หัวข้อ: ขอแนวทางในการแต่งกลอนสุภาพ เรื่อง "พระพุทธศาสนาเพื่อประชาธิปไตย" หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: jipata012 ที่ 03 มีนาคม 2013, 09:26:AM ขอแนวทางในการแต่งกลอนสุภาพ เรื่อง "พระพุทธศาสนาเพื่อประชาธิปไตย" หน่อยครับ
พอดีผมได้รับคำสั่งให้แต่งจำนวน 8 บทหน่ะครับ คุณครู หรือพี่ๆ ในนี้ช่วยเป็นแนวทางในการแต่งหน่อยครับผม ขอบคุณล่วงหน้าครับ ส่วนข้างล่างนี้เป็นเนื้อหาคร่าวๆครับผม emo_47 ประชาธิปไตยหรือ "Democracy"เป็นคำที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณรุ่งเรือง ซึ่งมุ่งแสดงถึงการปกครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออก มีส่วนร่วมในการปกครองโดยเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งในสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ผู้ให้คำนิยามแก่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่กระชับและสั้น คือ ลินคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในพุทธศาสนานั้นพระพุทธเจ้าเองทรงปกครองดูแลเหล่าพุทธสาวกด้วยประชาธิปไตยเช่นกัน แม้ในยุคสมัยนั้นมีการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างรุนแรง แต่เมื่อพระองค์ก็ทรงเลือกที่จะให้เหล่าพุทธสาวกที่มาจากต่างชนชั้นกันอยู่ร่วมกันอย่างผู้ที่มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมเสมอกัน ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเสมอกันไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร พระองค์จึงทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่การบัญญัติวินัยนั้นก็ทรงบัญญัติเป็นพระสงฆ์มิได้บัญญัติตามลำพัง ต้องให้เกิดเรื่องก่อน แล้วประชุมสอบสวนแล้วบัญญัติพระวินัยท่ามกลางพระสงฆ์ ด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ต่างพร้อมใจกันนำไปปฏิบัติ การทำกรรมต่างๆ ของสงฆ์ ยกเว้นอปโลกนกรรม ล้วนให้ทำเป็นการสงฆ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ ญัตติกรรม-ทำด้วยสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูปขึ้นไป เช่นการสวดปาติโมกข์ ญัตติทุติยกรรม-ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรคคือ ๕ รูปขึ้นไป เช่น เรื่องกฐิน ญัตติจตุตถกรรม-ทำด้วยสงฆ์ ทสวรรค คือ ตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไปยกเว้นในที่กันดาร เช่นการอุปสมบท การให้มานัตต์ การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ ๒๑ รูปขึ้นไป จึงกล่าวได้ว่า พระวินัย คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ พระสงฆ์ คือ สมาชิกสภาผู้แทน คุณสมบัติของพระสงฆ์ คือ คุณสมบัติของสมาชิก อำนาจพระสงฆ์ คือ อำนาจอธิปไตย อธิกรณ์สงฆ์ทั้ง ๔ คือ ก. วิวาทาธิกรณ์-การขัดแย้งกันเกี่ยวกับธรรมวินัย ข. อนุวาทาธิกรณ์-การโจทก์กันด้วยอาบัติต่างๆ ค. อาปัตตาธิกรณ์-การละเมิดอาบัติต่างๆ ง. กิจจาธิกรณ์-กิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จะพึงทำด้วยสงฆ์จำนวนต่างๆ ต่างก็จะต้องระงับด้วยวิธีการที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ ๗ คือ ๑. สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าบุคคลต่อหน้าวัตถุ ๒. สติวินัย การระงับด้วยการให้เกียรติแก่พระอรหันต์ ผู้มีสติสมบูรณ์ ๓. อมูฬหกวินัย การระงับเหตุด้วยการยกเว้นให้แก่ผู้ทำผิดในขณะที่เป็นบ้า คือได้หลงไปแล้ว ๔. เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ ๕. ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยการทำตามปฏิญญา ๖. ตัสสปาปิยสิกากรรม ระงับด้วยการลงโทษศัตรูผู้ถูกสอบสวนแล้วพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ให้การรับแล้วปฏิเสธ ปฏิเสธแล้วรับเป็นต้น ๗. ติณวัตถารกวินัย ระงับด้วยการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย ดุจเอาหญ้าทับสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้มีกลิ่น ทั้งอธิกรณ์และการระงับต้องทำเป็นการสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ดุจการตั้งกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงเป็นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม และในการประชุมทำกรรมต่างๆ เป็นการสงฆ์นั้น ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ จริงๆ ถ้ามีข้อข้องใจมีสิทธิ ยับยั้ง (Veto) ได้ แม้เพียงเสียงเดียวสงฆ์ทั้งหมดก็ต้องฟังดังท้ายกรรมวาจาว่า "ยสฺสายสฺมโตขมติ... .........โส ตุณฺหสฺสยสฺส น ขมติ โส ภาเสยฺย" "ถ้ากรรมนี้ ชอบใจต่อท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเงียบ ถ้าไม่ชอบใจต่อท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูดขึ้น" อนึ่งการทำกรรมอันใดก็ตาม พระวินัยจะต้องพร้อมเพรียงกัน ดังคำขึ้นต้น ของกรรมวาจาว่า "ยทิ สงฺฆสฺสปตฺตกลฺลํ" ซึ่งแปลว่า "ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ พร้อมแล้ว... สงฆ์พึงทำ..." ดังนี้. หัวข้อ: Re: ขอแนวทางในการแต่งกลอนสุภาพ เรื่อง "พระพุทธศาสนาเพื่อประชาธิปไตย" หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: jipata012 ที่ 03 มีนาคม 2013, 05:30:PM ช่วยหน่อยนะครับ emo_48
|