ริ้วเลยครับ ท่านก็ลองไปค้นดูกลอนเก่าๆผม ท่านก็จะเห็นจุดบกพร่องพอสมควร แต่ยังไงก็ตาม หลายๆท่านคงเหมือนผมและคุณลุงไพรครับ คือ บางทีเรามาที่เว็บนี้ เพราะเราต้องการพักผ่อน และการแต่งกลอนและอ่านกลอนมันก็เป็นการพักผ่อนวิธีหนึ่ง ผมเองก็เหมือนกัน และเราก็แต่งๆๆๆๆ ตามแต่เราจะคิดและจินตนาการ เพราะฉะนั้นคำว่ากลอนพาไปจึงเกิดบ่อยมากสำหรับผม แต่ก็พยายามจะคงรูปแบบฉันทลักษณ์ไว้ให้สมบูรณ์ที่สุดครับเพื่อเป็นการอนุรักษ์และบางทีมันมีคนอื่นๆที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเข้ามาอ่าน ถ้าพลาดนิดๆหน่อยๆผมก็จะเขินและรีบแก้ทันทีที่มีคนมาแนะนำครับ emo_85 นี่ผมก็ยังหากลอนที่ผมแต่งไว้แล้วมีจุดแก้ไม่เจอครับ ไม่ใช่ว่าแต่งดีนะ แต่ตอนนี้มันชักจะเยอะ ค้นจนอ้วกเลย ผมจะหากลอนที่ผมพิมพ์ผิด ตอนนี้คิดออกอยู่๒คำครับ คือคำว่า สถิต ผมพิมพ์เป็น สถิตย์ แถมอยู่ในฉันท์ซะด้วย อีกคำคือคำว่า จักรพรรดิ ผมพิมพ์เป็นจักรพรรติ อยู่ในกลอนไหนไม่รู้ -ส่วนประเด็นเรื่องฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ ๑.เรื่องสัมผัสซ้ำระหว่างบาท ผมเคยได้ยินหลายๆท่านเคยcommentไว้ว่า ถ้าจะประกวดเค้าจะเข้มมาก แม้พยัญชนะต่างกันแต่ถ้าเสียงเดียวกันก็ไม่ได้ หรือถ้าพยัญชนะเดียวกันเพียงแต่ต่างวรรณยุกต์ก็ไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ๐จะขู่คร่าความรักผลักลงเหว จะก่อเปลวเพลิงเผาจนเกล้าไหม้ จะขับรถบดเนื้อบ่เหลือไคล ก็ยากไขเข้มเสน่ห์ประเดเดิม (คำว่าไคล กับไข เห็นบางท่านบอก ถ้าคนที่เข้มมากๆอาจถือว่าสัมผัสซ้ำ แต่ผมเองก็แต่งแบบนี้บ่อยครับ emo_85) ๐ฤทธิ์เดชใดใหญ่อย่างพลังรัก จะหาสักสิ่งหนึ่งไม่พึงเห็น รักเร่าร้อนก้อนหิมะละลายเย็น ยามรักเข็ญครางหนาวราวเหมันต์ ๐จึงยกย่องก้องรักประจักษ์แล้ว ว่าคือแก้วกาญจน์เกื้อคอยเอื้อขวัญ ขาดรักไปใจเอ๋ยเอ่ยจาบัล ชีวาตม์บั่นบาดขาดพินาศลงฯ (คำว่าจาบัล และคำว่าชีวาตม์บั่น บางท่านบอกว่าพยัญชนะตัวเดียวกันแต่ต่างวรรณยุกต์ก็ไม่ได้ แต่ผมก็ใช้บ่อย emo_126เพราะกลอนพาไป emo_85) ปล๑.คำว่าจาบัล นี่ผมได้มาจากคุณพันนะครับ เพราะเห็นใช้บ่อย สงสัยติดใจคำนี้แน่เลยคุณพันฯอิอิอิอิ emo_68 emo_126) ปล๒.น้องแซม กลอนน้องแซมน่ะสุดยอดอยู่แล้วครับ ไม่ได้แกล้งยอ เพราะเป็นคนแรกๆที่ผมอยากต่อกลอนด้วยตอนฝึกหัดใหม่ๆ แต่ไม่กล้าเพราะคิดว่าตอนนั้นกลอนยังอ่อนจึงไม่กล้าต่อด้วย(ก็เพราะแซมมาก่อน พี่จึงเหมือนเด็กใหม่ที่เคยอ่านผลงานแซมก่อนที่จะหัดแต่ง) เดี๋ยวนี้ก็ต่อบ้างไม่ต่อบ้างครับ บางทีอ่านแล้วอยากต่อแต่build emotionบ่ได้ emo_26 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: Prapacarn ❀ ที่ 23 กันยายน 2013, 05:40:AM (http://i1.sndcdn.com/artworks-000030660590-ui3j15-crop.jpg?c96936e) ไอ๊ย่ะ... ไม่ต่อ เพราะไม่กล้าต่อนี่เอง.. แซมมัวนึกเสียใจว่า กลอนแซมนี่มันไม่ได้ความซะเลย.. หรือไม่ก็ คงมีคนชังน้ำหน้าแซมเยอะ เพราะแซมมักจะพูดจาแปลกประหลาดไปจากคนที่ไทย.. แต่ตอนนี้ ท่านพี่ก้าวล้ำเกินหน้าแซมไปหลายท่ากระบวน.. แซมขอคารวะค่ะ.. emo_126 emo_126 emo_126 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: D ที่ 23 กันยายน 2013, 10:49:AM ท่านพี่ "ไร้นวม-ไร้รัก^^"เข้าใจผิดแล้ว emo_06 กลอนของ"ดิน"ว้านหวาน ชอบเขียนแต่กลอนหวานหวาน emo_100 ไม่เชื่อลองไปหาอ่านดูดิ ท่านพี่"รพีฯ"เป็นพยานได้ emo_126 emo_85 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ดุลย์ ละมุน ที่ 23 กันยายน 2013, 04:18:PM รสอักษร อ่อนหวาน กว่าตาลเชื่อม แต่ไม่อาจ แอบเอื้อม มาอิงฝัน กามิควร คู่หงส์ ในวงศ์วรรณ อักษรกลั่น กร่อยรส มิงดงาม หมายจรุง ปรุงล้ำ อำมฤต ยิ่งลิขิต ขีดลง เข้าดงหนาม ความอ่อนช้อย พลอยช้ำ เป็นต่ำทราม เพชรอร่าม ร้าวราน ในธารตม อยากนำน้อม กล่อมกานท์ รสหวานใส ฉลุไป แปร่งปร่า เช่นยาขม ขอเพื่อนพ้อง น้องพี่ มาชี้พรม ช่วยเพาะบ่ม เหลี่ยมถ้อย ข้าน้อยที emo_85 ***555อ่านกระทู้แล้ว ขอสนทนาด้วยคนครับ...ผมก็เป็นอีกคนที่มาหัดเขียนกลอน เริ่มครั้งแรกก็ในบ้านกลอนนี่ละครับ (เมื่อก่อนเล่น facebook แต่มีปัญหาเรื่องผู้หญิง เลยหยุด หาอย่างอื่นเล่น โชคดีมาเจอบ้านกลอนพอดี สวรรค์โปรดแท้555) ภูมิความรู้ก็ไม่มี แถมไม่ค่อยศึกษาด้วย เขียนด้วยอารมณ์ล้วนๆ แรกเริ่มเข้ามาเล่น จึงไม่รู้หรอกครับ ว่าตัวเองเขียนผิดถูกประการใด และชอบเขียนแต่กลอนไร้สาระ รักๆใคร่ เท่านั้น แนวอื่นมันไม่มีอารมณ์เขียนจริงๆ .... ผมเห็น หลายท่านคุยกันแล้ว บอกตรงๆ รู้สึกอิจฉา ที่มีท่านนี้ ช่วยสอน,แนะนำท่านนั้น, ท่านนั้น ให้คำปรึกษา ท่านนี้ ... (ผมก็มีนะแต่น้อยมาก จนน่าใจหาย) และช่วงหลังมานี้ ผมก็ไม่ค่อยได้เข้ามาเล่น และอ่านกลอนมากเหมือนเมื่อก่อน(ตอนนี้ไปติดอย่างอื่นอีกหลายอย่าง555) ..... ซึ่งผมเห็นว่า ในบ้านกลอน มีผู้ที่เก่งกาจ เป็นจำนวนมาก ถ้าทุกท่านให้ความกรุณาสั่งสอนผมบ้างก็จักเป็นพระคุณยิ่งครับ (หลังไมค์หรือหน้าบอร์ดก็ได้ครับ) เพื่อผมจะได้พัฒนาสำนวนขึ้นบ้างครับ ปล. รอความเมตตาจากทุกท่านนะครับ ยินดีรับฟังทุกคำสั่งสอน,แนะนำ ครับ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 23 กันยายน 2013, 05:05:PM (ถึงท่านดุลย์ครับ)
ท่านก็คือหนึ่งคนที่ผมส่งข้อความไปหาและสนทนากับท่าน ทำไมรู้ไหมครับ เพราะกลอนท่านพลิ้วมาก ไพเราะมาก เหมือนระดับเทพแต่งชิวๆ ผมก็เลยคิดว่า ๑.ท่านต้องเป็นนักกลอนขั้นเทพมาจากที่ไหนสักแห่งและก็มาเริ่มบรรเลงที่นี่ ๒.ท่านต้องเจ้าชู้(เหมือนผม)แน่นอน เพราะลีลาการตอบกระทู้สาวๆของท่าน มันแพรวพราวจัง(และผมก็เห็นท่านชอบมากกับกระทู้แหย่สาวๆ) แต่ผมแปลกใจและอึ้งมากว่าท่านกับผมอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน(ผมก็ยังเข้าใจว่าพวกเรายังหนุ่มอยู่นะ) ผมถึงคิดว่าท่านสุดยอด เหมือนกับอีกหลายๆคนที่ผมชื่นชมว่ามีพรสวรรค์ขั้นเทพ เช่น คุณfouralism คุณบัณฑิตเมืองสิงห์ คุณหมูดำ คุณศรีเปรื่อง คุณจารุทัศ คุณหมูดำ เป็นต้น ส่วนผมตามความรู้สึกตนเองจริงๆกลับคิดว่าพรสวรรค์น้อย อาศัยขยันมันเลยคล่องมากขึ้น ส่วนที่ผมยกให้เป็นขั้นครู(ขออนุญาตเอ่ยนามนะครับผม)เพราะรวมประสบการณ์ ความสามารถและความไพเราะขั้นเทพแล้ว ผมยกท่านเหล่านี้ครับ ท่านลุงรวี ท่านลุงไพร ท่านดาว ท่านอริญชย์ ท่านอาจารย์พี พูนสุข ท่านอาจารย์กานต์ฑิตา ท่านอาจารย์เพรางาย ท่านพี่กามนิต ท่านอาจารย์พรายม่านฯลฯ(บางท่านก็หายไป บางท่านก็นานๆมาที แต่ดีใจที่อีกหลายต่อหลายท่านอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร--->ไม่ได้ว่าแก่นะครับ แต่อบอุ่น อิอิอิ) ๐อักษรสร้อยช้อยแช่มแจ่มจรัส เพราะพิพัฒน์ผจงจารวิธานศิลป์ ต่างแต้มแต่งแบ่งกระพริบระยิบริน สุคนธ์กลิ่นกลอนหอมจึงพร้อมเพรียง ๐ดรุณรุ่งร่ายร่อนกระท่อนถ้อย ครูครุ่นคอยคุปต์ครองทำนองเสียง พอจะจ่างทางย้อยหยดร้อยเรียง ส่งสำเนียงสยามญาณหว่านโลกาฯ (ใครมาตอบกระทู้นี้ ผมก็ชื่นชมเยินยออย่างเดียวเลย ใครจะหมั่นไส้ผมรึเปล่านะเนี่ย emo_32 emo_45) หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: สายลมสีขาว ที่ 23 กันยายน 2013, 07:04:PM บทกวีสีชมพูเฟื้องฟูรัก
ร้อยสลักถักลายทายทักฝัน บรรจงแต้มแย้มหวานหว่านถึงกัน เป็นการเริ่มงานสังสรรค์บ้านกลอนไทย มีผู้คนมากมายให้คิดถึง หลากอักษรยังคนึง อยู่ไหน? ไหน? อยากจะโต้ประชันบทปลดกลอนใจ จะมีใคร ใครบ้าง มาพูดคุย? หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: รัตนาวดี ที่ 23 กันยายน 2013, 07:30:PM emo_116 ...ขอเข้ารอบ คนแรก จะแปลกไหม อยู่แสนไกล อ่านพิมพ์ ยิ้มแก้มตุ่ย เจอกลอนชอบ ตอบไว ใช่ขี้คุย จำต้องลุย ข้ามฟ้า มาต่อกลอน... ☆ รัตนาวดี ☆ emo_126 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: พยัญเสมอ ที่ 24 กันยายน 2013, 09:20:AM อันกลอนกานท์อ่านเล่นที่เห็นแต่ง ก็มักแหว่งมักขาดและอาจหาย ซึ่งศัพท์แสงถ้อยสมอันคมคาย และความหมายหลายอย่างคิดอ้างอิง ด้วยชอบแต่งแต่คล่องคล้องไว้ก่อน เรียงอักษรเริงสารชำนาญสิง กดแป้นพิมพ์จิ้มก่อนห่อนประวิง คล้ายรีบชิ่งเร็วไวไม่ทันตรอง ผู้อ่านอาจงุนงงสงสัยอยู่ เพราะมิรู้ความหมายก็กลายหมอง ผมแต่งเล่นเรื่อยไปในทำนอง มุ่งคล้องจองเท่านั้นทุกวันไป ส่วนมากแล้วผมไม่ค่อยได้คิดอะไร...ก็แต่งไปเรื่อยๆ...ถ้าจะมีใครสักคนมาบอกว่าแต่งแบบกลอนพาไปก็คงจะใช่ กลอนผมถ้าจะแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราวเป็นสาระคงยาก..... Orion264(มือขวา) ๒๔ กย ๕๖ emo_87 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 24 กันยายน 2013, 10:20:AM ขอสนับสนุนทุกข้อเขียน ครั้งแรกที่ได้เข้ามาจากการชักชวนของเพื่อนๆ
ก็เพียงผ่านเพื่ออ่านสนุกๆตามประสาคนชอบเป็นครั้งคราว มาสะดุดตรง มีการแนะนำความถูกต้องของฉันทลักษณ์ ชี้แนะผิดถูกอย่างไรแก่ผู้ที่ริเริ่มใหม่ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง เข้าทางผมละ เพราะใจอยากจะได้ในส่วนนี้อยู่ด้วย จึงสมัครสมาชิก ฝากตัวเป็นศิษย์ประเดิมด้วยกลอนประตู กลอนหน้าต่างเข้ามา ก็ได้รับคำแนะนำที่หลากหลายดี เริ่มแต่อักษรสูง กลาง ต่ำ มีอย่างไร สัมผัสนอกสัมผัสใน ผิดบ้างถูกบ้าง แนะนำแก้ไข กันมาเรื่อยๆ ตลอดจนการขยายตัวอักษร ใช้สี การวางรูปแบบ ชักสนุกกลางค่ำกลางคืนไม่ต้อง นอนกันละ เขียนมาลงกึ่งส่งตรวจทาน ประเมินว่า คะแนนเต็ม 10 ได้ประมาณ 1 ไม่เกิน 4 ดีใจสุดๆ จากที่ไม่รู้เรื่อง คือศูนย์มาตลอด ยังมีแถมโคลงอีก อันนี้แหละ ที่เกลียดสุดๆสมัยเรียน ก็มากลบท สักวา ฯลฯ เหล่านี้ได้รับมาจากบ้านกลอนทั้งสิ้น และก็ยังรู้ตัวด้วยว่า ยังไปไม่ถึงไหน คะแนนเต็ม 10 ได้ 3 แต่ไม่ถึง 6 ก็ยังต้องศึกษา กันต่อไป ก็รอดูว่าท่านใดมาปล่อยกลเม็ดอะไรไว้อีกบ้าง จะแอบกอบโกยไว้ และอีกอย่าง การเล่นต่อกลอนกัน มันคือการบ้านที่ดีนะ บางครั้ง(หรืออาจหลายครั้ง) พากลอนเขาเสีย ตามประสากลอนพาไป ก็ขออภัย ขออย่าเพิ่งเบื่อหน้าผมกันเสียก่อน พักนี้หายหน้าบ้างอุปสรรค คือ โรคโรคานี่แหละ........ ขอขอบคุณทุกๆท่านครับผม นพ 24ก.ย.56 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 24 กันยายน 2013, 05:29:PM (ถึงท่านมือขวา)
ผมคิดว่ากลอนท่านแปลกแหวกแนวดีครับ ถ้าไม่มีจินตนาการก็คงคิดไม่ได้นะท่าน emo_126 (ถึงท่านพี่นพ) ถ้าจะให้ผมผู้น้องบังอาจแนะนำนั้น ผมจะแนะนำให้ท่านแต่งกลอนขำๆมาเยอะๆ เพราะผมขำมาก ประมาณให้อารมณ์เหมือนพ่อบ้านเมียเผลอประมาณนี้(ขออภัยครับมันเป็นจินตนาการของผม) emo_85 emo_126 ๐กระเห่อกลอนนอนเพ้อละเมอถึง เคียงคำซึ้งซบซิกระริกฝัน สมองเบลอเพ้อพจน์เกิดผดคัน กลางดึกนั้นจึงตื่นมาฟื้นกลอน ๐แล้วก็เกาแก๊กแก๊กแหวกวาทหวิว ย่ามสยิวหยอกยวนกวนอักษร ขอบตาช้ำจ้ำจ่อมไม่ยอมนอน และเมื่อตอนตื่นเช้าหน้าเน่านักฯ emo_19 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 24 กันยายน 2013, 08:25:PM ชมข่าว เรื่องเล่าเช้านี้ สถานีไทยทีวีสีช่อง สาม สพฐ. ยอมรับว่าทุกเขตคาม นักเรียนชั้น ป.สาม หกหมื่นกว่าคน อ่านหนังสือไทยไม่ได้ เขียน ก ไก่ ก กา ยังสับสน อนุบาล ถึง ประถม แสนวิกล จะโทษคน หรือหลักสูตรไม่แน่นอน หลักสูตรเก่า แจกลูก ผสมคำ นำสะกด เด็กท่องจด ตามลำดับ ขับอักษร เริ่มรูปเสียงผัน วรรณยุกต์ ทุกขั้นตอน แจกแจงสอนสุดท้ายความหมายคำพยางค์ เช่น จอ สระอา งอ อ่านว่า จาง จาง เอก จ่าง...จาง จ่าง จ้าง จ๊าง จ๋าง จาง-จืด จ่าง-แจ้ง จ้าง-ให้ทำงาน จ๊าง-ช้าง จ๋าง-จาง ดังตัวอย่าง เคยสอนเด็กหยิบยกมา ฝึกหัดอ่าน เขียน ต่อคำคล้องจอง อาจมีสอง สาม สี่ หรือมากกว่า เช่น ฝนตก-นกบิน ตาคำ-แกทำนา เด็กสนุกสุขหรรษาเรียนวิชาภาษาไทย ................................... สพฐ. - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผมเคยสอนชั้น ป. 2 ทุกกลุ่มประสบการณ์ นาน 26 ปี 5 เดือน ดำเนินการสอนวิชาภาษาไทย ดังกลอนเปล่า(เพิ่งหัด)ข้างบน เด็กขึ้นชั้น ป. 3 อ่านออกเขียนภาษาไทยได้ทุกคน เด็กสะกดคำไ้ด้ย่อมอ่านได้ รู้ความหมายของคำด้วย คำคล้องจองทำให้เรียนสนุก และเป็นพื้นฐานการแต่งกลอน ผมชอบคำศัพท์ของคุณไร้นาม คุณพรายม่าน และอีกหลายท่าน ผมชอบคำแปลของคุณศรีเปรื่อง คุณทูแชร์ และชอบทุกๆท่าน emo_126 ผมใช้เวลาในการอ่านมากกว่าแต่ง และช่วงนี้แทบไม่ว่างเลยครับ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 25 กันยายน 2013, 08:33:AM (ผมมอบให้ท่านลุงนะครับ) emo_126 ๐เศษเสี้ยวแค่นแก่นเกล็ดเมล็ดหนึ่ง กระเทาะพึงเผาะผล็อยพล่อยเป็นผง เถ้าธุลีศรีซังผลุบพังลง กลายเป็นหงส์เหินเหาะเพราะครูพา ๐รดรากแก้วแน่วแน่นไม่แคลนเคลื่อน ผ่านคืนเดือนเด่นจรสซึ่งยศฐา เตาะแตะต้อยค่อยขมังคลังวิชา ก็ครูบาบริบาลประทานธัญ ๐จึงมิเคยคิดค่อนคำสอนศรี ทุกราตรีทิวาไหว้ครูไว้ขวัญ ทรัพย์สินสร้างสล้างเลื่องกระเดื่องพรรณ เพราะครูบรรจงจิตรลิขิตมาฯ จิตร (น.)=การระบายสี, การวาดเขียน (ว.)=งดงาม, สดใส หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: หนามทุเรียน ที่ 25 กันยายน 2013, 12:40:PM เป็นแค่คนสื่อคำสื่อความคิด
มิใช่ดวงอาทิตย์สูงสง่า ฉันทลักษณ์ที่รู้ งูงู ปลาปลา แค่ยึดหลักเขียนว่า มาจากใจ ฉันรักเอกลักษณ์ของคนเขียน มิใช่เปลี่ยนปรับเป็นเช่นใครไหน สำหรับฉันถ้าสื่อความเป็นไทย ไม่ว่าดาวดวงไหน ก็สวยงาม ฉันทลักษณ์แต่งได้ครบไพเราะ หยาดคำเหยาะเห็นภาพชวนวาบหวาม กลอนมิสื่ออารมณ์มิคมความ เมื่อครบตามสองฉบับจึงนับครู (http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_023.gif) (http://www.klonthaiclub.com) ขออภัยถ้าไม่ถูกใจใคร คิดเช่นนี้จริงๆ ต้องครบทั้งสองอย่างค่ะ ขอแสดงความเห็นในฐานะคนอ่านนะ เพราะตัวเองก็ไม่เก่ง บางกลอนถ่ายทอดอารมณ์ดีมาก แต่ผันเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคผิดก็ไม่อยากอ่านกลอนนั้นแล้วค่ะ ฉันใดกลับกันก็ฉันนั้นค่ะ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 25 กันยายน 2013, 01:45:PM ตอบคุณหนามทุเรียนครับ
แหะๆๆๆๆสองข้อที่ท่านว่ามาคือ -แต่งกลอนได้อรรถรส สวยงามลึกซึ้งกินใจ -ฉันทลักษณ์เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ๒ข้อนี้คือความฝันของนักกลอนทุกท่านเลยนะครับ ใครทำได้นอกจากท่านชอบอ่านแล้วเผลอๆอาจจะได้ซีไรต์เลยนะผมว่า มันยากอยู่นา emo_85 เอาเป็นแบบขำๆสนุกๆได้ไหมครับ อิอิอิ emo_20 ๐ฉันทลักษณ์เลิศเลอเสมอปราชญ์ กลอนก็อาจด้อยซึ้งเพราะขึงขาน บทจะแต่งตามแต่แดสราญ ก็คงซ่านเซาะเสียงเฉลียงลาย ๐จะบรรจบครบความอร่ามโรจน์ กลอนคงโชติชัชวาลเฉิดฉันฉาย ฝึกแต่ต้นจนสกนธ์ลนละลาย ยังคลับคล้ายแค่ผิวรอยริ้วรองฯ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: หนามทุเรียน ที่ 25 กันยายน 2013, 03:10:PM ...อืมมมม....ขอพูดถึงข้อ ๒ หน่อยนะ
ถ้าคำว่าฉันทลักษณ์เป๊ะทุกกระเบียดนิ้วนั้นหมายถึงต้องเป๊ะในแบบอย่างที่ข้าพเจ้าเคยได้รับคำแนะนำมา เช่น ต้องแปดคำเป๊ะ สัมผัสในเป๊ะ ห้ามสัมผัสซ้ำ-เลือน วันนี้ข้าพเจ้าคงไม่มีโอกาสได้อ่านผลงานของนักเขียนในดวงใจหลายท่านที่เป็นนักกวีซีไรต์ ซึ่งถ่ายทอดบทกวีได้อย่างมีชีวิตชีวา น่าอัศจรรย์ใจ เต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียรส ฯลฯ ดังนั้น คำว่า ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของข้าพเจ้าจึงอาจแตกต่างจากท่านไร้นวมไปบ้าง แต่ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่า นักกลอนทุกคนมีดวงตาพิเศษ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_023.gif) (http://www.klonthaiclub.com) ถ้าเช่นนั้นท่านไร้นวมจงเร่งสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้อ่านได้ชมเถิด กวีซีไรต์ท่านต่อไปอาจอยู่ตรงหน้าข้าพเจ้าแล้ว หากศรัทธาเธอมีเป็นที่ตั้ง ย่อมฝนทั่งเป็นเข็มได้ ไม่เป็นสอง บทต่อบทต่อคำท่วงทำนอง เธอร้อยกรองอยู่นั่นฉันรอชม emo_12 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: แป้งน้ำ ที่ 25 กันยายน 2013, 03:33:PM . .. แหะๆ . . นึกว่าเถียงไรกัน ที่แท้ก็คุยเรื่องแต่งกลอนกันนี่เอง . .. งั้นแป้งไปหล่ะ . .. ไม่มีความรู้เรื่องฉันทลักษณ์ . .. ถนัดแต่ "ฉันจะรัก" สนใจม๊ะจ๊ะ .. .emo_50 emo_51 (http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_015.gif) (http://www.klonthaiclub.com) หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 25 กันยายน 2013, 04:28:PM เนื่องจากกระผมค่อนข้างว่างงานในวันนี้จึงขอตอบกระทู้ท่านหนามทุเรียน ดังนี้
-ขอบคุณที่มาร่วมเสวนากลอนในกระทู้ที่ผมได้ตั้งขึ้นมาครับ -ในเรื่องฉันทลักษณ์ของกลอนแปดเท่าที่กระผมได้รับการสอนมานั้น ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ คือ -จำนวน๘คำ แต่เราจะอนุโลมนับแปดได้หากมีคำที่มีคำลหุอยู่ด้วย เช่น ที่ผมแต่งข้างบน กลอนคงโชติชัชวาลเฉิดฉันฉาย นับได้เก้าพยางค์ แต่ชัชวาล มีคำลหุหนึ่งคำ ดังนี้ ถือว่าผิดฉันทลักษณ์เป๊ะๆตามที่ว่าไหมครับ(อันนีถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกันนะครับผม หากท่านขุ่นเคืองใดๆก็ขออภัยครับ emo_126) ผมเคยสังเกตกลอนท่านครูสุนทรภู่ หลายต่อหลายจุด และผมก็เกิดสงสัยว่า ท่านสุนทรภู่นั้นระดับครูสอนกลอนเจ้าชายหลายพระองค์ในวัง บางบทบางบาททำไมท่านถึงเลือกลง๙คำ เพราะผมเข้าใจว่าท่านย่อมรู้กฎระเบียบการประพันธ์อย่างดี ผมก็เดาของผมเองว่า เพราะท่านคงวิเคราะห์แล้วว่าแบบนั้นมันไพเราะกว่า เช่น อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน (จากเรื่องพระอภัยมณี) (ผมคิดว่าถ้าแต่งเป็น ก็ไม่คดเหมือนในน้ำใจคนก็ได้นะครับ แต่พอเติมคำว่าหนึ่งลงไป ผมว่ามันเพราะขึ้นนะครับ) หรือ โอ้ธานีศรีอยุธยาเอ๋ย. นึกจะเชยก็ได้ชมสมประสงค์ (จากนิราศเมืองแกลง) ผมว่าท่านตั้งใจใส่คำว่า ศรี และคำว่า ก็ มาใส่นะครับ นับได้๙พยางค์ แต่พอเราตัดสองคำนี้ออก ผมว่าอรรถรสมันด้อยลงนะครับ โดยส่วนตัวผม ผมถือหลักว่า พยายามให้คงแปดคำ(โดยนับคำที่มีคำลหุสองพยางค์เป็นหนึ่งคำรวมอยู่ด้วย) แต่ถ้าบางบทเก้าคำแล้วมันให้อรรถรสดีกว่า ผมก็เห็นว่าเป็น๙ ดีกว่าครับ ในเว็บบ้านกลอน คนที่แต่งไพเราะพลิ้วอีกสองท่านคือ................(ขออนุญาตไม่เอ่ยนามครับ)ผมชอบอ่าน มีหลายครั้งก็ลงเก้าพยางค์ พอผมลองตัดคำที่เกินแปดออก ผมว่ามันเพราะน้อยลงครับ ส่วนเรื่องสัมผัสซ้ำนั้น โดยผมก็พยายามจะไม่ให้มีเลยครับ แต่อย่างว่าแหละครับ บางทีเราเคลิ้มๆเราแต่งแบบที่เราแต่งมันดีกว่ามานั่งเคร่งเครียดดูฉันทลักษณ์ไปทั้งหมด เพราะเราร่วมกันแต่งนี้ก็เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ แต่ะถ้าแต่งสำหรับประกวดก็อีกเรื่องนะครับผม เรื่องวรรณยุกต์ ผมเองก็เห็นด้วยกับท่านหนามฯอย่างยิ่งครับ และผมพยายามไม่ให้ผิดครับ หากท่านใดเห็นว่าผิดก็แนะนำมาได้เลยครับ ผมดีใจและยินดีน้อมรับฟังทุกคำติชมครับ แต่เรื่องซีไรต์อะไรขนาดนั้นก็สงวนสำหรับท่านครูกลอนทั้งหลายเถิดครับ แค่ผมแต่งได้เท่าที่แต่งอยู่นี้ก็ดีใจนักหนาแล้วครับ(ไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าจะแต่งได้แบบนี้) ๐ตั้งใจเจตเกศกรอลออกาพย์ ให้ซึ้งซาบโสภีพจีแจ่ม เผื่อผู้อ่านผ่านมาปรีดาแย้ม ชุ่มชื่นแช่มเช่นฉันอยากบรรจง ๐เพียงเผลอพร่ำซ้ำซากกระชากผัง โปรดอย่าชังช่วยชี้ที่ผิดหลง ดนูน้อยค่อยคล้อยประดอยคง สืบว่านวงศ์ว่าสยามงามกวีฯ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 25 กันยายน 2013, 05:53:PM ขอแชร์ครับ...
ตามความรู้สึกผม 7-8-9 อ่านแล้วก็ได้อรรถรสไม่ต่างกันเลยครับ อย่าง 9 นี่ ตรงกลางจะ 3 ใช่มั้ยครับ... ถ้าเราใส่ คำลหุ คำตาย หรือ คำเอกลงไป 1 คำ เวลาอ่าน...เสียงก็จะกระชับขึ้น...เพราะไม่ต่างจาก 8 เลยครับ เช่น "ก็ไม่คด...เหมือนหนึ่งใน...น้ำใจคน" หนึ่ง เป็น "คำเอก" ศรีเปรื่อง ๒๕ ก.ย. ๒๕๕๖ ปล. ผมไม่ได้อิงตำราใด ๆ เป็นแค่ความรู้สึก เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จะเห็นด้วยหรือไม่ประการใด ก็สุดแล้วแต่ครับ emo_126 emo_126 emo_126 หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 27 กันยายน 2013, 12:55:PM ...ร้อยกรอง เฉกเช่น ดนตรี
เริ่มที่ จังหวะเหมาะ เสนาะเสียง ให้อารมณ์ ขมโศกสุข เพียบเครื่องเคียง ร่ำร้อยเรียง เพียงสบายสบาย คลายเหงากัน ...เพิ่มเกณฑ์กฎ ข้อกำหนด ฝึกสามารถ ชาญฉลาด เฉลียวมี ดีสร้างสรรค์ คำเหมาะสม แข่งข่ม คมประชัน ประเด็นสำคัญ แบบฉบับ ลับฝีมือ ...แต่สิ่งสรรพ์ แวมวับ ไป่แน่นอน รุ่งแล้วรอน ปราชญ์เตือนสอน อย่ายึดถือ หมั่นตรองตรึก ปรึกษา เหมาะดีฤๅ ปรับแต่ง แปงเปลี่ยนคือ วัฒนา เครื่องเคียง น. ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบกับอาหารบางชนิด. ร่ำ ก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสอน; ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้. เพียง ว. เท่า, แค่, เสมอ, เหมือน, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี. ชาญ (มค. ชญฺญ) ว. ชำนาญ, รู้, ว่องไว, คล่องแคล่ว. (พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร) เฉลียว [ฉะเหฺลียว] ก. นึกระแวงขึ้นมา, มีไหวพริบ. คม 1.(ขม.) ก. ก้ม, คำนับ, ไหว้. 2.น. ส่วนบาง, ส่วนแหลมของศัสตราวุธ, ว. เฉียบแหลม; ชัดเจน; ไม่ทื่อ. (พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ นคร) ประชัน ว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน แวม ว. เรืองๆ .(พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ นคร) วับ ว. ดับ, หมด, ลับตาไป (พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ นคร) ไป่ (กลอน) ว. ไม่. รอน ก. บั่น, ตัด, ทอน. (พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ นคร) ตรึกตรอง [ตฺรึกตฺรอง] ก. ใคร่ครวญ, คิดทบทวน, ตริตรอง. ฤๅ [รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม. แปง = สร้าง เช่น "จากชนเผ่าเป็นชนชาติในกระบวนการสร้างบ้านแปงเมือง" - ศรีศักร วัลลิโภดม วัฒนา น. ความเจริญ, ความงอกงาม. ก. เจริญ, งอกงาม. สำหรับผม ชอบแบบสบาย ๆ เพียงแต่ในที่นี้ ก็พยายามให้ถูกกฎเกณฑ์ที่นิยมกันครับ (กลัวถูกหักคะแนน 555) หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: พยัญเสมอ ที่ 28 กันยายน 2013, 09:51:AM ขอแชร์ครับ... ตามความรู้สึกผม 7-8-9 อ่านแล้วก็ได้อรรถรสไม่ต่างกันเลยครับ อย่าง 9 นี่ ตรงกลางจะ 3 ใช่มั้ยครับ... ถ้าเราใส่ คำลหุ คำตาย หรือ คำเอกลงไป 1 คำ เวลาอ่าน...เสียงก็จะกระชับขึ้น...เพราะไม่ต่างจาก 8 เลยครับ เช่น "ก็ไม่คด...เหมือนหนึ่งใน...น้ำใจคน" หนึ่ง เป็น "คำเอก" ศรีเปรื่อง ๒๕ ก.ย. ๒๕๕๖ ปล. ผมไม่ได้อิงตำราใด ๆ เป็นแค่ความรู้สึก เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จะเห็นด้วยหรือไม่ประการใด ก็สุดแล้วแต่ครับ emo_126 emo_126 emo_126 อ่านข้อคิดเห็นของท่านศรีเปรื่องตรงนี้แล้วทำให้ผมนึกไปถึงใครหลายๆคนที่ไม่ค่อยยอมรับการแต่งกลอน ๘ กับกลอน ๙ ปนๆกัน แต่สำหรับผมแล้วผมรู้สึกว่า "กลอนแปดกับกลอนเก้ามันก็เหมือนกับพี่น้องที่คลานตามกันมาถึงจะตัดยังไงก็ตัดไม่ขาด" "แปดกับเก้าเหล่านนี้ล้วนพี่น้อง ย่อมสอดคล้องตามหลักอัครสาร จะเดียจฉันท์ปันแยกเห็นแปลกการ ล้วนวงศ์วานเผ่าพันธุ์วรรณกวี" Orion264(มือขวา) ๒๘กย๕๖ หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: ~ นายใบชา ~ ที่ 28 กันยายน 2013, 05:41:PM (http://farm4.static.flickr.com/3524/3257044979_89c468cf91.jpg) ค ว า ม ง ด ง า ม ข อ ง บ ท ก วี ฉันโลดแล่นได้เต็มที่ ในทุกแดนฝัน (http://flash-mini.com/hi5code/glitter_dookgik/icon_dukdik_206.gif)เห็นโลกแสนมหัศจรรย์ หมุนเปลี่ยนคืนวัน .. ผ่านกาลเวลา (http://www.whenifallinlove.net/diary/images_line/line16/58969.gif) ส อ ด ห ม อ น นุ่ ม อ่ อ น อุ่ น ห นุ น น อ น เป็นทุกความอาทร .. เสน่หา ยามที่คุณหลับตา(http://icon.kidszaa.com/wp-content/uploads/2009/10/icon_4.gif) ก่อเกิดเป็นภาพจินตนา .. เรียกว่ากวี (http://www.whenifallinlove.net/diary/images_line/line16/58969.gif) ทุ ก ค รั้ ง ที่ คุ ณ เ ห ง า ความห่วงใยบางเบา .. รอเธออยู่ตรงนี้ "บ้านกลอน"สังคมดี~ดี(http://kookkaicartoon.files.wordpress.com/2011/08/66.gif?w=120&h=120) เปิดรับทุกท่วงทำนองด้วยไมตรี .. และจริงใจ .. (http://dookdik.kapook.com/upload/whatsnew/42844.gif) (ขออนุญาตแต่งกลอนเปล่านะครับ. ผู้น้อยอ่อนฝีมือ ใช้เพียงอารมณ์ และรอยยิ้มเท่านั้น อนึ่งว่า หากผู้น้อยรดน้ำต้นไม้หน้าบ้านแล้วร้องเพลง ก็หวังเพียงคนที่ซักผ้าอยู่ข้างบ้าน จะได้ยินและยิ้มไปกับผมบ้าง แต่บ้านหลังนี้หลังใหญ่. หากเพียงท่านผ่านมาพบและยิ้มให้. ก็ขอบคุณครับ) หัวข้อ: Re: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 02 ตุลาคม 2013, 02:09:PM ลาร้างรักมิตรพ้อง ห้องเก้า
ก่อนชิดสุขทุกข์เศร้า ผ่านพ้น เวลาผ่านผองเจ้า เคยชิด สนิทเฮย เคยร่วมรักสุขล้น บัดนี้จากไกล ผมได้พบโคลงข้างต้นนี้ จึงได้ขอแสดงความคิดเห็นครับ (และขออนุญาตผู้ประพันธ์เป็นวิทยาทาน ณ ที่นี้ครับ) --------- ขออนุญาต แสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ ชอบ ไม่ชอบ อย่าเคืองกันนะครับ เมื่อเราพูดหรือเขียน ก็ประสงค์จะให้คนอื่นเข้าใจในความคิดของเรา ดังนั้นเราสมควรระวัง "คำบางคำ" ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดในการสื่อสาร เคยร่วมรักสุขล้น ร่วมรัก ความหมาย (ปาก) ก. เสพสังวาส, ร่วมรส หรือ ร่วมรสรัก ก็ว่า. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กันยายน 23, 2013--------- หลังจากแต่งโคลงนี้แล้ว กลับหา web ของโคลงข้างต้นไม่เจอ 555 ....ภาษาพึงสื่อให้...............ถูกความ ควรแก่บุคคลยาม................พูดใช้ ระวัง! คำพลิกผันตาม...........ตำแหน่ง...วางนา เสียงเปลี่ยนความต่างได้........เร่งรู้ตระหนักถึง บุคคล, บุคคล- [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล. (ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล). ขอแบ่งปันครับ ๑ การสลับตำแหน่งคำในร้อยกรองเป็นเรื่องปกติ เช่น สิ่งสรรพ เป็น สรรพสิ่ง แต่พึงระวัง บางครั้งความหมายเปลี่ยนไป เช่น - ดีใจ ก. ยินดี, ชอบใจ, พอใจ. - ใจดี ว. มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ. ๒ การลดคำในกลุ่มคำที่มีความหมายเฉพาะ เช่น - กระทบกระทั่ง ก. แตะต้อง, ทําให้กระเทือนถึง, ทําให้กระเทือนใจ. กระทบทั่ง ผมอ่านพบนานแล้ว จำได้ดีเพราะมีผู้อ่านแซวผู้แต่งว่า "โอ๊ย เลือดสาดเลย" - กระทบ ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, พูดหรือทําให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบปะทะกัน. (ตะเลงพ่าย), หรือว่า ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย). - ทั่ง น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิดเช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ. ๓ ในการประพันธ์เพลงคำร้องไทย เรื่องเสียง สำคัญมาก เช่น - มลาย ขับร้องไม่ดีกลายเป็น ม้าลาย - ช่วยชี้ " " " ช่วยชี 555 หรือ จิตแจ้งแห่งเหตุ ในร้อยกรองฟังดี แต่ - จิตแจ้ง เสียงเป็น เอกโท ไปลงที่ ตัวโน้ตซึ่งเสียงเหมาะเป็น โทเอก ก็ควรสลับตำแหน่งเป็น แจ้งจิต ขอบคุณครับ |