พิมพ์หน้านี้ - โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

จิปาถะ => ห้องนั่งเล่น => ข้อความที่เริ่มโดย: พิมพ์วาส ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 02:25:PM



หัวข้อ: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: พิมพ์วาส ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 02:25:PM
ด้วยว่าเขียนเรื่องเล่นๆอยู่ เรื่องหนึ่งค่ะ เรื่องนี้หมายมาดว่าจะให้จบค่ะ
ส่วนตัวกลัวข้อมูลไม่แน่นเลยอยากจะถามสักหน่อยค่ะ

ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๘ นั้น
เขาเรียกปฏิทินว่าอย่างไรคะ ส่วนตัวรู้สึกสับสนกับการเรียกปฏิทินสมัยราชการที่ ๕ เล็กน้อย

พอทราบไหมคะว่า สมัยรัชกาลที่ ๗ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๘ นั้น
ข้าราชการครู, อาจารย์ นั้น หยุดวันอะไรบ้างคะ (วันเสาร์-อาทิตย์ และวันสำคัญต่างๆหรือเปล่าคะ?)

ได้โปรดเถิดค่ะ ... ช่วยตอบทีเถิดค่ะ น้องติดขัดเหลือเกิน


ว้า~ ของคุณลุงปรางค์ค่ะ วันนี้เขียนอะไรหลายอย่างเรื่อยเปื่อย
เลยปล่อยไก่วิ่งเล่น สองสามตัวแล้วสิคะ
  emo_85

ขอบพระคุณ คุณครูกะปูค่ะ  emo_126

กราบขอบพระคุณคุณกานต์ค่ะ คราวนี้ก็เหลือข้อสงสัยอีกข้อเดียว
ขอบพระคุณทุกท่านมากค่ะ
  emo_89

ขอบคุณ คุณช้อยค่ะ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม (อ่านนามผิดอย่าไรต้องขออภัยจริงเชียวค่ะ)  emo_85

ขอบพระคุณ พี่สุวรรณค่ะ หนูแถไปจนได้เรื่องเมื่อวานแล้วค่ะ
ขอบพระคุณมากจริงๆค่ะ
  emo_60


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 06:43:PM

๐ถามความรู้ขั้นครู,ผู้น้อยหนาว
ด้วยเรื่องราวเหล่านั้นมันเก่าเหลือ
เขียนเล่นเล่นประเด็นไหนนัยคลุมเคลือ
ก็บ่เบื่ออ่านดอกอย่าชอกใจ

๐เขียนมาสิสักความตามที่แต่ง
พี่มิแคลงคลายความหรือหยามใส่
เพียงที่กล่าวก็เกินสะเทิ้นวัย
คนอะไรแหมเก่งประเลงล้ำ emo_54


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: พิมพ์วาส ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 08:05:PM


๐ถามความรู้ขั้นครู,ผู้น้อยหนาว
ด้วยเรื่องราวเหล่านั้นมันเก่าเหลือ
เขียนเล่นเล่นประเด็นไหนนัยคลุมเคลือ
ก็บ่เบื่ออ่านดอกอย่าชอกใจ

๐เขียนมาสิสักความตามที่แต่ง
พี่มิแคลงคลายความหรือหยามใส่
เพียงที่กล่าวก็เกินสะเทิ้นวัย
คนอะไรแหมเก่งประเลงล้ำ emo_54


ถามว่าเพียรเขียนเล่นประเด็นไหน
เขียนแบบไทยพิรามดูงามขำ
บอกว่าอ่านงานแล้วเพริศแพร้วคำ
ยิ้มบานฉ่ำขอบคุณในสุนทร

บอกเขียนมาสักความตามที่แต่ง
น้องกลัวแหนงหน่ายหนักเหนื่อยหนีก่อน
หากชมน้องว่าเก่งเกินวัยจร
เปล่าดอกย้อนว่าฝึกศึกษาดู


นะคะ

ให้อ่านตอนที่ ๑ เพียงเท่านั้นค่ะ (ตามคำขอจากกลอน) ที่ให้อ่านเพียง ตอนแรกเพราะ
กลัวจะรับไม่ได้ เพราะเขียนแนวแตกต่างจากนิยายทั่วไปค่ะ

http://my.dek-d.com/pimwat/writer/viewlongc.php?id=952197&chapter=1 (http://my.dek-d.com/pimwat/writer/viewlongc.php?id=952197&chapter=1)



หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: ไพร พนาวัลย์ ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 08:25:PM

ด้วยว่าเขียนเรื่องเล่นๆอยู่ เรื่องหนึ่งค่ะ เรื่องนี้หมายมาดว่าจะให้จบค่ะ
ส่วนตัวกลัวข้อมูลไม่แน่นเลยอยากจะถามสักหน่อยค่ะ

ในสมัยราชการที่ ๗ ถึงสมัยราชการที่ ๘ นั้น
เขาเรียกปฏิทินว่าอย่างไรคะ ส่วนตัวรู้สึกสับสนกับการเรียกปฏิทินสมัยราชการที่ ๕ เล็กน้อย

พอทราบไหมคะว่า สมัยราชการที่ ๗ ถึงสมัยราชการที่ ๘ นั้น
ข้าราชการครู, อาจารย์ นั้น หยุดวันอะไรบ้างคะ (วันเสาร์-อาทิตย์ และวันสำคัญต่างๆหรือเปล่าคะ?)

ได้โปรดเถิดค่ะ ... ช่วยตอบทีเถิดค่ะ น้องติดขัดเหลือเกิน




พิมวาสเอ๋ย ลุงก็ไม่ทราบที่หลานถามเหมือนกัน

แต่คำว่าสมัยราชการที่๗ สมัยราชการที่๘ ที่หลานถามมานั้น  emo_40

ลุงก็เพิ่งเห็นนี่แหละ ลุงเคยเห็นแต่คำว่า รัชกาลที่๑ -๒-๓-๔...ถึงรัชกาลที่๙

ก็ใช้คำว่า รัชกาล....ทั้งนั้นเลยนะ

ลุงอาจจะเรียนน้อยไปหน่อยจึงไม่เห็นคำเหล่านี้

ลุงไพร


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: พี.พูนสุข ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 08:28:PM
  ตอบหนูพิมพ์ค่ะ

               ข้อ ๑   คุณพ่อคุณแม่ของครู ท่านมีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๗ - รัชกาลที่ ๙ ค่ะ ท่านทั้งสองถึงแก่กรรมไปนานแล้ว
  ครูจำได้ว่า ท่านเรียกปฏิทินว่า "กะลั่นเด้อ" สำเนียงอีสานอุบลฯ  ลูก ๆ ก็เข้าใจและเรียกตาม  พอเข้าโรงเรียนก็รู้ว่ามาจากคำภาษาอังกฤษ
  คือ คำว่า calendar  ออกเสียงว่า แคลเลินเด้อร์  แปลว่า ปฏิทิน  ก็สงสัยเหมือนกันว่าที่อื่นเขาจะเรียกเหมือนกันมั้ยนะ...

               ข้อ ๒  คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เป็นครูค่ะ ขอติดไว้ก่อน เผื่อท่านถามเพื่อนที่เป็นครู แล้วมาบอกครูคืนนี้ค่ะ

                                รักนะ..  emo_116

                                 ครูกะปู

 


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: ♥ กานต์ฑิตา ♥ ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 09:32:PM
                                             
                                                     **ประวัติปฏิทินไทย**

ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ
ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์
ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโฆษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น
แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น
ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3)
ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870
(พ.ศ. 2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ
ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า " 14 First Calendar print in B. 1842 " (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์
แต่คาดหมายว่า คือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม
เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์
ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย
ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า
"ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ "
แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า
"จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน"

ปฏิทินในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย
สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึง
รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้

การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ
สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น - น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย
ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับ
จดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า "ไดอารี่" (Diary)
หรือ "สมุดบันทึกประจำวัน" ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้


                                         (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/178/25178/images/31_1_52NewYearCard/calendar2.JPG)

                                         (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/178/25178/images/31_1_52NewYearCard/calendar1.JPG)

อ้างอิง
    มณฑา สุขบูรณ์ "เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์" THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
   อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533






หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: choy ที่ 10 พฤษภาคม 2013, 09:53:PM
                                             
                                                     **ประวัติปฏิทินไทย**

ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ
ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์
ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโฆษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น
แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น
ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3)
ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870
(พ.ศ. 2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ
ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า " 14 First Calendar print in B. 1842 " (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์
แต่คาดหมายว่า คือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม
เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์
ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย
ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า
"ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ "
แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า
"จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน"

ปฏิทินในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย
สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึง
รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้

การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ
สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น - น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย
ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับ
จดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า "ไดอารี่" (Diary)
หรือ "สมุดบันทึกประจำวัน" ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้


                                         ([url]http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/178/25178/images/31_1_52NewYearCard/calendar2.JPG[/url])

                                         ([url]http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/178/25178/images/31_1_52NewYearCard/calendar1.JPG[/url])

อ้างอิง
    มณฑา สุขบูรณ์ "เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์" THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
   อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533









[size=18pt[color=black[b]]](อ้างถึง)

ต่อเลยนะครับ

(1)...จนกระทั่งในปี จุลศักราช 1240 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2431 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียนแทนที่ โดยกำหนดแบ่งให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วันตามปฏิทินสากล ทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการตั้งชื่อเดือน ได้แก่ เดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน จนถึงเดือนสุดท้ายของปี คือเดือนมีนาคม ซึ่งยังคงใช้รัตนโกสินทรศก เป็นชื่อปีอย่างเป็นทางการ โดยใช้ 1 เมษายน ร.ศ. 108 แทนที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 จนกระทั่งเลิกใช้ปีรัตนโกสินทรศกที่ 131 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ปีพุทธศักราชอย่างเป็นทางการ...
(2)...ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไปเป็น 1 มกราคม ให้เทียบเท่ากับสากล โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป จึงทำให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียงแค่ 9 เดือน (เมษายน - ธันวาคม)
(3)...พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 (ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม ลำดับที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา
(4)...พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

   หากดูจากข้อมูลวิกิพีเดีย อนุมานได้ว่า
(1)   ปี พ.ศ. 2431 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียน
(2)   ปฏิทินแบบที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มครั้งแรกปี พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
(3)   รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชสมภพปี พ.ศ. 2436 ทรงครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2468 ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2477 (เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2484)
(4)   รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ ปี พ.ศ. 2481 (ปฏิทินเริ่มใช้ 2484) เสด็จสวรรคตวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

****ดังนั้น สมัยรัชกาลที่ 7 ยังใช้ปฏิทินเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ เพราะทรงสละราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2477 (ปฏิทินแบบใหม่ใช้ 2484 ตรงกับปีเสด็จสวรรคตพอดี)

*****รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ ปี พ.ศ. 2481 (ปฏิทินเริ่มใช้ 2484) แสดงว่า จากปี 2481-2483 ในสมัยรัชกาลที่ 8 ใช้ปฏิทินแบบเก่า และเริ่มใช้ปฏิทินแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484-2489 (เสด็จสวรรคตปี 2489)

****นี่เป็นข้อมูลจากอากู๋ เชื่อถือได้แค่ไหนไม่รู้ เพียงแต่อยากยกตัวอย่างวิธีคิดให้ดูว่าคิดกันอย่างเป็นลำดับอย่างไร ลองไปหาแหล่งข้อมูลปี พ.ศ. ที่อื่นดูแล้วเทียบเคียงแบบที่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างก็จะได้รับคำตอบครับ

สนอง เสาทอง
(ถ้าผิดพลาดจะได้ด่าถูกตัวครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับ choy)
[/b][/color][/size]


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: ไพร พนาวัลย์ ที่ 11 พฤษภาคม 2013, 12:10:PM

สนอง เสาทอง
(ถ้าผิดพลาดจะได้ด่าถูกตัวครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับ choy)



ขอขอบคุณ คุณสนอง เสาทอง ที่สละเวลาค้นหาเอามาให้อย่างน่านับถือจัง

แต่ทำใจให้สบายๆเถิดนะครับว่า ที่นี่ เขาไม่ค่อยด่ากันโดยไม่มีเหตุ-ผลหรอกครับ  emo_47

ลุงไพร


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: panthong.kh ที่ 11 พฤษภาคม 2013, 01:23:PM

สนอง เสาทอง
(ถ้าผิดพลาดจะได้ด่าถูกตัวครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับ choy)



ขอขอบคุณ คุณสนอง เสาทอง ที่สละเวลาค้นหาเอามาให้อย่างน่านับถือจัง

แต่ทำใจให้สบายๆเถิดนะครับว่า ที่นี่ เขาไม่ค่อยด่ากันโดยไม่มีเหตุ-ผลหรอกครับ  emo_47

ลุงไพร

emo_45 emo_45
เพราะทุกครั้งที่ด่า ก็มักจะอ้างเหตุผลประกอบการด่าทุกครั้ง

ฉะนั้นขอให้สบายใจได้ ว่าถ้าคุณโดนด่าจะมีเหตุผลประกอบเสมอ

ด้วยรัก
พันทอง
 emo_126 emo_126


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: สุวรรณ ที่ 11 พฤษภาคม 2013, 04:59:PM
พี่ค้นข้อมูลเกี่ยวกับวันหยุด สมัยรัชกาลที่ ๗ ถึง รัชกาลที่ ๘  เพิ่มเติมดังนี้นะคะ ( ตัวอักษรแถบสีน้ำเงิน คือ วันหยุดสมัยนั้นค่ะ )  

                รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีการประกาศวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ โดยออกประกาศเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ ซึ่งมีการเลิกหยุดหลาย ๆ วันในช่วงต้นปี และเปลี่ยนแปลงวันหยุดบางวันให้เหมาะสม คือ 
๑. ตะรุษะสงกรานต์  (๓๑ มีนาคม – ๓ เมษายน)  ๔ วัน
๒. วันที่ระลึกมหาจักรี  (๖ เมษายน)  ๑ วัน
๓. วิศาขะบูชา  (ขึ้น ๑๔ ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖) ๓ วัน
๔. เข้าปุริมพรรษา (ขึ้น ๑๔ ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) ๓ วัน
๕. วันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  (๒๓ ตุลาคม) ๑
๖. วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (๗ – ๙ พฤศจิกายน)  ๓ วัน
๗. พระราชพิธีฉัตรมงคล  (๒๔ – ๒๖ กุมภาพันธ์) ๓ วัน
           หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ และการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และการขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยพันเอกพระยาพหลพลหยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการ” ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๘๐ โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งประกาศวันหยุดราชการไว้ ดังนี้
๑.วันตรุษสงกรานต์ (New Year)(๓๑ มีนาคม – ๒ เมษายน) ๓ วัน
๒.วันจักรี (Chakri Day) (๖ เมษายน) ๑ วัน
๓.วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น ๑๕ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ หรือเดือน ๗ แล้วแต่กรณี) ๒ วัน
๔.วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Petition Day) (๒๔ มิถุนายน) ๑ วัน
๕.วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (Provisional Constitution Day)(๒๗ มิถุนายน)๑ วัน
๖.วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent)(ขึ้น ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) ๒ วัน
๗.วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (๒๐ กันยายน)๑ วัน
๘.วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)(๙ – ๑๑ ธันวาคม)๓ วัน
๙.วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน ๓ หรือเดือน ๔ แล้วแต่กรณี) ๑ วัน
          จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปลายพุทธศักราช ๒๔๘๒ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ” ซึ่งเริ่มครอบคลุมถึงเรื่องเวลาทำงานของราชการตามปกติด้วย โดยกำหนดให้ข้าราชการทำงานตามเวลา คือ ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๙:๐๐ น. – ๑๖:๐๐ น. โดยหยุดพักกลางวันเวลา ๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น. ส่วนวันเสาร์หยุดครึ่งวัน  คือ ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๙:๐๐ น. – ๑๒:๐๐ น. สำหรับวันอาทิตย์ให้ถือเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์  และได้เปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการดังนี้
๑.วันตรุษสงกรานต์และขึ้นปีใหม่ (New Year) (๓๑ มีนาคม – ๑ เมษายน) ๒ วัน
๒.วันจักรี (Chakri Day) (๖ เมษายน) ๑ วัน
๓.วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น ๑๕ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ หรือเดือน ๗ แล้วแต่กรณี) ๒ วัน
๔.วันชาติ (National Day) (๒๓ – ๒๕ มิถุนายน)  ๓ วัน
๕.วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) ๒ วัน
๖.วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday)  (๒๐ – ๒๑ กันยายน) ๒ วัน
๗.วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (๙ – ๑๑ ธันวาคม) ๓ วัน
๘.วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน ๓ หรือเดือน ๔ แล้วแต่กรณี) ๑ วัน
          อนึ่ง ทางราชการกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของราชการ และโรงเรียนทั่วไป แต่สำหรับโรงเรียนที่ใช้วัดเป็นสถานศึกษา  ให้หยุดในวันพระ  
          ในปีต่อมา คือ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการบังคับใช้ “พระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช ๒๔๘๓” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การให้ปีปฏิทินเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม (หรือพูดง่าย ๆ คือ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นแบบที่เราถือกันในปัจจุบันตามแบบสากลนั่นแหละครับ) ซึ่งหมายความว่าปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือนเท่านั้น และจากการออกกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการในวันขึ้นปีใหม่ คือ หยุดวันขึ้นปีใหม่ ๓ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม วันที่ ๑ และ ๒
          และในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนอินโดจีนกับฝรั่งเศสขึ้น และได้ยุติลงโดยการลงนามในสัญญาพักรบ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔ จนต่อมา เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้เพิ่มเติมวันหยุดราชการอีก ๑ วัน คือ  วันลงนามในสัญญาพักรบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส โดยหยุดในวันที่ ๒๘ มกราคม ของทุกปี และได้ยกเลิกวันหยุดราชการดังกล่าวในปี ๒๔๘๗  ในสมัยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
          ต่อมาในปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้วันปิยมหาราช (Chulalongkon Day) เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมอีก ๑ วัน  และลดการหยุดในวันขึ้นปีใหม่ให้เหลือเพียง ๒ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม และ ๑ มกราคม
           
            หากข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ  (^_^)
            ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง :  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=843068 (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=843068)  emo_126


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 13 พฤษภาคม 2013, 12:46:PM
...กานต์ฑิตาเธอแหล่งรู้.......จริงนา
ขอบอกข้าฯศรัทธา.............ใช่น้อย
หฤหรรษ์อีกปัญญา.............พร้อมพรั่ง
จงแม่อย่าลับคล้อย.............ห่างบ้านกลอนไทย


หัวข้อ: Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 13 พฤษภาคม 2013, 06:11:PM
....ขอบคุณผองเพื่อนผู้........."แบ่งปัน"
แหละนี่สิ่งสำคัญ..................ยิ่งแล้
สังคมจักเจริญพลัน...............กายจิต
ปลอดทุกข์สุขสวัสดิ์แท้..........เริ่มด้วยช่วยกัน