หัวข้อ: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: NongNoo ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 06:50:PM ช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพ ให้หนูหน่อยนะค่ะ
เรื่องเกี่ยวกับ การชมธรรมชาติในโรงเรียน พันธุ์ไม้ต่างๆ ดอกไม้ ต้นไม้ และสมุนไพร ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ ๑ บทค่ะ ขอบคุณมาก ๆ น่ะค่ะ emo_79 emo_79 emo_111 emo_111 หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 07:21:PM คืองานครูส่งให้............แบบเรียน
หวังว่าศิษย์หัดเขียน.......ต่อได้ ตามแบบอย่างพากเพียร...สานต่อ ขอแต่งนำมาให้...........ก่อนนั้นลองดู. หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: panthong.kh ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 07:44:PM emo_116 emo_126 เมื่อวานนี้แต่งให้ น้องไป ครูบอกน้ำนั่นไง ผิดเพี้ยน จึงมาต่อรองให้ เห็นอก น้ำและล้ำดุจเสี้ยน ทิ่มให้เจ็บจัง emo_126 emo_126 ขอความกระจ่างจากผู้รู้คุณครู อาจารย์ที่บ้านกลอนไทยด้วยค่ะ คือได้แต่งโคลงให้น้องไปดมื่อวาน ตามข้างล่าง แต่น้องอ้างว่า ครูผู้สอน. บอกว่า คำว่า น้ำ กับ ล้ำ เป็นคนละ สระกัน คำว่า น้ำ อ่านว่า น้าม ไม่ใช่น้ำ ดิฉันก็เลยแย้งไปว่า คำว่า น้าม แปลว่าอะไร และมีความหมายว่าอะไร เชิญท่านผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างหน่อยค่ะ เพราะคำว่าน้ำหมายถึง ของเหลวเกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนในภาวะที่เหมาะสม หรือความหมายในลักษณะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้อุปโภค บริโภค ชำระล้างร่างกาย ใช้ในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ การผลิตพลังงาน ทรัพยากรน้ำยังเป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นทดแทนอยู่ตลอดเวลาเป็นวัฎจักร แต่คำว่า น้าม หาความหมายไม่เจอค่ะ ด้วยความเคารพ emo_126 emo_126 เชิญชวนชมช่อไม้ โรงเรียน งามเด่นเพราะแวะเวียน รดน้ำ สูงตระหง่านตะเคียน ตะแบก พิศเพ่งแลเลิศล้ำ จึ่งชี้ชวนชม กุหลาบ สีแดงเรื่อ ช่างงามเหลือ เจือเหมาะสม ภู่ผึ้ง คลึงเคล้าดม หวังผสม เกษรนา พิศจ้อง มองกล้วยไม้ ประทับใจ ไร้กังขา พวงย้อย ห้อยลงมา เป็นระย้า ช่างน่ายล ต้นไทร ในสถาน ลูกดกปาน พานร่วงหล่น นกหนู รู้บัดดล รีบจิกกิน บินคืนคอน พลูด่าง ใบบัวบก แก้ช้ำฟก อกหนาวร้อน ลาถิ่น ลิ้นมังกร กระเจี๊ยบอ้อน ไปนอนเกย เข็มนั้น หวั่นใจหลาย เข็มหล่นหาย ตายแล้วเอ่ย งมหาไม่น่าเลย มหาสมุทร สุดลึกล้ำ กวนบัว กลัวน้ำขุ่น รักละมุน ลุ้นยามค่ำ กลิ่นแก้ว แววจดจำ หอมกลิ่นกรุ่น คุ้นเหลือเกิน โป๊ยเซียน เซียนทั้งแปด ส้มแดงแสด แปดเซียนเหิน บานบุรี นี้เพลิดเพลิน เฟื่องฟ้าขาว พราวชมพู เสียดสี ฤดีใส เสียงทิวไผ่ ไล่ลมลู่ เอนกาย ส่ายตาดู มะขามรู้ คู่มะยม กระเพรา เง้างอนขิง ลูกยอนิ่ง ทิ้งความขม อัญชัน กันคิ้วคม ให้ดำขลับ ประทับใจ เชิญชม สมมาดแล้ว ขอลาแจว แววฟ้าใส หันหลัง ยังอาลัย ชมพันธุ์ไม้ ในโรงเรียน พันทอง พี่แต่งใหม่ก็แล้วกันจ้า หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:10:PM ๐มีหลายคำครับที่เข้าใจผิดทำให้เวลาแต่งกลอนจะเพี้ยนสัมผัสได้ คุณพันทองเข้าใจถูกต้องแล้วครับ คำว่าน้ำ สะกดด้วย สระอำ ล้ำ ก็สะกดด้วยสระอำเช่นกันครับ เช่นคำว่า ไม้ สะกดด้วยสระไอ ไม่ใช่สระอาแล้วมีแม่เกยกำกับ เช่น ร้าย หรือคล้าย แต่เวลาอ่านจะอ่านยาวเหมือนๆกัน ผมว่าเรื่องแบบนี้คุณครูทราบอยู่แล้วล่ะครับ ขนาดเราแต่งแบบมือสมัครเล่นยังทราบเลย รอฟังความเห็นท่านอื่นๆดูครับผม emo_126 -เพิ่มเติม ถ้าพิจารณาโดยขั้นที่สูงขึ้นไปอีกคือ เมื่อความถูกต้องของไวยากรณ์ตรงเป๊ะแล้ว มาดูเรื่องความสละสลวยของถ้อยคำที่ใช้ (โดยอาจอิงจากเสียงเวลาอ่านทำนองเสนาะก็ได้). ผมคิดว่าการอ่านคำว่าน้ำกับล้ำ เท่าที่ผมเคยเปิดฟังในเว็บที่อ่านทำนองเสนาะ เสียงไม่เพี้ยนกันมากนะครับ เมื่อกังวลตรงนี้จะเปลี่ยนคำ ที่เป็นสระอำ ไม้โท คำอื่น ได้แก่ กล้ำ ค้ำ จ้ำ ง้ำ ช้ำ ซ้ำ ถ้ำ ป้ำ ย้ำ ห้ำ(หั่น) อ้ำ เพื่อให้ออกเสียงสั้นเหมือนกันก็ต้องไปดูเนื้อความที่แต่งว่าความหมายมันคล้อยตามกันไหม เท่าที่ผมดูคำอื่นๆ ความหมายอาจจะไม่ดีเท่าที่คุณพันทองแต่งด้วยซ้ำ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนทั้งประโยคและดีกว่าเก่า ลำพังเปลี่ยนเพราะเสียงน้ำ กับล้ำ อย่างเดียวนี่ผมเองไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เพราะตัวอย่างการอ่านทำนองเสนาะก็มีให้เห็นบ่อยๆที่อ่านคำว่าน้ำได้ไพเราะ เพราะสระอำ ไม้โท ก็มีแต่คำว่าน้ำเท่านั้น ที่อ่านยาว และคำว่าน้ำจะหาคำไวพจน์ไหนมาแทนที่ลงท้ายด้วยไม้โทนี่ เท่าที่ผมทราบ ไม่มีเลยนะครับ ไม่เหมือนคำว่าผู้หญิงที่ลงท้ายด้วยไม้โท มีตั้งหลายคำ เช่น น้อง, ยอดสร้อย, อ่อนไท้, แน่งน้อย เป็นต้น หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:23:PM มีแบบนี้ด้วยหรือ ไม่เคยทราบมาก่อน ขอรอฟังความเห็นจากทุกท่านด้วย
นพ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ไพร พนาวัลย์ ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:24:PM เรื่องนี้ต้องขอให้คุณ Nongnoo ช่วยนำความเห็นของคุณพันทอง และคุณไร้นาม ไปเรียนให้คุณครูภาษาไทย ขอย้ำ คุณครูภาษาไทยนะครับ ขอเรียนเชิญให้ท่านช่วยอธิบายมาให้ละเอียดหน่อยเถิดว่า คำว่า น้ำ กับล้ำ มันคนละสระได้ยังไงกัน ในเมื่อใช้ สระอำ เหมือนกัน จะได้ช่วยเปิดหูเปิดตาชาวเราที่เข้าใจอย่างนี้ ได้หูตาสว่างกันเสียที งั้นคำว่า ได้ กับ ไป ก็คงคนละสระ และ คำว่า ไม้ กับ ไหม้ ก็คงคนละสระเหมือนกัน ใช่ไหมครับ?? ลุงไพร (อ่านว่า พราย ซะดีมั้ง?) emo_32 หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: panthong.kh ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:39:PM emo_116 emo_126 น้องเขาเคลียร์มาหลังไมค์แล้วจ้า ดังนี้ พี่พันทองค่ะ หนูหมายถึง คำว่าน้ำ อ่านออกเสียงว่าน้าม ค่ะ หนูไม่ได้หมายถึง คำว่า น้าม หนูเข้าใจค่ะว่าคำว่า น้าม นี่ไม่มีความหมาย แต่หนูหมายถึงการออกเสียง และก็คำว่า ล้ำ ก็อ่านออกเสียงว่า ลั้ม อาจารย์จึงยกตัวอย่างมาว่า มันต้องมีเสียง อัม จึงจะฟังไพเราะขึ้น เช่นคำว่าค้ำ ซึ่งอ่านออกเสียงว่า คั้ม ค่ะ เพราะคำว่า น้ำ มันอ่านว่า น้าม ไม่ใช่ นั้ม หนูอธิบายไม่ถูกค่ะ หนูขอโทษน่ะค่ะ หนูไม่ได้อ้างเอง อาจารย์บอกให้หนูเปลี่ยนจริงๆ หนูไม่ได้ต้องการบทใหม่ หนูพยายามแก้เองแล้ว พยายามทำด้วยตัวเองแล้ว หนูขอโทษน่ะค่ะ ขอโทษจริง ๆ ค่ะ และก็ขอบคุณมาก ๆ น่ะค่ะ ที่ช่วยหนู หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:42:PM อืมม....
เป็นเรื่องมุมมองของครูท่านนั้นแล้วล่ะครับ ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเร็วมาก ๆ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา (หลังจากตั้งประเทศตามแนวคิดของชาติตะวันตก) อย่างคำว่า "ข้าว" ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน เมื่อก่อนก็เขียนเป็น "เข้า" แล้วก็ออกเสียงเป็น "เข้า" จริง ๆ ด้วย คำว่า "บรรเทา" เมื่อก่อนก็เขียนเป็น "บันเทา" คำว่า "เป็น" เมื่อก่อนก็ไม่มีไม้ไต่คู้ "เปน" คำว่า "อักโข" ที่แปลว่า "มาก" ก็ทอนรูปมาจาก "อักโขภิณี" คำว่า "พิศดาร" เมื่อก่อนแปลว่า "ละเอียดลออ" เป็นความหมายในทางบวก เดี๋ยวนี้เราก็ใช้กันเกร่อในความหมายทางลบ คือ "แปลก,พิลึก" (จำได้ว่าผมเคยอ่านหนังสือเก่าเล่มหนึ่งมีส่วนของเนื้อความว่า "ตำรานี้ได้อรรถาธิบายความโดยพิศดาร") ฯลฯ ส่วนคำว่า "น้ำ" จริง ๆ เราต้องอ่าน "น้ำ" ตามสระของมัน แต่ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็อ่านเป็นเสียงที่ก้ำกึ่งกันระหว่าง "น้ำ" กับ "น้าม" จริง ๆ นั่นแหละ ครูท่านนั้นคงกลัวว่าเวลาน้องเขาเอาไปขับทำนองเสนาะมันจะหย่อนไพเราะ เพราะมันเสียงสระมันไม่ตรงกันจริง ๆ (มั้ง) (แฮ่ ๆ พยายามมองแง่บวก) emo_20 emo_20 emo_20 หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:47:PM เราเริ่มงอสระอง งงแล้ว น้ำ อ่านว่าน้าม
แต่ ค้ำ อ่านว่า คั้ม แล้วน้ำอ่านว่า นั้มไม่ได้หรือ คและน อักษรต่ำด้วยกันใช้สระอำ วรรณยุกต์โทเมือนกัน ไปทางเสียงเดียวกัน แล้วมาออกเสียงสั้นยาวต่างกันได้ไง หรือว่า ครูสอนไปแนวนั้น แต่เราแต่งให้เขาไปตามแบบของเรา จึงเป็นคนละมุมมองกัน นพ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: panthong.kh ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 08:52:PM emo_116 emo_126 emo_126 นั้นซิคุณนพ คือพัน ก็นำมาให้วิจารณ์ กันดูว่า อันไหนมันผิดมันถูก สระ -ำ แต่ อ่านออกเสียง อาม กับ อัม ไม่ใช่งง อย่างเดียว ขอใช้คำว่า โค-ตะระ งง จ้า GO-GUN-BIG = ไปกันใหญ่ emo_45 emo_45 emo_126 emo_126 หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 09:02:PM เราเริ่มงอสระอง งงแล้ว น้ำ อ่านว่าน้าม แต่ ค้ำ อ่านว่า คั้ม แล้วน้ำอ่านว่า นั้มไม่ได้หรือ คและน อักษรต่ำด้วยกันใช้สระอำ วรรณยุกต์โทเมือนกัน ไปทางเสียงเดียวกัน แล้วมาออกเสียงสั้นยาวต่างกันได้ไง นพ คำว่า "น้ำ" ก็เป็นภาษาที่เกิดการเพี้ยนเสียง เหมือนกับคำว่า "เข้า" ที่โดนเปลี่ยนเป็น "ข้าว" ติดที่ "น้ำ" ยังไม่มีการแก้ไขรูปให้ตรงกับเสียงตามสมัยนิยม ในแง่ของหลักภาษาเรายังอ่านเป็น "นั้ม" ได้ (แต่ออกเสียงเป็น "นั้ม" คนที่ฟังเราเขาอาจจะงงก็ได้นะครับ เพราะสมัยนิยมอ่านเป็น "น้าม" แล้วจริง ๆ) emo_45 emo_45 emo_45 ศรีเปรื่อง หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 09:52:PM เข้ามาอ่านงานคุณพัน โดยละเอียดอีกที ผมว่าคุณพันแต่งให้น้องเขางดงามเกินไปหรือเปล่า?
ครูเขาถึงคาดคั้นให้ปรับปรุงงานให้เป๊ะยิ่งขึ้นไปอีก เพราะในแง่หลักภาษาแล้ว งานคุณพันไม่มีอะไรผิดเลย ศรีเปรื่อง หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: พรายม่าน ที่ 31 กรกฎาคม 2013, 11:45:PM กลับมาอ่านกลอน ก็เจอกรณีเข้าพอดี ผมว่าการศึกษาของเราน่าเป็นห่วงนะครับ โดยเฉพาะครู ถ้าสระ-อำ ให้อ่านออกเสียงเป็นสระ-อา เอาตัวอย่างโคลงของบูรพาจารย์มาให้อ่านประกอบครับ พรายม่าน สันทราย ๓๑ กรกฎ ๕๖ ๏ มหานากฉวากวุ้ง คุ้งคลอง ชุ่มชื่นรื่นรุกขีสอง ฝั่งน้ำ คุกคิดมิศหมายครอง สัจสวาดิ ขาดเอย กล้าตกรกเรื้อซ้ำ โศกทั้งหมางสมรฯ นิราศสุพรรณ สุนทรภู่ ๏ นกแร้งบินได้เพื่อ เวหา หมู่จระเข้เต่าปลา พึ่งน้ำ เข็ญใจพึ่งราชา จอมราช ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ เพื่อน้ำนมแรง ฯ โลกนิติ ๏ หนองบัวบงกชช้อย ชูชวน ชื่นเอย บัวดั่งบัวนุชอวล อ่อนน้ำ กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย ภุมเรศแรมรสกล้ำ กลีบฟ้ายาไฉนฯ นิราศนรินทร์ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 12:26:AM หรืออีกมุมมองหนึ่ง ครูอาจไล่ความผิดถูกจากลูกศิษย์
ว่าเขียนเองหรือเปล่า ให้คำต่างนั้นมา ซึ่งเป็นตำแหน่ง สัมผัส เมื่อไม่สามารถยืนยันให้หนักแน่นได้ แบบว่าลังเล แสดงว่าไม่ได้เขียนเองทั้งหมด ประมาณนี้.....นพ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: พี.พูนสุข ที่ 01 สิงหาคม 2013, 12:40:AM ข้อใดออกเสียงสระยาวทุกคำ ๑. น้ำตาแสงใต้ ๒. ลำน้ำโขงเชี่ยว ๓. คำนำเรื่องข้าว ๔. จำนงจำหน่าย (แนวข้อสอบ ไทย กข ปี ๒๕๓๑) พรุ่งนี้เฉลยค่ะ พี.พูนสุข หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 01:04:AM ข้อ 1 ครับ (สงสัยผิดคนแรกเลยนี่)
มาตอบกันช้าจัง เลยไม่รู้จะลอกใคร นพ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 01:45:AM ๐ตอบ ก.ไก่ว่าน้ำ ก็ยาว ตากระผมคู่ขาว บ่สั้น แสงที่ส่องพร่างพราว ไกลโน่น นภานา ใต้ล่องแต่ละคราวนั้น เหงือกแห้งกระหาย ๐ข.ไข่โขงเชี่ยวขั้น ขยาดยล ยาวแค่ช่วงข้างบน เขื่อนกั้น ลำโขงจึ่งบ่วน ยาวดอก เหมาะกับคำว่าสั้น เช่นให้เหตุผล ๐ค้นข่าวข้นเรื่องข้าว บ่ยาว ดอกเดอ เขาลบกลบเรื่องราว แทบสิ้น ข่าวน้ำท่วมเมื่อคราว พายุ เข้าเนอ จึงจักยาวด่าวดิ้น มิคล้ายค. ควาย ๐จำนงจำหน่ายล้วน แพงหลาย จะผ่อนยาวก็ผาย หัตถ์ห้าม ราคาค่าเช่าขาย แพงลิ่ว ย่อมเร่งจำนงคร้าม รีบคว้า ง.เงินฯ (คนขายชื่อจำนงคร้าบบ รับเฉพาะง.เงิน จึงไม่ตอบง. งู) emo_85 (ผมจึงตอบตามท่านนพว่า ก.ไก่ ตามเหตุผลที่ยกมา) *อะ อ้าวฉันทลักษณ์ผิดซะงั้น ง่วงแล้วมั้ง โชคดีที่ใครยังไม่มาเห็น emo_26 **(ขออนุญาตแซวคำถามท่านอาจารย์นะครับผม) emo_126 หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: บัณฑิตเมืองสิงห์ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 02:49:AM ข้อ ๑ น่าจะถูกที่สุด แต่ผมมีข้อสงสัยครับ
ถ้าเราใช้ 'น้ำ' ในคำประสม จะออกเสียงได้ ๒ อย่าง (ไม่รู้ว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่านะครับ) น้ำ - แม่น้ำ ห้องน้ำ สีน้ำ ฯลฯ เวลาออกเสียง 'น้ำ' โดดๆ หรือ อยู่ข้างหลัง คนมักออกเสียงยาว เช่น แม่น้าม ห้องน้าม สีน้าม น้ำ - น้ำมัน น้ำลาย น้ำใจ พอน้อง 'น้ำ' ย้ายมาอยู่ข้างหน้า เวลาออกเสียงจริงๆ เหมือนเรากร่อนเสียงนิดนึง เช่น นั้มมัน นั้มลาย นั้มใจ สระเสียงสั้นออกเสียงยาวคำอื่นๆ เช่น ไม้ ก็เหมือนกัน ต้นไม้ - ต้นม้าย โต๊ะไม้ - โต๊ะม้าย ไม้เรียว - มั้ยเรียว ไม้กวาด - มั้ยกวาด เลยสงสัยว่าหากเป็นเช่นนี้แล้ว 'น้ำตา' ข้อที่ ๑ ก็ไม่น่าจะถูกเหมือนกัน มารอเก็บความรู้ครับ แต่เรื่องสัมผัส 'น้ำ' และ 'ล้ำ' ผมมองว่าถูกแล้วครับ ตามฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ ตำแหน่งนั้นบังคับใช้สัมผัสสระ+เสียงวรรณยุกต์โท ซึ่งก็ถูกต้องตามฉันทลักษณ์แล้ว หรือว่ามีตำราบอกให้ใช้สัมผัสเสียง ผมจะได้จำเสียใหม่ อิอิ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 09:03:AM ข้อสอบ ปี ๓๑ เมื่อ ๒๕ ปีก่อน ถ้าเป็นนักเรียนมัธยมปลายรุ่นนั้น ก็คงจะตอบ ก.ไก่ อย่างไม่ลังเล
ถึงร้องเพลงน้ำตาแสงใต้ไม่ได้ ก็น่าจะคุ้นหูกับวรรคแรกที่ว่า “น้ามตาแสงใต้” กันแทบทุกคน หากเป็นปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่โจทย์ข้อนี้จะกลายเป็นโจทก์กล่าวถึงในสื่อออนไลน์ เพราะถ้าถือหลักโครงสร้างพยางค์ของคำ ก็จะแยกเสียงหนักเบาออกมาตามที่คุณบัณฑิตยกตัวอย่างคำในภาษาพูดมาแสดง ทำให้กล่าวได้ว่าตัวเลือกของโจทย์นี้ผิดทุกข้อ อยากเพิ่มเติมเรื่องที่คุณศรีเปรื่องบอกว่า ภาษาไทยเปลี่ยนเร็ว คำยืมสมัยใหม่ ที่สะกดด้วย ล คนร่วมสมัย ออกเสียงต่างกันชัดเจน ข้างซ้ายรุ่นพ่อ ข้างขวารุ่นลูก ฟุตบอล อ่านว่า ฟุด-บอน ฟุด-บอว บราซิล อ่านว่า บรา-ซิน บรา-ซิว ดีเซล อ่านว่า ดี-เซน ดี-เซว เซนทรัล อ่านว่า เซ็น-ทรัน เซ็น-ทรัว ไม่อยากบอกเลยว่า ผมออกเสียงข้างซ้ายหรือขวา เฮอะ ผมของสรุปความคิดเรื่องคำรับส่งสัมผัสในโคลงโคลงสี่สุภาพที่ได้พูดคุยกันอย่างนี้นะครับ เพื่อเป็นประโยชน์ในการอภิปรายต่อไป หากผิดพลาดประการใดช่วยทักท้วงด้วย ๑.ข้อบังคับเสียง ๒.ข้อบังคับรูป อนุโลมเสียง ๓.หลักอ่านทำนองเสนาะ แค่นี้ก่อนครับ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: Prapacarn ❀ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 09:18:AM อยากเพิ่มเติมเรื่องที่คุณศรีเปรื่องบอกว่า ภาษาไทยเปลี่ยนเร็ว คำยืมสมัยใหม่ ที่สะกดด้วย ล คนร่วมสมัย ออกเสียงต่างกันชัดเจน ข้างซ้ายรุ่นพ่อ ข้างขวารุ่นลูก ฟุตบอล อ่านว่า ฟุด-บอน ฟุด-บอว บราซิล อ่านว่า บรา-ซิน บรา-ซิว ดีเซล อ่านว่า ดี-เซน ดี-เซว เซนทรัล อ่านว่า เซ็น-ทรัน เซ็น-ทรัว ไม่อยากบอกเลยว่า ผมออกเสียงข้างซ้ายหรือขวา เฮอะ ถ้าเป็นแซมนะคะ... พูดกับคนไทย แซมออกเสียงข้างซ้าย.. พูดกับคนฝรั่ง ก็ออกเสียงข้างขวา แต่สรุปแล้ว.. แซมก็เหน่อทั้งสองฝั่งค่ะ.. emo_26 emo_126 emo_126 emo_126 หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 09:57:AM มีอีกหลายคำนะครับ คือคำว่า "ชั่ง" กับ "ช่าง" "ไม้" กับ "ละม้าย" "ได้" กับ "ด้าย" การเปลี่ยนรูปแบบทั้งการออกเสียงและการเขียนน่ะ ใครสามารถออกกฎระเบียบตรงนี้ได้ครับ ราชบัณฑิตยสถานรึเปล่าครับ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: พี.พูนสุข ที่ 01 สิงหาคม 2013, 10:01:AM ข้อใดออกเสียงสระยาวทุกคำ ๑. น้ำตาแสงใต้ ๒. ลำน้ำโขงเชี่ยว ๓. คำนำเรื่องข้าว ๔. จำนงจำหน่าย (แนวข้อสอบ ไทย กข ปี ๒๕๓๑) คุณนพ คุณไร้นวม-ไร้หนาม คุณบัณทิตเมืองสิงห์ ตอบ ข้อ ๑ เหมือนกัน (ดูจากกล้องวงจรปิดแล้ว จับพิรุธไม่ได้) ถูกต้องค่ะ คอยรับคะแนนเก็บนะคะ เฉลยค่ะ ข้อ ๑ น้ำ ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/ (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน รูป เสียงสั้น /อะ/ ) ตา ออกเสียงยาว /อา/ (รูปและเสียงตรงกัน) แสง ออกเสียงยาว /แอ/ (รูปและเสียงตรงกัน) ใต้ ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ย/ (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน รูป ออกเสียงสั้น /อะ/ ) ข้อ ๑ จึงถูกต้อง นักเรียนเก่งจัง ข้อ ๒ ลำ ออกเสียงสั้น /อะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/ (รูปกับเสียงตรงกัน) น้ำ ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/ (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน รูป เสียงสั้น /อะ/ ) โขง ออกเสียงยาว /โอ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/ (รูปกับเสียงตรงกัน) เชี่ยว ออกเสียงสั้น /เอียะ/ มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ ถ้าคำ เชียว ออกเสียง /เอีย/ ออกเสียงยาว ** รูปวรรณยุกต์กำกับ ทำให้เสียงสระในบางคำเปลี่ยนได้ เช่น รอง ออกเสียงยาว /ออ/ , ร่อง ออกเสียงสั้น / เอาะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/ ปอง ออกเสียงยาว /ออ/ , ป้อง ออกเสียงสั้น / เอาะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/ ข้อ ๓ คำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) นำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) เรื่อง ออกเสียงสั้น /เอือะ/ มีววรรณยุกต์เอกกำกับ ข้าว ออกเสียงยาว /อา/ มีพยัญชนะสะกด /ว/ (รูปกับเสียงตรงกัน) ข้อ ๔ จำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) นง ออกเสียงสั้น /โอะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) จำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) หน่าย ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ย/ (รูปกับเสียงตรงกัน) ........................ ข้อสอบข้อนี้ เกี่ยวกับ เสียงสระในภาษาไทย ครูภาษาไทยยุคเก่า (ครูพี) และครูภาษาไทยยุคใหม่(???) ต้องสอนไวยากรณ์เก่าเหมือนเดิม แต่ตัวอย่างคำเกิดขึ้นใหม่ไม่สิ้นสุด อาจจะมีไวยากรณ์ใหม่เพิ่มก็เป็นได้ ต้องเตรียมรับมือกับข้อสอบโอเน็ตให้ดี วกกลับมาเรื่องที่กำลังถกกันอยู่ค่ะ แหะ ๆ กินข้าวก่อนนะคะ... ถ้ามีข้อความใดคลาดเคลื่อน แนะนำด้วยค่ะ พี.พูนสุข หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 01 สิงหาคม 2013, 10:44:AM ในมุมมองผม ซึ่งไม่ได้เรียนด้าน ภาษา เป็นหลัก แต่ได้มีประสบการณ์ไปทั่วไทย
และว่าตามประวัติศาสตร์ที่ได้อ่านพบมาทั้งภาษาไทย และอังกฤษ ขอยืนยันว่า ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละชุมชน เขายึดเสียงเป็นหลัก ยิ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนขีดเขียนหนังสือ เสียงเป็นหลักสำคัญที่หล่อหลอมชุมชน แต่คนเราทุกเผ่าพันธุ์มีดนตรีในหัวใจ จึงมีการเคาะจังหวะ แล้วจึงตามมาด้วยท่วงทำนอง เกิดเป็นบทเพลง แล้วจึงมีการขีดเขียน มีร้อยกรองคำประพันธ์ที่มีรูปแบบซับซ้อนตามมา (การจดจารเป็นวัฒนธรรมชนชั้นปกครอง ได้สร้างภาษาให้เข้าถึงยาก เทียบได้ระหว่าง บาลี กับ สันสกฤต ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว" ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ จากวิกิพีเดีย) การใช้เสียงนั้น ผู้ใช้ก็จะเน้นความเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่พวกเขาพบเจอ คุ้นเคย การออกเสียง สั้นยาว หนักเบา จึงเกิดขึ้นตามอารมณ์ความรู้สึกขณะพูดเป็นสำคัญ เมื่อผมได้พบครูเพลงตามภาคต่างๆ หรือแวดวงขับร้องในศาสนาคริสต์ พบว่ามีลักษณะเหมือน ๆ กัน คือ ในคำ คำเดิมนั้น ๆ จะออกเสียง สั้นยาว หนักเบา ให้ไพเราะลื่นไหลเป็นสำคัญ ไม่มีเกณฑ์ตายตัว เน้นให้ฟังเพราะ เข้าใจกันได้ (เกิดการเอื้อนเสียงขึ้นในการขับร้องเพลง คงไม่มีครูเพลงคนใดให้ศิษย์ร้อง "คนเรารักกันยาก" ตามโน้ต ซึ่ง "ยาก" จะกลายเป็น "อยาก" 555) สรุป น้ำ ใช้ได้แน่นอน (จะอ่านแบบใด ก็มุ่งให้สื่อสารเข้าใจกันได้ และฟังไพเราะ) ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: ศรีเปรื่อง ที่ 01 สิงหาคม 2013, 10:59:AM ขอบคุณน้องเจ้าของกระทู้ คุณพัน และทุก ๆ ท่านที่มาร่วมแลกเปลี่ยนกัน
สุดยอด emo_45 emo_45 emo_45 ผมได้ความรู้อีกเป็นกะละมังเลย ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับแนวคิดของท่าน Toshare มาก ๆ และผมก็รับได้ด้วย หากจะใช้สระเสียงสั้นกับยาวมาสัมผัสกัน เช่น ใจ กับ คลาย เพราะเวลาเราขับทำนองเสนาะหรือร้องเป็นเพลง เราสามารถปรับความสั้นยาวของเสียงให้ใกล้เคียงกันได้ แต่...คงต้องเอาไว้ดูไว้อ่านคนเดียว emo_20 ไปให้ครูหรือคนอื่น ๆ ดู...มีหวังโดนถล่มเละแน่ ๆ emo_68 emo_68 ศรีเปรื่อง หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 01 สิงหาคม 2013, 11:17:AM ขอเล่าเรื่องขำ ๆ เกี่ยวกับ เสียง อีกเรื่องนะครับ
ผมมีเพื่อนพุทธหลายคนที่ชอบฟังเพลงประสานเสียง เขาจึงมักไปโบสถ์ด้วย วันหนึ่ง หลังเลิกพิธี มีคนหนึ่งถามว่า นี่ ๆ ศาสนาเธอมีแต่แพะ ๆ แกะ ๆ ไม่ใช่หรือ ผมก็ตอบว่าใช่ แล้วมีปัญหาอะไร เขาตอบว่า แล้วทำไมมี "ม้าลาย" ด้วย ผมก็ว่า ไม่มีแน่ ๆ เขาว่าแล้วเพลงสุดท้ายทำไมมี ผมล่ะงงไปเลย ต้องเข้าไปเปิดหนังสือเพลง 555 เนื้อเพลงมีว่า "มิทรงช่วยต้องม้วยมลาย" แต่ลูกหลานเขาไปเคร่งที่ตัวโน้ตมากเกินไป ร้องตามโน้ตจึงเป็นเรื่อง 555 เวลาผมสอนเพลงนี้ จะให้เขา ลดโน้ต "มะ" ลง แล้วไปเพิ่มที่ "ลาย" เพื่อให้ฟังได้เป็น "มลาย" นี่คงเป็นอีกตัวอย่างขำ ๆ เรื่อง "สั้นยาว" ของเสียงอ่าน 555 ==== แฮะ ๆ เจอประเด็นคุณศรีเปรื่อง "ต้องเอาไว้ดูไว้อ่านคนเดียว" เลยต้องขอเพิ่มเติม ไม่ต้องดูต้องอ่านคนเดียวดอกครับ 555 (ดอก ภาษาเขียนแบบ สูงวัย 555 ภาษาพูดเขาก็ว่า "หรอก" กันทั้งนั้น) กรณีที่ผมยกมา ถ้าครูสอนขับร้องเพลงคนใด สอนให้ร้องตามโน้ต ผมยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ไม่ยอมเด็ดขาด เหมือนศิษย์ครูเอื้อ ผมไม่เคยได้ยินใครร้อง "รักกันอยาก" เลย ครูเอื้อท่านก็คงไม่ยอมแน่ ๆ 555 สรุปคนเป็น ครู ควรมีความเข้าใจโลก เข้าใจชีวิตให้ดี ๆ ไม่ใช่แต่กอดตำรา อย่างที่เรามีปัญหาด้านการศึกษา ผมว่าก็เป็นทำนองนี้แหละครับ "ติดยึด" เกินไป หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: สมนึก นพ ที่ 01 สิงหาคม 2013, 11:41:AM *เชิญชวนชมช่อไม้ โรงเรียน งามเด่นเพราะแวะเวียน รดน้ำ สูงตระหง่านตะเคียน ตะแบก พิศเพ่งแลเลิศล้ำ จึ่งชี้ชวนชม* ประเด็น..โคลงบทนี้ สัมผัส น้ำ กับ ล้ำ ผิดหรือถูก เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป นพ หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: พี.พูนสุข ที่ 01 สิงหาคม 2013, 12:33:PM *เชิญชวนชมช่อไม้ โรงเรียน
งามเด่นเพราะแวะเวียน รดน้ำ สูงตระหง่านตะเคียน ตะแบก พิศเพ่งแลเลิศล้ำ จึ่งชี้ชวนชม* พันทอง พี่ว่า.. น้องพันแต่งโคลงบทนี้ได้ถูกต้องแล้ว โดยยึดแบบบรรพกวี ตามที่คุณพรายม่านยกตัวอย่าง หรือแม้แต่กวีกวีรัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็ใช้ค่ะ ๑.ล่องสะเปาเข้าติด ตามโคม โสมส่องคันฉ่องโฉม ฉาบน้ำ ผางประทีปประยิบโลม ลอยพักตร์ ลอยปะอุระช้ำ ช่วยรู้ใจประสงค์ ("ลอยกระทง" - คำหยาด) ๒. เดือนลอยขึ้นทิวฟ้าขึ้นมาแล้ว ประกายแพรวพราวระยับจับกระแส ไกลแสนไกลในสายหมอกระลอกแร เรืองร่างแหหิ่งห้อยพร้อยไม้น้ำ ในดงดึกลึกเร้นเห็นทิวเขา เป็นเงาเงางำทับชระอับอ่ำ หมู่ยางยูงยืนซึมอยู่ครึ้มคล้ำ ยะเยียบฉ่ำเฉียบหนาวอยู่ราวไพร ("คืนหนึ่งในแควน้อย" - คำหยาด) อีกบทหนึ่ง ของ อังคาร จันทาทิพย์ (กวี รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ปี ๒๕๕๔) จากเรื่อง นาค : ตำนานแม่น้ำโขงอีกร้อยปีถัดไป... จากฟ้าสูงต้นสาย สุดปลายน้ำ การค้างำครอบเงื่อนไขไม่หยุดหย่อน ทุนสะเทือนเคลื่อนฐานรุกธารสะท้อน ความยอกย้อนแผ่ขยายทลายทะลวง ตัวอย่างข้างต้นนี้ พอจะตัดสินไดัหรือไม่ว่า.. ใช้คำว่า น้ำ ส่งสัมผัส และรับสัมผัสด้วยคำว่า ล้ำ emo_126 พี. พูนสุข หัวข้อ: Re: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ เริ่มหัวข้อโดย: panthong.kh ที่ 01 สิงหาคม 2013, 02:34:PM *เชิญชวนชมช่อไม้ โรงเรียน งามเด่นเพราะแวะเวียน รดน้ำ สูงตระหง่านตะเคียน ตะแบก พิศเพ่งแลเลิศล้ำ จึ่งชี้ชวนชม* พันทอง พี่ว่า.. น้องพันแต่งโคลงบทนี้ได้ถูกต้องแล้ว โดยยึดแบบบรรพกวี ตามที่คุณพรายม่านยกตัวอย่าง หรือแม้แต่กวีกวีรัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็ใช้ค่ะ ๑.ล่องสะเปาเข้าติด ตามโคม โสมส่องคันฉ่องโฉม ฉาบน้ำ ผางประทีปประยิบโลม ลอยพักตร์ ลอยปะอุระช้ำ ช่วยรู้ใจประสงค์ ("ลอยกระทง" - คำหยาด) ๒. เดือนลอยขึ้นทิวฟ้าขึ้นมาแล้ว ประกายแพรวพราวระยับจับกระแส ไกลแสนไกลในสายหมอกระลอกแร เรืองร่างแหหิ่งห้อยพร้อยไม้น้ำ ในดงดึกลึกเร้นเห็นทิวเขา เป็นเงาเงางำทับชระอับอ่ำ หมู่ยางยูงยืนซึมอยู่ครึ้มคล้ำ ยะเยียบฉ่ำเฉียบหนาวอยู่ราวไพร ("คืนหนึ่งในแควน้อย" คำหยาด) อีกบทหนึ่ง ของ อังคาร จันทาทิพย์ (กวี รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ปี ๒๕๕๔) จากเรื่อง นาค : ตำนานแม่น้ำโขงอีกร้อยปีถัดไป... จากฟ้าสูงต้นสาย สุดปลายน้ำ การค้างำครอบเงื่อนไขไม่หยุดหย่อน ทุนสะเทือนเคลื่อนฐานรุกธารสะท้อน ความยอกย้อนแผ่ขยายทลายทะลวง ตัวอย่างข้างต้นนี้ พอจะตัดสินไดัหรือไม่ว่า.. ใช้คำว่า น้ำ ส่งสัมผัส และรับสัมผัสด้วยคำว่า ล้ำ emo_126 พี. พูนสุข emo_116 emo_126 emo_116 สรุปว่า โคลงที่พันแต่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ในฐานะที่เป็นผู้เปิดประเด็น ขอขอบพระคุณ อาจารย์ คุณครู คุณหมอ คุณตำรวจ และอีกหลายๆ ท่าน ที่ไม่ทราบอาชีพ ที่เข้ามาให้ความรู้ ความกระจ่าง ที่นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับท่านที่ไม่ทราบ ส่วนท่านที่ทราบอยู่แล้ว ก็ได้ทราบมากขึ้นไปอีก โดยส่วนตัวแล้ว พันถือว่าทุกท่านเป็นครูเป็นอาจารย์ของพันทุกๆ ท่านถึงแม้บางท่านอาจจะอายุน้อยกว่า แต่ถ้าสามารถให้ความรู้เราได้ สอนเราได้ ก็ถือว่าเป็นครูเหมือนกันจ้า ดังนั้นจึงขอปิดประเด็นไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงค่ะ พันทอง emo_116 emo_126 emo_116 |