พิมพ์หน้านี้ - สมุดกลอน ตอนที่ ๓ : สมุดภาพตำราคชลักษณ์

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

จิปาถะ => ห้องนั่งเล่น => ข้อความที่เริ่มโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 06 มีนาคม 2013, 11:01:PM



หัวข้อ: สมุดกลอน ตอนที่ ๓ : สมุดภาพตำราคชลักษณ์
เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 06 มีนาคม 2013, 11:01:PM
จริงๆแล้ว กระผมขี้เกียจเปิดหนังสือค้นข้อมูลนะครับ
แต่ยังรับผิดชอบกระทู้อยู่บ้าง  มัคคุเทศก์ คนธรรพ์จึงกลับมาอีกครั้ง


(http://i3.tagstat.com/image09/0/779b/000L05qs7ur.jpg)

ภาพพระพิฆเนศบนสมุดข่อย พระกรข้างขวาทรงดอกบวก ข้างซ้ายทรงตรี
พระพิฆเนศวรหรือพระพิฆเนศ ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ
ตามตำรับนารายณ์ประทมสินธุ์กล่าวว่า พระพิฆเนศอุบัติจากพระกรรณเบื้องขวาของพระอัคนี

(http://i0.tagstat.com/image09/0/779b/000M05qs7ur.jpg)

พระโกญจนาเนศวรศิวบุตร อุบัติจากเปลวเพลิงที่พวยพุ่งออกทางพระกรรณเบื้องซ้ายของพระอัคนี
อ้อ ที่แท้เป็นพี่น้องต่างพระกรรณกับพระพิฆเนศนี่เอง

เทพเจ้าองค์นี้ ทรงประทานกำเนิดช้างเผือกตระกูลอัคนีพงศ์

(http://i5.tagstat.com/image09/0/779b/000N05qs7ur.jpg)

สมุดภาพตำราคชลักษณ์ เป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยหมึกดำ ตัวอักษรภาษาไทย
เล่มที่นำมาแสดงนี้ เป็นฉบับหลวง เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่งด้วยกาพย์ฉบัง

อธิบายลักษณะของช้างประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นช้างศุภลักษณ์ และช้างทุรลักษณ์
ภาพตอนต้นเป็นเทพยดาสำคัญในการคชกรรม

(http://i4.tagstat.com/image09/0/779b/000Q05qs7ur.jpg)

มาตังคกรีเทพ คือเทพเจ้าทั้ง ๒๖ องค์ที่สถิตรักษา ส่วนต่างๆตามร่างกายของช้างสำคัญ

(http://i7.tagstat.com/image09/0/779b/000P05qs7ur.jpg)

ช้างคิริเมขล์ มี ๓ เศียร ประกอบด้วยคชลักษณ์งดงาม เป็นช้างทรงของพญาวสวัตดีมาร
ภาพนี้ วาดได้สวยงามมากครับ จนผมต้องเพ่งดูซ้ำหลายครั้ง
ช้างสวมชฎาเสียด้วย เป็นถึงช้างทรงของพญามาร แต่ก็ดูเป็นช้างอารมณ์ดี

กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ  ได้กล่าวถึงช้างคิริเมขล์ไว้ในลิลิตตะเลงพ่าย

หัสดินทร์ปิ่นธเรศไท้       โททรง
คือสมิทธิมาตงค์            หนึ่งช้าง
หนึ่งคือคิริเมขล์มง         คลอาสน์ มารเอย
เศียรส่ายหงายงาคว้าง    ไขว้แคว้งแทงโถม

โคลงบทนี้ ทำให้เรารู้ว่า ช้างทรงของพระเจ้าแผ่นดิน
๑ สมิทธิมาตงค์  (ยังค้นรูปไม่พบ)
๒ คิริเมขล์
บาทสุดท้ายบอกถึง อาการของช้างสาร ยามใช้งาเข้าจู่โจมประจัญกับข้าศึก

เข้าสู่เนื้อหาตำราคชลักษณ์เสียที

(http://i2.tagstat.com/image09/0/779b/000S05qs7ur.jpg)

คันธหัตถี  มีสีกายดังไม้กฤษณา อุจาระ ปัสสาวะ และกายมีกลิ่นหอม (ใครเป็นควาญ เคยพบรึเปล่า)
มีบริวารเป็นอันมาก  ช้างคันธหัตถี ๑๐ ช้าง จึงจะมีกำลังเท่าช้างมงคลหัตถี ๑ ช้าง


(http://i1.tagstat.com/image09/0/779b/000R05qs7ur.jpg)

ปิงคลหัตถี ผิวกายสีเหลืองอ่อน ดวงตาประหนึ่งตาแมว มีกำลังมากและห้าวหาญในการศึก
มีกำลังน้อยกว่าคันธหัตถี   ปิงคลหัตถี ๑๐ ช้าง จึงจะมีกำลังเท่าคันธหัตถี ๑ ช้าง

วันนี้ขอหยุดที่ ๒ ช้างก่อน
เรื่องช้างๆเป็นงานที่หนักและเหนื่อย
แต่จะพยายามเข็นช้างออกมาอาทิตย์ละสองสามเชือก

สำหรับท่านผู้สนใจวรรณคดีตำรับช้าง ขอแนะนำหนังสือดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
ไว้อ่านประดับความรู้เรื่องช้างๆ

(http://i1.tagstat.com/image09/0/779b/000Z05qs7ur.jpg)

พิมพ์ครั้งที่๒ ปี ๒๕๒๗  ส่วนเล่มที่พิมพ์ครั้งหลังสุดไม่นานมานี้ หาซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์

ขอบอกไว้อย่าง หากท่านมุ่งมั่นจะอ่านตำรับช้างอย่างจริงจัง
ถ้ายังไม่มีพจนานุกรมไทยที่บ้าน ก็ขอให้ซื้อติดมือมาด้วย
รึชอบสะดวกเคาะแป้นพิมพ์หาความหมายทางระบบออนไลน์ก็ตามใจ

โปรดติดตามตอนต่อไป อาทิตย์หน้า

มัคคุเทศก์ คนธรรพ์

๖/๓/๕๖


หัวข้อ: Re: สมุดกลอน ตอนที่ ๓ : สมุดภาพตำราคชลักษณ์
เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 20 มีนาคม 2013, 09:00:PM

ต้องขอประทานอภัย  emo_126
ผู้ติดตามอ่านกระทู้นี้ทุกท่าน 

ที่กระผมบอกว่า โปรดติดตามต่ออาทิตย์หน้า
แต่กลับเป็นว่า ได้ข้ามอาทิตย์หน้าไปเสีย ซึ่งหมายถึงสัปดาห์ที่แล้ว จนล่วงเลยมาถึงอาทิตย์นี้

อาทิตย์ เป็นคำพ้องความหมายหมายถึง สัปดาห์ นะครับ ไม่ใช่วันอาทิตย์

ทำให้โพสต์เนื้อหาตำรับคชลักษณ์ขาดช่วงไป
ก็ต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่ตั้งตารอคอยด้วยความกระหายใคร่รู้เรื่องตำรับช้างไทยโบราณเป็นอย่างสูง

แม้นอันดับความนิยมกระทู้ จะอยู่ท้ายตารางเห็นๆก็ตาม  emo_50 33 views
อะแฮ่ม แต่กระผมเชื่อแน่ว่า คงมีสักคนหนึ่งล่ะที่ตามอ่านกระทู้นี้อยู่   emo_111 ซึ้งจิงๆ
ถึงไม่มีกระผมก็ขอเชื่ออย่างนี้แหละครับ เอิ๊ก จะได้โผล่หน้ามาโพสต์แว้นอยู่เรื่อยๆ แอน แอ่น แอ้น

ไม่ว่ายังไงก็ตาม มัคคุเทศก์ คนธรรพ์ จะพยายามโพสต์แว้นให้ได้ทุกวันพุธของสัปดาห์ครับ  emo_09

มาว่าเรื่องของเราต่อ
วันนี้ จัดมาสองช้าง (จะว่าไปแล้วก็น้อยไปหน่อย สำหรับกระทู้ที่หายหน้าไปหนึงอาทิตย์
เอาเป็นว่า ขอให้กระผมปรับกระบวนการผลิตงานหน่อยนะครับ ถ่ายรูปแล้ว ฝากไฟล์รูปอีกปวดหัวจริงๆ)


(http://i5.tagstat.com/image09/0/779b/000V05qs7ur.jpg)

บัณฑรหัตถี ผิวกายขาวบริสุทธิ์ดังเขาไกรลาส บัณฑรหัตถี ๑๐ ช้าง จึงจะมีกำลังเท่าดามมพหัตถี ๑๐ ช้าง


(http://i3.tagstat.com/image09/0/779b/000T05qs7ur.jpg)

คังไคยหัตถี เกิดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำคงคา ผิวกายประหนึ่งน้ำไหล กล้าหาญในการศึก คังไคยหัตถี ๑๐ ช้าง
จึงจะมีกำลังเท่าบัณฑรหัตถี ๑ ช้าง

โปรดติดตามต่ออาทิตย์หน้า

มัคคุเทศก์ คนธรรพ์

๒๐/๓/๕๖


หัวข้อ: Re: สมุดกลอน ตอนที่ ๓ : สมุดภาพตำราคชลักษณ์
เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 27 มีนาคม 2013, 06:04:PM
วันเวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเสียยิ่งกระไร
้เผ้้ล้้

้้้องโพสต์เรื่อ้งลงอีกแล้ว
พูดตามตรง มัคคุเทศก์เองก็ขี้เกียจพิมพ์
เพราะดูแล้ว งานนี้เป็นหนังชีวิตอย่างไม่ต้องสงสัย

ลงมาหลายตอนแล้ว คงต้องลุยจนจบ

"เรื่องช้าง" ในประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ
จะกล่าวถึงในอาทิตย์หน้า

(http://i7.tagstat.com/image09/0/779b/001705qs7ur.jpg)

ไอยราพต จัดอยู่ในพวกช้างอัฏฐทิศ สีการดังสีเมฆ เท้ากลมดังกงฉัตร เล็บเสมอ
หน้าสูงท้ายต่ำอย่างสิงห์  ดวงตาใหญ่ดังดาวประกายพรึก งายาวงอนขึ้นขวา
งวงดังพญานาคเป็นช้างประจำทิศบูรพา

(http://i6.tagstat.com/image09/0/779b/001805qs7ur.jpg)

บุณฑริก จัดอยู่ในช้างอัฏฐทิศ สีขาวดังดอกบัวขาว งาใหญ่สั้น
สีงาดังสีสังข์ กลิ่นตัวหอมดังดอกสัตตบงกช เป็นช้างประจำทิศอาคเนย์

(http://i0.tagstat.com/image09/0/779b/000U05qs7ur.jpg)

โกมุท สีกายดังดอกบัวแดง ตัวสูง ใบหูอ่อน งางอนขึ้นดังพระจันทร์ เมื่อขึ้น ๓ ค่ำ
เป็นช้างประจำทิศหรดี

(http://i6.tagstat.com/image09/0/779b/000W05qs7ur.jpg)

อัญชันคีรี สีกายดังดอกอัญชัน งาใหญ่ คอใหญ่ เสียงดังลมพัดในปล้องไม้ไผ่
เป็นช้างประจำทิศประจิม

้้้้้้รูปถ่ายไม่ค่อยชัด แต่ภาพในหนังสือ จิตรกรไทยวาดให้ช้างดูหน้าตาทะเล้น คือ อมยิ้มแล้วเหลือกตามองข้างบน
พันธุ์ดอกอัญชันนี่ งาตรงยังกะไม้จิ้มฟันเลยฮะ

้ไม่รู้เครื่อ้งเ้้ป้็น้อ้้ะไ้ร พ้ิม้พ้ิ้็์แลว้ข้้ั้้นแ้ต่ไ้ม้้็"ท้้

้้้้helhhph hmhohehh hhehh ้้้help me !!!