หัวข้อ: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: อนุวาต ที่ 29 สิงหาคม 2012, 08:01:PM ขอเขียนเพียรฝึกไว้ เป็นโคลง หวังช่วยของจรรโลง เก็บไว้ ผิดถูกชอบวอนโยง สอนติ จะไม่โกรธใส่ใคล้ มาดร้าย เเน่นอน ขอวอนโปรดช่วยชี้ เเนวทาง หวังโปรดบอกมาถาง โง่นี้ จะขอรับไว้พลาง เพียรเพ่ง ได้เก่งงดป่่นปี้ เเค่นี้ก็พอ ขอใครใดพี่น้อง วอนติผมขอร้อง เเต่งให้สักที จงมีเมตตาอย่าลี้ หากท่านปราณีนี้ อย่าช้าสักบท โคลงกลอน หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 29 สิงหาคม 2012, 09:23:PM ๐ แรกเพียรเขียนเท่านี้ ดีถม ยังว่าตัวแสนบรม โง่เหง้า(เง่า) อยากกาจเก่งระดม คิดแต่ง มากยิ่งชำนาญเจ้า ก่องแก้วแสนงาม แต่งมากๆค่อยเก่งเอง ขอให้กำลังใจ emo_126 รพีกาญจน์ 59 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 29 สิงหาคม 2012, 09:49:PM * โคลงสี่ส่วนแรกนั้น ห้าคำ
อย่าพลาดเร่งจดจำ แม่นไว้ สรรคัดจัดถ้อย นำ แน่กระจ่าง บาง"บาท"ชวนงงไซร้ ไป่รู้เป้าประสงค์ ครับ ยินดีครับ โคลงสี่สุภาพ ๑ บทมี ๔ บาท ทุกๆ บาท ส่วนแรกกำหนดแน่ชัด ๕ คำ เพิ่มลดได้โดยใช้ คำลหุ ช่วย (คำที่ใช้สระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด และพวกคำเดี่ยว ก็ บ บ่ ธ ณ) อย่างที่แต่ง แน่กระจ่าง แม้อ่าน ๓ แต่นับเป็น ๒ คำได้ ไป่รู้เป้าประสงค์ อ่าน ๕ แต่นับ ๔ คำ หวังโปรดมาถาง โง่นี้ แก้เป็น : หวังโปรดมาแผ้วถาง โง่นี้ หวังช่วยของจรรโลง ช่วยของ ความไม่ชัด ขอใครใดพี่น้อง ความไม่ชัด ใด = ผู้ใด OK แต่ถ้าเป็น สิ่งใด ก็ไม่เข้าเรื่อง ห่วง"สัมผัส"มากไปนะ ไคล้ [ไคฺล้] น. เล่ห์กลหรือเงื่อนงำ เช่น ใส่ไคล้. ปราณี [ปฺรานี] น. ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน. (ส. ปฺราณิ, ปฺราณินฺ; ป. ปาณี). ปรานี [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร. * ปราณ ปราณีบ่งรู้ ชีวิตยืนหยัดสู้ ขจัดร้ายเลวมลาย หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: อนุวาต ที่ 29 สิงหาคม 2012, 10:48:PM ม้าโดดกินทั่วหล้า ตามใจ เบี้ยกดดันขึ้นไกล ต่อสู้ โคนรับหนึ่งรุกไว ชิงเด่น เรือจับเมื่อเรารู้ จะเเพ้ ปราชัย ม้าโดดกินทั่วหล้า ถ้าพลาดคงเสียหน้า ไม่ช้าเสียหาย เดินม้าที่ว่าดี ต้องตีหมากเเตกได้ พึงคิดเเก้กลไว้ อย่าให้เขารู้ คิดทัน ปล ช่วยชี้เเนะด้วย หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 29 สิงหาคม 2012, 11:16:PM ฉันทลักษณ์เป็นหลักต้น โคลงบวร ยึดมั่นคำครูสอน แน่นเน้น ทั้งขยันขยับขยุ้มกร กรองกลั่น กานท์เฮย ลายลลิตลิขิตเฟ้น เฟื่องฟุ้งปรุงเสนอ อย่าเผลอผิดบิดบ้วน ชวนเขว แรกฝึกยิ่งคึกเฉ แฉลบล้ม อกกระอ่วนซวนเซ มีหลัก พลันผุดลุกจากก้ม ก่อก้าวเกรียงไกร คืบคลานไปพร่องบ้าง ดังผม ไม่หยุดคอยมุดตม ต่อแต้ม สักวันหนึ่งคนชม- ชอบฉ่ำ โคลงนอ แย้มลักยิ้มหน้าแฉล้ม ยิ่งเย้าเมายอ จะรออ่านอิ่มอ้ำ คำงาม ท่านรีบเถิดพยายาม เร่งเข้า ละอ่อนเช่นผมถาม พลางยุ ท่านนา เผื่อผ่องพ้องเพื่อนเคล้า คละค้ำโคลงเขษมฯ emo_126 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 29 สิงหาคม 2012, 11:39:PM * โคลงสี่เสาวภาพแจ้ง แจ่มตา
คือละวรรณยุกต์มา ฟัดไว้ หยาบคายมิเกี่ยวหนา พึงสดับ สี่แห่งขีดเส้นใต้ กับท้ายสี่คำ ฯ กามนิต, ๑๔ มิ.ย.๕๕ - โบราณเรียก "โคลงสุภาพ" ว่า "เสาวภาพโคลง"* เป็นโคลงที่สวยงาม เพราะเลี่ยงคำที่มีรูปวรรณยุกต์ในตำแหน่งที่ไม่บังคับโท-เอก ห้ามเด็ดขาดใน ๔ คำ คือ คำรับสัมผัสท้ายบาทแรกกับบาทที่สองบาทที่สาม และคำสุดท้ายของบาทที่สี่ ผมว่า ไม่ต้องรีบเร่งแต่งบทใหม่ ค่อยๆ ทบทวน ก่อนนำเสนอก็ตรวจสอบอีกที ทำไมผมเตือนเช่นนี้ กลับไปดู เดิมโคลงสี่ ๒ บท ถูกต้องตาม "สุภาพ" แต่แต่งใหม่กลับผิดได้ กลับเเพ้เริ่มใหม่ อีกตา ท่อนจบ โคลงสาม นี้เนื้อความไม่สอดรับกับช่วงต้น เมื่อรักให้ใครเขาชี้แนะ เราก็ต้องหมั่นค้นคว้า ตั้งใจพิจารณาที่เขาติเตือน อย่าเผลอผิดบิดบ้วน ชวนเขว แรกฝึกยิ่งคึกเฉ แฉลบล้ม ...ไร้นาม... เดี๋ยวนี้มีแต่ความจืดชืด เขียนกลอนมาลงแต่ไม่มีการต่อกลอนกัน ปล่อยกลอนดีๆตกหน้าบอร์ดไป น่าเสียดายมาก ไม่สนใจอ่านงานของท่านที่มีความสามารถ จนทำให้หายหน้าหายตาไปหมด ผมก็อดอ่านไปด้วย เลยเริ่มรู้สึกว่าเบื่อ เลยไม่ค่อยเข้ามาครับ ...aDDy... หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: อนุวาต ที่ 30 สิงหาคม 2012, 06:29:PM ติชมที่ว่าไว้ สมควร จะรับปรับจนจวน ถูกเเท้ หวังคงเเต่งจนมวล ชนชื่น คงค่อยคอยตรวจเเก้ ไม่ให้เสียครู ใครตรวจดูผิดเเล้ว เตือนที นิดหน่อยหากจะมี ผิดบ้าง หากเผลอขออย่าตี ใจโกรธ วอนพี่ช่วยสรรสร้าง บ่งชี้ น้องนา ขอบคุณที่ช่วยชี้เเนะนะครับ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 31 สิงหาคม 2012, 12:12:AM สรร [สัน] ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร.
สรรค์ [สัน] ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็น สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์. เสกสรร [–สัน] ก. เลือกทำหรือพูดเอาเอง ขออย่าตี ใจโกรธ ตี ก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป ตบเบา ๆ บุให้เข้ารูป แผ่ให้แบน ทําให้เกิดเสียง กด, ประทับ เช่น ตีพิมพ์ ทําให้เข้ากัน กําหนด เช่น ตีราคา ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่ เฮ้อ เหนื่อย มีความหมายใดไหม ที่สื่อหรือเกี่ยวข้องกับ ใจโกรธ ??? การพูด เขียน มีความประสงค์เพื่อ สื่อความ ต่อกัน ควรเลือกคำให้เหมาะกับบริบท แต่งได้ดีครับ อ๋อ เกือบลืม "นา" ทั่วไปใช้เป็นสร้อย ไม่ควรใช้เป็นคำลงท้ายโคลง หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 31 สิงหาคม 2012, 12:59:AM ว่าโคลงงามเงื่อนด้วย กลใด
หนึ่งย่อมฉันทลักษณ์ใน บทถ้อย โทเอกอย่าเผลอไผล พลอยพร่อง ตำแหน่งตรงคงย้อย หยดเกล้าเฉลาโคลง โยงคำคมเขื่องห้า คำนำ สองศัพท์รับร่ายจำ- รัสท้าย สามัญเลิกทำขำ ขืนเอก โทนา พยางค์ควบลหุหากป้าย นับได้หนึ่งคำ วิธีพร่ำพจน์แพร้ว พึงขยัน เรียนร่ำจนกว่าวัน วาดแผ้ว ตำราเก่าเฉิดฉัน หาอ่าน พึงต่อโคลงกวีแก้ว แต่งต้อยตามครู เมื่อผู้รู้ติต้อง ตรองตาม บัณฑิตมิตรคิดถาม ก่อเกื้อ ค่อยฝึกค่อยลับงาม ญาณปราชญ์ คำอร่ามล้ำค้ำเอื้อ จากผู้รู้จริง กระผมยิ่งแย่ยื้อ โยงโคลง อ่อนหัดอรรถโปร่งโพรง เท่าบ้าน อันว่าร่วมผสมโรง บอกหลัก ก็แต่คำครูค้าน หว่านเอื้อนเตือนผม emo_126 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 31 สิงหาคม 2012, 07:35:AM ขออย่าตี ใจโกรธ ตี ก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป ตบเบา ๆ บุให้เข้ารูป แผ่ให้แบน ทําให้เกิดเสียง กด, ประทับ เช่น ตีพิมพ์ ทําให้เข้ากัน กําหนด เช่น ตีราคา ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่ เฮ้อ เหนื่อย มีความหมายใดไหม ที่สื่อหรือเกี่ยวข้องกับ ใจโกรธ ??? ใครตรวจดูผิดเเล้ว เตือนที นิดหน่อยหากจะมี ผิดบ้าง หากเผลอขออย่าตี ใจโกรธ ผมคิดว่า ตี ในบาทสามไม่ผิดบริบท เราพูดได้ว่า ตีสีหน้า ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ ตีหน้าเข้ม ตีหน้าเซ่อ ตีใจโกรธ จึงใช้สื่อความได้ ตี หมายถึง ทำให้ความรู้สึกปรากฏผ่านใบหน้า พจนานุกรมไทยมีข้อบกพร่องประการหนึ่งคือเก็บความหมายของคำปัจจุบันไม่ครบ ผู้อ่านจึงต้องอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านหูผ่านตาถ้อยคำมามากเพื่อรับสารให้เข้าใจ หากเผลอขออย่าตี ใจโกรธ บาทนี้น่าสนใจ ตรงที่มีความหมายหลายนัย แต่ตอนนี้ ผมขอค้างไว้ก่อน หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 31 สิงหาคม 2012, 07:39:AM ก่อนอื่นต้องขอบคุณ คุณไร้นาม มากๆ ครับ
อ่านเจอ โทเอกอย่าเผลอไผล พลอยพร่อง ตำแหน่งตรงคงย้อย หยดเกล้าเฉลาโคลง เลยสะกิดใจ กลับไปดู ใครตรวจดูผิดเเล้ว เตือนที นิดหน่อยหากจะมี ผิดบ้าง หากเผลอขออย่าตี ใจโกรธ วอนพี่ช่วยสรรสร้าง บ่งชี้ น้องนา โอ้ พบผิดจริงๆ ขอ ตำแหน่งนี้ต้องเป็น รูปวรรณยุกต์เอก หรือ คำตาย (คำลหุ+คำที่ตัวสะกดด้วย แม่กก กด กบ) เมื่อคืนกลับดึก เลยรีบๆ ดูไม่ถี่ถ้วน (ขอแก้ตัวสักนิดนะ 555) ขอบคุณ ไร้นามอีกครั้งครับ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 31 สิงหาคม 2012, 08:12:AM พจนานุกรมไทยมีข้อบกพร่องประการหนึ่งคือเก็บความหมายของคำปัจจุบันไม่ครบ
ขอแก้ตัวแทน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นะครับ ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครหรอกครับที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ให้ "ครบ" โดยทั่วไปผมว่า ผู้จัดทำคงพยายาม "เต็มที่" แล้วในเวลานั้นๆ เป็นเรื่องที่ผู้อื่นต้อง ร่วมด้วยช่วยกัน ที่จะเขียนจะใช้ภาษาให้ถูกต้อง ในมาตรฐานที่กำหนด ที่ยอมรับกัน ในกาละขณะนั้นๆ การพูด เขียน มีความประสงค์เพื่อ สื่อความ ต่อกัน ผมยังขอยืนยันความคิดนี้ เราพูด เขียน มิใช่เพียงเพื่อให้เราเข้าใจ "คนเดียว" แต่เราหวัง สื่อความหมาย ส่งต่อไปยังผู้รับ เราหวังว่า ผู้รับ จะมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกับเรา ดังนั้น เราต้องลองทำตัวเราเป็น "คนอื่น" แล้วตรวจสอบดูความเข้าใจนั้นๆ ขอยกตัวอย่างที่เคยพบ กระทบทั่ง ผู้แต่งคงหวังสื่อ กระทบกระทั่ง แต่ผลตอบกลับเป็น ไอ้บ้าแท่งเหล็กนะ โอ๊ย เลือดสาดเลย ขอบคุณครับที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: อนุวาต ที่ 01 กันยายน 2012, 02:16:PM พวกพี่คงบอกน้อง หลายครา ที่ผิดต่างนานา โปรดไว้ (จะใช้ ติไว้ ได้หรือเปล่า ) เป็นบุญที่จรมา ปะพบ มิถูกเเก้สอนให้ อย่างนี้ ดีมาก หากโคลงที่เเต่งนี้ มีอะไร โทเอกเป็นไฉน ใคร่รู้ วิจารณ์หากพลาดไป ติเถิด หวังเเต่งไว้พอสู้ ไม่เเพ้ ใครเขา ปล ช่วยเเนะเรื่องคําตาย ที่เป็นสระใช้เเทนเสียงเองได้ไหม ขอบคุณไว้ล่วงหน้า หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 01 กันยายน 2012, 11:12:PM โอ๊ยๆ น้องท่านทำข้าฯ ซึ้ง ไปเลย
เพิ่งยกตัวอย่างว่า * โคลงสี่เสาวภาพแจ้ง แจ่มตา คือละวรรณยุกต์มา ฟัดไว้ หยาบคายมิเกี่ยวหนา พึงสดับ สี่แห่งขีดเส้นใต้ กับท้ายสี่คำ ฯ ๔ แห่งนี้ (สีแดง) ต้องเป็น เสียงสามัญเท่านั้น ย้ำ เสียงสามัญเท่านั้น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คือเสียงระดับเดียวกับ กา มิถูกเเก้สอนให้ อย่างนี้ ดีมาก ดังนั้น มาก ใช้ไม่ได้ครับ : มาก เสียงโท ==== โอ๊ยๆ ครานี้ เจ็บจริงๆ ตกม้าเกือบตาย 555 เพิ่งเขียนไปหยกๆ ว่า เราพูด เขียน มิใช่เพียงเพื่อให้เราเข้าใจ "คนเดียว" แต่เราหวัง สื่อความหมาย ส่งต่อไปยังผู้รับ เราหวังว่า ผู้รับ จะมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกับเรา ดังนั้น เราต้องลองทำตัวเราเป็น "คนอื่น" แล้วตรวจสอบดูความเข้าใจนั้นๆ เขียนว่า : รูปวรรณยุกต์เอก หรือ คำตาย (คำลหุ+คำที่ตัวสะกดด้วย แม่กก กด กบ) : นึกไปเองว่าผู้อื่นจะเข้าใจ 555 ช่วยเเนะเรื่องคําตาย ที่ใช้เเทนเสียงเอกได้ไหม ขอบคุณไว้ล่วงหน้า ขออนุญาตแก้ไขคำถามครับ รูปวรรณยุกต์เอก (เล่น เก่ง ส่ง) ถ้าเราหาใส่ไม่ได้ เราก็ใช้ คำลหุ หรืออาจใช้ คำตาย แทนได้ (ลหุคือ คำที่ใช้สระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด เช่น มิ สิ ก็ เดาะ เซาะ ลุ ปุ อาจเป็นคำหลายพยางค์ก็ได้ เช่น ประโยชน์ สะดวกสบาย ขะมักเขม้น : ประ สะ ส ขะ ข พวกนี้เป็น ลหุ) (คำตายคือ คำลหุ หรือ คำที่ตัวสะกดด้วย แม่กก กด กบ เช่น กฎ ขบถ จรด ลบ กัก กด ทบ รส โกรธ โจทย์ โรจน์ พิสุทธ์) ระวัง!!! สะดวกสบาย ขะมักเขม้น [ขะมักขะเม่น, ขะหฺมักขะเม่น] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว เสร็จไป อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย [อะหฺล่วย] ก. ปรองดองกัน, ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน โคลง ขอติเตือนทีหลังนะ (ร่วมชั่วโมงแล้ว) ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: Prapacarn ❀ ที่ 01 กันยายน 2012, 11:41:PM (http://thummada.com/php_upload2/lotus_69.jpg) แซม..งง ตามเคย.. แต่แซมจะพยายามศึกษาให้เข้าใจค่ะ.. ขอบคุณพี่ๆ และเพื่อนๆ ที่มีความอดทนสูง... นักเรียนตั้งท่าจะหนีแล้ว...แต่คุณครูยังยืนหยัด.. emo_126 emo_126 emo_126 แซมค่ะ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 02 กันยายน 2012, 12:00:AM ว้าว มาให้กำลังใจ (หรือเปล่า ???) ไชโยๆ
คุณน้องเจ้าขา เล่นบอก งง พี่คงต้องปลง ตูนี่ ชักเขียนไม่ได้ความ เขาอ่านกันไม่รู้เรื่องทั้งบ้านฯ แล้วนะ 555 ขอบใจจริงๆ จ้า ตอนนี้ เป็นงานเป็นการ ไม่เข้าใจถามมาได้เสมอเลย (คนมันบ้าอยากตอบ 555) หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 02 กันยายน 2012, 08:13:AM ....ชำนาญชาญเชี่ยวด้วย......ฝึกฝน
ปฏิบัติ กุญแจดล................เลิศแท้ ค้นคว้า เฉกเวทมนต์............สำเร็จ กลอนกาพย์กล้าแกร่งแล้.......ร้องเล่นเป็นประจำ ....คำงาม สัมผัสพร้อม..........ไพเราะ จังหวะ รับส่งเสนาะ..............ครึกครื้น ประเด็นเด็ด เด่นควรเหมาะ......ตรึงจิต คีตะกานท์กวีฟื้น.................."ตื่นรู้"ละตน ขอเขียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ อยากให้สังเกต บทแรกส่วนสีแดง ใช้ โทเอก (ตามกฎเกณฑ์บังคับให้ใช้ เอกโท) ประมาณ ๓-๔ ปีก่อน ผมเคยลองใช้ โทเอก อยู่พักหนึ่ง เพราะเห็นว่า ไพเราะดี และบางครั้งเหมาะสมกับเนื้อหา แต่คุณครูภาษาไทยหลายท่านติเตือน จะทำให้นักเรียนมีปัญหาในการทำข้อสอบ จึงหยุดไป ภายหลังอ่านพบในมติชนสุดสัปดาห์ ผู้เขียนนั้นนำเสนอว่า น่าสนับสนุนให้เป็นโคลงรูปแบบใหม่ และเสนอให้เรียก โคลงสี่โสภา ผมเห็นด้วยเพราะ ฉันท์ มีผู้เชี่ยวชาญนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ จนเป็นที่ยอมรับ แต่ โคลง หยุดการวัฒนารูปแบบใหม่ๆ มานาน * ใคร ใช่ญาติจากแคว้น แดนไกล ใคร ชุบจิตแจ่มใส เมื่อเศร้า ใคร ให้แห่งพักใจ ยามตก ต่ำเฮย ใคร ร่างเหลือเพียงเถ้า เฝ้าร่ำอวยพร นี่เป็นบทแรกที่ผมลองสลับตำแหน่ง เอกโท เป็น โทเอก เพราะ เฝ้า รับสัมผัสกับ เถ้า ได้ดี เฝ้าร่ำ ก็ให้ความหมายชัดกว่า ร่ำเฝ้า เพื่อนผู้รู้ เชิญร่วมแสดงความเห็น จะได้เกิดประโยชน์ต่อวงการร้อยกรอง ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: อนุวาต ที่ 02 กันยายน 2012, 05:57:PM ก็อยากที่จะเเต่งให้ เข้าใจ เเต่เมื่อเขียนลงไป ไม่รู้ คิดติดขัดเเก้ไข ยังผิด คงเเต่งด้วยใจสู้ ใฝ่รู้ ตามประสา เขียนว่าติบอกไว้ รับฟัง พลาดผิดไม่ระวัง โทษไว้ ยังไม่เก่งเเค่ยัง หัดเเต่ง หวังพี่คงต้องเนะให้ อย่างนี้ อีกนาน หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 03 กันยายน 2012, 11:36:AM พจนานุกรมไทยมีข้อบกพร่องประการหนึ่งคือเก็บความหมายของคำปัจจุบันไม่ครบ ขอแก้ตัวแทน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นะครับ ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครหรอกครับที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ให้ "ครบ" โดยทั่วไปผมว่า ผู้จัดทำคงพยายาม "เต็มที่" แล้วในเวลานั้นๆ เป็นเรื่องที่ผู้อื่นต้อง ร่วมด้วยช่วยกัน ที่จะเขียนจะใช้ภาษาให้ถูกต้อง ในมาตรฐานที่กำหนด ที่ยอมรับกัน ในกาละขณะนั้นๆ การพูด เขียน มีความประสงค์เพื่อ สื่อความ ต่อกัน ผมยังขอยืนยันความคิดนี้ เราพูด เขียน มิใช่เพียงเพื่อให้เราเข้าใจ "คนเดียว" แต่เราหวัง สื่อความหมาย ส่งต่อไปยังผู้รับ เราหวังว่า ผู้รับ จะมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกับเรา ดังนั้น เราต้องลองทำตัวเราเป็น "คนอื่น" แล้วตรวจสอบดูความเข้าใจนั้นๆ ขอยกตัวอย่างที่เคยพบ ประเด็นข้างต้นที่คุณทรูแชร์กล่าวมา ผมเห็นพ้องด้วยในหลักการกว้างๆนะครับ การจัดทำพจนานุกรมไทย แม้นว่าเป็นไปได้ยากที่จะรวบรวมความหมายของคำไทยได้ครบ แต่ถึงกระนั้น ผมก็เห็นว่า จำนวนความหมายที่บรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตก็ยังน้อยอยู่นั่นเอง เมื่อเทียบกับจำนวนความหมายของคำที่ผู้ใช้ภาษาไทยใช้สื่อสารกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้น ก็สามารถอภิปรายได้อย่างกว้างขวางว่าภาษาไทยมาตรฐานนั้นเป็นอย่างไร มีอยู่จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้ว ผู้ใช้ภาษาไทยต่างคนต่างใช้ตามความสะดวกตน ส่วนจุดมุ่งหมายของการพูดเขียนเพื่อสื่อความให้เข้าใจกันนั้น ถูกเพียงครึ่งเดียว สำหรับบทสนทนาในชีวิตประจำวันและข้อเขียนรายวัน เช่น อีเมล์ โพสต์กระทู้ ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรที่ผู้ใช้ภาษาไทยมาแต่กำเนิดจะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว เพียงแค่พูดเขียนสื่อสารกันตรงไปตรงมา ให้ถูกไวยากรณ์ ผู้ใช้ภาษาไทยเหมือนกันย่อมเข้าใจกันได้ แต่ทว่าหากมองไปที่การสื่อความหมายระดับตัวบทวรรณกรรม เช่น กวีนิพนธ์ ก็ไม่ง่ายดายขนาดนั้น นั่นก็เพราะว่า ผู้อ่านวรรณกรรมอาจเข้าใจตัวบทไม่ตรงกับความหมายที่ผู้เขียนวรรณกรรมต้องการสื่อก็เป็นได้ สืบเนื่องจากคุณสมบัติของตัวบทวรรณกรรณนั้น สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านตีความได้หลายแง่มุมนั่นเอง ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด คงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคุณทรูแชร์ในโอกาสต่อไป ในกระทู้นี้ เราเพียงเห็นต่างกันใน เรื่องการใช้คำในบทกวีเท่านั้น ใครตรวจดูผิดเเล้ว เตือนที นิดหน่อยหากจะมี ผิดบ้าง หากเผลอขออย่าตี ใจโกรธ วอนพี่ช่วยสรรสร้าง บ่งชี้ น้องนา โคลงบทนี้ ผมอ่านจบแล้วเข้าใจในทันที จึงเห็นว่าในส่วนของเนื้อหาไม่ต้องแก้คำแต่ประการใด ผมขอวิเคราะห์โคลงบทนี้โดยจะยกฉันทลักษณ์ออกไปก่อน เมื่อพิจารณาโคลงในแต่ละบาท จะพบว่า มีเพียงบาทสามที่ให้รสทางวรรณศิลป์อันเป็นผลจากที่ผู้แต่งใช้คำ “ตี” เป็นอุปลักษณ์ อุปลักษณ์ คือ กลวิธีความเปรียบแบบหนึ่งในภาษาภาพพจน์(figurative language) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีความเปรียบอีกหลากหลายรูปแบบ อุปลักษณ์เป็นความเปรียบที่ไม่ใช้คำแสดงความเปรียบเทียบเหมือนอุปมา อาทิเช่น เหมือน ดั่ง เพี้ยง ประดุจ แต่จะกล่าวเปรียบเทียบตรงๆ ยกตัวอย่างบทกวีกัปตันสำเภาเสี้ยวเดือนทองของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ สำเภาแก้วแววเสี้ยวเดือนทอง ล่องชะเลคลื่นฟ้าว้าเหว่ขวัญ กวียากไร้ได้เป็นกัปตัน ท่องสวรรค์เวิ้งดาวอะคร้าวใจนัก อุปลักษณ์ ได้แก่ คำที่ทำไฮไลท์ สำเภาแก้ว เป็นความเปรียบของพระจันทร์เสี้ยว ล่องชะเล เป็นความเปรียบของอาการที่ดวงจันทร์เคลื่อนคล้อย คำที่เหลือให้เพื่อนนักกลอนลองพิจารณาดู สำหรับความเปรียบที่เรียกว่าอุปลักษณ์นี้ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เหล่านักกลอนแห่งบ้านกลอนไทยต่างก็ใช้อุปลักษณ์กันทุกทั่วตัวคน ส่วนจะได้ความหมายลึกซึ้งเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับความลุ่มลึกของนักกลอนแต่ละท่าน กลับมาที่การวิเคราะห์ คำ “ตี” นี้เองทำหน้าที่เป็นอุปลักษณ์ส่งให้บาทสามของบทโคลงสามารถบ่งความหมายได้หลายนัย หากเผลอขออย่าตี ใจโกรธ ความหมายแรก ผู้แต่งวอนผู้อ่านอย่าได้ไม่พอใจตน หากแต่งโคลงผิดพลาด ตามที่ผมได้โพสต์ไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อเรานำวลี ได้แก่ ตีสีหน้า ตีหน้าเศร้า ตีหน้าขรึม เข้าเทียบกับตีใจโกรธ ก็จะเข้าใจความหมายที่ผู้แต่งต้องการสื่อได้ โดย ตี หมายถึงอาการที่แสดงความรู้สึกผ่านใบหน้า เมื่อใช้เป็นอุปลักษณ์ จึงบ่งบอกอาการแสดงความรู้สึกที่ใจ ตีใจโกรธ หมายถึง ไม่พอใจนั่นเอง ความหมายที่สอง วอนผู้อ่านอย่าได้ตำหนิติเตียนด้วยความไม่พอใจ ตี สื่อถึงการลงโทษอย่างครูตีนักเรียน แม่ตีลูก เมื่อเป็นความเปรียบหมายถึง ตำหนิติเตียน ใจโกรธ หมายถึง ความไม่พอใจ ความหมายที่สาม ขอผู้อ่านอย่าได้ตำหนิรุนแรง มิฉะนั้นผู้แต่งจะโกรธผู้อ่าน ผู้อ่าน“ตี” ผู้แต่ง“ใจโกรธ” ตี ในที่นี้มีความหมายเข้มข้นขึ้น หมายถึง โจมตี เช่น สื่อมวลชนโจมตีรัฐบาล เมื่อถูกโจมตี จึงทำให้โกรธ ถามว่าความหมายไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับบาทสามของโคลงบทนี้ ก็ต้องพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของบทกวี ซึ่งจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า ตัวบทสื่อถึงความรู้สึกของผู้แต่งที่ไม่ต้องการถูกตำหนิติเตียนด้วยความไม่พอใจ คือ ความหมายที่สองนั่นเอง ตามที่กล่าวแล้ว เป็นเพียงการตีความของผมเท่านั้น ผู้อ่านท่านอื่นสามารถตีความต่างออกไปได้อีก อันเป็นไปตามคุณสมบัติของวรรณกรรม ณ เว็บไซต์แห่งนี้ ก็คือ กวีนิพนธ์ที่ส่องมองได้หลายเหลี่ยมมุม ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่านแต่ละคน และนี่เองเป็นมนตร์เสน่ห์หนึ่งอันน่าหลงใหลของกวีนิพธ์ ส่วนคำ “กระทบทั่ง” จนคุณทรูแชร์เลือดสาดนั้น ผมเข้าใจว่า เป็นการตัดบางพยางค์ของคำออกไปเพื่อจะได้ไม่เกินจำนวนคำบังคับในวรรคร้อยกรอง ซึ่งเป็นข้อบกพร่องของการใช้คำแต่งบทกวีให้ถูกต้องตามแบบแผน ได้แก่ การสลับพยางค์ การฉีกคำ การสะกดคำผิด รวมถึงการตัดพยางค์ด้วย ขอเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ผมเปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตดู พบคำว่า ตีหน้า ก. แกล้งทำสีหน้าให้ผิดจากใจจริง เช่น ตีหน้าเซ่อ ตีหน้าตาย ก. ทำหน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก หรือไม่รู้เรื่อง ตีหน้ายักษ์ ก. ทำหน้าถมึงทึงแสดงอาการเกรี้ยวกราดดุดัน แม้นว่าไม่มีความหมายคำ “ตี” ที่ผมเสนอไว้ แต่ทุกคำล้วนอยู่ในขอบเขตความหมายเดียวกัน คือ อาการที่แสดงความรู้สึกผ่านใบหน้า ผมจึงเห็นว่า ตีใจโกรธ ใช้ได้ เป็นอุปลักษณ์บอกอาการความรู้สึกที่ใจ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: พรายม่าน ที่ 03 กันยายน 2012, 01:19:PM วงแปรงแรงผ่อนสร้าง งานศิลป์ หรูร่อยคอยศิลปิน เป่าฟื้น วงคำครั่งหรือชิน เชาว์เฉื่อย ปลงปล่อยรมย์ฤารื้น หล่นเวิ้งวงกวีฯ พรายม่าน สันทราย ๐๓ กันย์ ๕๕ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 03 กันยายน 2012, 02:03:PM ผมกลับมีสุขด้วย ความเห็น ต่างนา
เมื่อท่านผู้รู้เป็น ปราชญ์ค้าน ต่างร่วมคิดร่วมเข็ญ คำต่าง มีหลักพิจารณ์จ้าน จึ่งให้กานท์เจริญฯ หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 03 กันยายน 2012, 04:55:PM โอ้โฮ ยกนิ้วให้ครับ คุณคนทัน
นี่แหละที่เขาเรียกว่า ให้ใจ การใช้เวลาเขียนยาวขนาดนี้ ถ้าไม่รักกันจริง คงไม่ทำแน่ ขอบคุณมากๆ ครับ ผมระบุหลายครั้งว่า ในความเห็นส่วนตัว ไม่ใคร่ชอบระบบ ยกนิ้วให้ หรือ การให้คะแนน (แต่ไม่ได้ขัดเคืองประการใดเลย) ผมอยากให้เราเขียน หรือแต่ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน (ถ้ามีอารมณ์ และโอกาส) เพราะด้วยวิธีนี้ เราจึงทราบข้อบกพร่อง และสามารถพัฒนาได้ เพียงขอให้ระมัดระวัง ถ้อยคำ สักเล็กน้อย และเปิดใจกว้างๆ เพราะเราแต่ละคน แตกต่าง กันแน่ๆ แต่ความต่าง ต้องไม่ทำให้เรา แตกแยก ....ขอบคุณเพื่อนที่ได้..........ชมเชย หากขยับขับแต่งเผย............ยิ่งล้ำ ถามเพื่อนหน่อยนะเอย..........วานบอก ว่าชอบ ขอคำย้ำ................ชอบนั้นประเด็นไหน ....ข้าฯ ใคร่จักรู้ลึก.............จึ่งถาม หวังทราบสิ่งต้องตาม..........เร่งแก้ ไม่หวั่นติชม งาม................ฤๅอ่อน "บอกต่อ" คือหวังแล้...........จึ่งกล้าเอ่ยถาม 02 กรกฎาคม 2012 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 03 กันยายน 2012, 08:17:PM ขออนุญาตยกตัวอย่าง โคลงทั้งสามนี้ อีกครั้งครับ
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ๚ะ --- ลิลิตพระลอ ๏ นิพนธ์กลกล่าวไว้ เป็นฉบับ พึงเพ่งตามบังคับ ถี่ถ้วน เอกโทท่านลำดับ โดยที่ สถิตนา ทุกทั่วลักษณะล้วน เล่ห์นี้คือโคลง ๚ะ --- จินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท ๏ จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ๚ะ --- นิราศนรินทร์ รัตนโกสินทร์ตอนต้น โคลง ๓ บทนี้ใช้คำเอก 7 โท 4 และที่เหลือเป็นคำสุภาพทั้งหมด หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 04 กันยายน 2012, 12:23:AM พวกพี่คงบอกน้อง หลายครา พี่คงต้องบอกน้อง หลายครา
ที่ผิดต่างนานา โปรดไว้ พลาดผิดหลากนานา ติไว้ เป็นบุญที่จรมา ปะพบ เป็นบุญที่จรมา พบปะ มิถูกเเก้สอนให้ อย่างนี้ ดีมาก ผิดแนะเเก้สอนให้ อย่างนี้ดีจริง หากโคลงที่เเต่งนี้ มีอะไร เกณฑ์โคลงบังคับนี้ มีอะไร โทเอกเป็นไฉน ใคร่รู้ โทเอกเป็นไฉน ใคร่รู้ วิจารณ์หากพลาดไป ติเถิด แต่งผิดวิจารณ์ไป แนะเถิด หวังเเต่งไว้พอสู้ ไม่เเพ้ ใครเขา ร่ายเล่นเพียงพอสู้ ไป่แพ้ใครเขา อย่างที่เคยระบุ จะไม่แก้ไขของใครเกินจำเป็น จึงขอยกเทียบไว้ครับ ๑ คงบอกน้อง อ่านแล้ว เหมือนเป็นอดีต ทำนองว่า คงบอกแล้วมั้ง คงต้องบอก ดูเป็นอนาคต ทำนอง คงต้องทำอีกแน่ๆ ๒ แม้ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าไม่จำเป็น ที่ใดไม่บังคับใช้ รูปวรรณยุกต์ เอกโท ก็พยายามเลี่ยง จะดีกว่า ที่ผิด -> พลาดผิด ต่างนานา -> หลากนานา โปรด -> ลักษณะใช้ มักเป็น ราชาศัพท์ เลี่ยงเป็น ติ ๓ ปะพบ -> พบปะ สังเกตไหม หากอ่านเป็นทำนองเสนาะ บรรดาเสียงวรรคหลังจะเป็น สูง แล้ว ต่ำ ๔ มิถูก -> ผิด ชัดเจนกว่า แล้วหาคำเติมคือ แนะ มาก ห้ามใช้เด็ดขาด คำท้ายสุดต้องเป็นเสียง สามัญ หรือ จัตวา(นิยม) : "รูปของคำ" ห้ามมีวรรณยุกต์ ตย. อย่าได้ถามเผือ, เล่ห์นี้คือโคลง, คล่าวน้ำตาคลอ ๕ อย่างนี้ดีจริง ตั้งใจ ไม่ส่งสัมผัส เพื่อชี้แจง *** ปกติ (ถ้าจะแสดงฝีมือก็ทำได้) โคลง ไม่บังคับให้ต้อง ส่งสัมผัส เว้นแต่ แต่งลิลิต (ส่งสัมผัสคำท้ายสุด ไปรับสัมผัส คำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ บทถัดไป) หรือเป็น โคลงดั้น ซึ่งปกติ บังคับให้แต่ง ๒ บท และต้อง ส่ง-รับ สัมผัสตามกฎของโคลงดั้นนั้นๆ ๑ หากโคลงที่เเต่งนี้ มีอะไร : คงต้องการสื่อว่า ถ้ามีอะไรก็ให้ แนะบอก ๓ วิจารณ์หากพลาดไป ติเถิด อ่านแล้ว เหมือนสื่อว่า ถ้า(ฉัน)วิจารณ์พลาดไป ก็ให้ ติ มาได้ แต่งผิดวิจารณ์ไป แนะเถิด สื่อว่า แต่งผิด ก็ขอเชิญ วิจารณ์ เชิญแนะ ๔ ไม่แก้ก็ได้ครับ เพียงแต่ "ไม่" เขามักเลี่ยง แนะใช้ ไป่ บ บ่ แฮะๆ พิมพ์ร่วมชั่วโมงเชียว หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: เพรางาย ที่ 04 กันยายน 2012, 06:28:AM ....ชำนาญชาญเชี่ยวด้วย......ฝึกฝน ปฏิบัติ กุญแจดล................เลิศแท้ ค้นคว้า เฉกเวทมนต์............สำเร็จ กลอนกาพย์กล้าแกร่งแล้.......ร้องเล่นเป็นประจำ ....คำงาม สัมผัสพร้อม..........ไพเราะ จังหวะ รับส่งเสนาะ..............ครึกครื้น ประเด็นเด็ด เด่นควรเหมาะ......ตรึงจิต คีตะกานท์กวีฟื้น.................."ตื่นรู้"ละตน ขอเขียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ อยากให้สังเกต บทแรกส่วนสีแดง ใช้ โทเอก (ตามกฎเกณฑ์บังคับให้ใช้ เอกโท) ประมาณ ๓-๔ ปีก่อน ผมเคยลองใช้ โทเอก อยู่พักหนึ่ง เพราะเห็นว่า ไพเราะดี และบางครั้งเหมาะสมกับเนื้อหา แต่คุณครูภาษาไทยหลายท่านติเตือน จะทำให้นักเรียนมีปัญหาในการทำข้อสอบ จึงหยุดไป ภายหลังอ่านพบในมติชนสุดสัปดาห์ ผู้เขียนนั้นนำเสนอว่า น่าสนับสนุนให้เป็นโคลงรูปแบบใหม่ และเสนอให้เรียก โคลงสี่โสภา ผมเห็นด้วยเพราะ ฉันท์ มีผู้เชี่ยวชาญนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ จนเป็นที่ยอมรับ แต่ โคลง หยุดการวัฒนารูปแบบใหม่ๆ มานาน * ใคร ใช่ญาติจากแคว้น แดนไกล ใคร ชุบจิตแจ่มใส เมื่อเศร้า ใคร ให้แห่งพักใจ ยามตก ต่ำเฮย ใคร ร่างเหลือเพียงเถ้า เฝ้าร่ำอวยพร นี่เป็นบทแรกที่ผมลองสลับตำแหน่ง เอกโท เป็น โทเอก เพราะ เฝ้า รับสัมผัสกับ เถ้า ได้ดี เฝ้าร่ำ ก็ให้ความหมายชัดกว่า ร่ำเฝ้า เพื่อนผู้รู้ เชิญร่วมแสดงความเห็น จะได้เกิดประโยชน์ต่อวงการร้อยกรอง ขอบคุณครับ ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้ เอก โท และ โท เอก ในสัมผัสวรรณยุกต์บังคับเล็กน้อย การสลับตำแหน่ง เอกโท โทเอก ที่ใช้คู่กันนี้ ที่จริงแล้วไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด ในโคลงที่แต่งมาก่อนเก่าก็มีปรากฏให้เห็น ถือว่าไม่ผิดบังคับเพื่อให้อ่านแล้วได้ความตามประสงค์ เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมนัก และเมื่อจำเป็นต้องสอนการแต่งคำประพันธ์สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกใหม่ๆ คงจำเป็นจะต้องมีแบบหลักสำหรับฝึกหัดให้มั่นคง ก่อนที่ผู้ฝึกนั้นจะแกร่งกล้าในการใช้คำและสื่อความ จนเลือกสรรกลเม็ดและข้อยกเว้นที่ต้องตรงใจได้เป็น ดังนั้นเมื่อแรกหัดจึงควรเริ่มจากการใช้เอกโทให้เป็นก่อน เมื่อฝึกตนให้แม่นยำในแบบผังฉันทลักษณ์เป็น จึงค่อยกระโดดออกจากกรอบไปสู่อิสระในการสื่อความและสร้างคำไพเราะ ป.ล. ความรู้เรื่องโคลงประเด็นนี้ก็ได้มาจากเพื่อนในเว็บนี้ช่วยบอกสอนให้ได้ไปศึกษาสืบค้นต่อไป จึงขอเรียนขอบคุณมาไว้ด้วย emo_60 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ค.คนธรรพ์ ที่ 06 กันยายน 2012, 07:48:AM ผมกลับมีสุขด้วย ความเห็น ต่างนา เมื่อท่านผู้รู้เป็น ปราชญ์ค้าน ต่างร่วมคิดร่วมเข็ญ คำต่าง มีหลักพิจารณ์จ้าน จึ่งให้กานท์เจริญฯ กู่ไกลห่างแก่นใกล้ ปู่ปราชญ์ ดีกว่าไหลชื่อชาติ เปรตต้ม มือโคลงจับจอบคราด ปลูกผัก ตำรับเก่าเก็บก้ม ขุดค้นหนังสือ อ่านสื่อเองสืบค้น ศึกษา ท่องอ่านกลอนทัศนา เว็บไซต์ คิดเขียนอ่านปรารถนา แลกเปลี่ยน เพื่อนเอย โพสต์กระทู้อ่านได้ ขบข้อกลอนเขียน emo_82 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 06 กันยายน 2012, 12:28:PM เขียนเถิดเขียนอย่างแจ้ง ใจตน สารสื่ออย่าสับสน แค่นั้น ฉันทลักษณ์อาจพิกล ยามแรก เริ่มแฮ พอคล่องมือเข้าขั้น ขยับได้สบายเสมอ ฯ กามนิต ๖ ก.ย.๕๕ emo_95 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: ไร้นวล^^ ที่ 06 กันยายน 2012, 12:47:PM ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยดังนี้ครับผม
ผมเองหัดโคลงก็จากบ้านกลอนไทยนี้เป็นที่แรก ความรู้ภาษาไทยก็ไม่มากนัก เพราะเรียนด้านสายวิทยาศาสตร์มาตลอด จึงนับได้ว่าว่าละอ่อนด้านโคลงกลอนอยู่มาก ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการประพันธ์ใดๆเลย แต่มีหลายท่าน อาทิเช่น ท่านครูงาย ท่านพี่กามนิต ท่านบัณฑิตฯ ที่คอยแนะนำสั่งสอนตลอดมา แต่บางอย่างเป็นความเข้าใจของผมเอง จึงถือโอกาสแลกเปลี่ยนมา ณ ที่นี้ครับผม และเพิ่มในส่วนที่ไม่เข้าใจถามต่อท่านผู้รู้โคลงทั้งหลายช่วยไขข้อข้องใจให้ฟัง จะเป็นพระคุณยิ่งครับผม emo_126 ๑.เรื่องคำลหุ สระเสียงสั้นนั้น ผมมีความเห็นดังนี้ครับ แบบนี้เหมือนจะมีเสียงเยอะไปหน่อยนะครับ ยกตัวอย่างดังนี้ครับ ชราชนถลาล่มแล้ว ใครพยุง ขบวนลูกหลานหลีกผดุง ทอดทิ้ง ขณะเยาว์อยากเย้าจรุง ชูชุบ เองเฮย ขณะแก่กลับเกลือกกลิ้ง กรอบให้ใครเห็นฯ(ยกตัวอย่างโคลงลูกเ-วครับ emo_85) เนื่องจากโคลงกลอน ท่านผู้รู้บอกว่าเน้นเสียงที่เวลาเห่ หรืออ่านทำนองเสนาะได้ไพเราะ ไม่สะดุด เป็นจังหวะเสียงที่ราบรื่น โคลงข้างต้น ผิดฉันทลักษณ์คือคำเกินหรือไม่ ชรา-ชน-ถลา-ล่ม-แล้ว ใคร-พยุง นับได้เจ็ดคำครับ แต่เสียงพยางค์นับได้ชะ-รา-ชน-ถะ-หลา-ล่ม-แล้ว ใคร-พะ-ยุง นับได้สิบคำ เวลาอ่านทำนองเสนาะ คงต้องลงครึ่งเสียงในคำลุหเพื่อจังหวะจะได้พอดี ซึ่งคำเหล่านี้ก็โดยหลักก็ต้องอ่านครึ่งเสียงอยู่แล้ว ผมจึงคิดว่าแต่งแนวนี้ได้ ไม่ผิด แต่อาจจะเยอะไปหน่อย ทีนี้ถ้าเป็นโคลงนี้ จราจรช่วงเช้า อัมพาต ใครเล่าอาจสามารถ ผ่านพ้น ถึงสายเฒ่าแก่อาจ โดดตบ อ่วมจิตคิดดั้นด้น สู่เส้นทางไหนฯ วรรคแรก บาทแรก นับพยางค์ได้๕ คือ จะ-รา-จร-ช่วง-เช้า ผมได้รับการสอนว่าก็ใช้ได้ ถ้าเปลี่ยนเป็น ผจญจราจรช่วงเช้า ก็ได้เช่นเดียวกัน แปลว่าคำไม่เกินที่บัญญัติ(อันนี้เคยมีท่านผู้รู้สอนมาอีกทีครับ) แต่ถ้าเป็นสระสั้นเต็มเสียง ความเห็นผมว่าควรนับเป็นสองครับ เพราะเราเน้นที่จังหวะการอ่านและเสียงเป็นหลัก แม้บางทีผมเองก็เผลอบ้างเช่นกัน เพราะฉะนั้น ถ้าผมแต่งดังนี้ น่าจะผิดครับ เช่น รักเราโรยกระอ่วนเปลี้ย เพลียจัง กระทบกระทั่งกระเทือนดัง แข่งแข้ง กระเกรี้ยวปากก็ยังพัง เลือดกบ(แก้ไขตามท่านพี่กามนิตแนะนำครับผม) emo_126 ประกบรักรึประชุมแร้ง กัดกร้าวกินกัน(ขออภัยครับ โคลงโหดไปหน่อย โคลงพาไปครับ emo_85) เพราะแม้เป็นคำลหุ แต่เป็นการออกเสียงเต็มเสียง จังหวะจึงน่าจะเกิน พอดีเห็น่ทานพี่กามนิตแวะมาพอดี ท่านอาจให้ความกระจ่างได้ครับผม ๒.คำที่หก ของบาทที่๑ และ๓ ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ได้หรือไม่ครับ(เน้นว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์นะครับ) ผมยังมีข้อสงสัยอีกพอสมควรครับ แต่ตอนนี้เมื่อยมือครับ จิ้มดีดได้ยาวเท่านี้ จึงขอถามเมื่อภายหลังครับผม emo_126 ด้วยความคารวะมิตรอักษรทุกท่านครับผม emo_126 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: กามนิต ที่ 07 กันยายน 2012, 12:50:PM โฮ่ ๆ โดนพาดพุง
เลยต้องรีบแจ้นมาตอบท่านไร้นาม ๑....เพราะฉะนั้น ถ้าผมแต่งดังนี้ น่าจะผิดครับ เช่น รักเราโรยกระอ่วนเปลี้ย เพลียจัง กระทบกระทั่งกระเทือนดัง แข่งแข้ง กระเกรี้ยวปากก็ยังพัง เลือดกลบ ประกบรักรึประชุมแร้ง กัดกร้าวกินกัน (ขออภัยครับ โคลงโหดไปหน่อย โคลงพาไปครับ) เพราะแม้เป็นคำลหุ แต่เป็นการออกเสียงเต็มเสียง จังหวะจึงน่าจะเกิน พอดีเห็น่ทานพี่กามนิตแวะมาพอดี ท่านอาจให้ความกระจ่างได้ครับผม ๒. คำที่หก ของบาทที่๑ และ๓ ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ได้หรือไม่ครับ(เน้นว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์นะครับ) ผมยังมีข้อสงสัยอีกพอสมควรครับ แต่ตอนนี้เมื่อยมือครับ จิ้มดีดได้ยาวเท่านี้ จึงขอถามเมื่อภายหลังครับผม ด้วยความคารวะมิตรอักษรทุกท่านครับผม ตอบข้อ ๑. จังหวะไม่เกิน และไม่ผิดครับ แต่นักกลอนจะค่อนว่า "จังหวะยาน เยิ่นเย้อ" ครับ! คือมันยาวไปหน่อย ต้องอ่านรวบ ๆ ให้ลงจังหวะ จังหวะไม่งาม โคลงจะไม่ไพเราะ ครับ อ้อผิดนิสนุง สำนวนไทย "เลือดกบปาก" ไม่ใช่ " ตอบข้อ ๒. มีได้ครับ โบราณไม่ได้ห้าม ทั้งนี้ รวมถึงตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่บังคับเอกโท ส่วนใหญ่ไม่ได้ห้ามใช้เอกโทครับ แต่แนะนำ ย้ำนะครับ แนะนำว่าควรเลี่ยง เพื่อไม่ให้เอกโทมาแย่งที่กับตำแหน่งบังคับน่ะครับ หมั่นอ่านของเก่าบ่อย ๆ สงสัยอะไรก็อ่านของเก่า รับรองจะแจ้งจางปางครับ (ฮา) เมื่อยนิ้วเหมือนกันครับ ต้องลาไปสปาก่อนนะครับ emo_116 หัวข้อ: Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 09 กันยายน 2012, 10:27:PM ขอเพิ่มเติม ให้ชัด อีกหน่อยครับ
ตอบ ๑. หนึ่งพยางค์เป็นหนึ่งคำ ๏ รบินรเบียบท้าว เบาราณ รบอบรบับยล ยิ่งผู้ ระเบียบรบิการย เกลากาพย ก็ดี รเบอดรบัดรู้ รอบสรรพ ๚ะ ...... ลิลิตยวนพ่าย หลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ ๏ พระอนุชาข้าแกล้งกล่าว กลอนถวาย พยัญชนะคลาดบาทกลายหลาย แห่งพลั้ง ผิดอรรถะขจัดขจายปลาย สลายสล่ำ แม้นพลาดประมาทประมาณยั้ง โทษะร้ายขจายเสีย ๚ะ .... สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ๏ การเวกหรือวิเวกร้อง ระงมสวรรค์ เสนาะมิเหมือนเสนาะฉันท์ เสนาะซึ้ง ประกายฟ้าสุริยาจันทร์ แจร่มโลก ไฉนฤๅ เมฆพยับอับแสงสะอึ้ง อร่ามแพ้ประพนธ์เฉลย ๚ะ .... กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอบ ๒. โคลงสี่สุภาพ มีเกณฑ์บังคับเพียง ๑. เอก ๗ โท ๔ : รูปวรรณยุกต์เอก แทนด้วย คำตาย ได้ ๒. ห้ามคำที่มี รูปวรรณยุกต์ ๔ แห่ง (สีแดง) และ คำท้ายของบท ห้ามใช้ คำตาย (เพราะจะเหมือนใช้แทน รูปวรรณยุกต์เอก) ๓. การส่ง-รับสัมผัส (ขออนุญาตไม่กล่าว ณ ที่นี้) โคลงสุภาพนั้น คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่ มิได้มีรูปวรรณยุกต์ ดังนั้น แม้มิได้ห้าม ผู้รู้ก็แนะว่า หากเลี่ยงได้ ให้ใช้คำที่มี รูปวรรณยุกต์ น้อยที่สุด ขออภัย ถ้าตอบไม่ชัดเจน (คืนวันที่ ๗ ตอบได้ยาวกว่านี้ แต่ยังไม่ได้ save เก็บ และขณะส่ง, comp ขึ้น error แล้วเข้าบ้านกลอนฯ ไม่ได้ ที่ตอบหายหมดครับ) หุๆ คุณไร้นาม รีบแก้นะครับ เลือดกบปาก กับ เลือดกบ ไม่เหมือนกันนะคร้าบ กลบ [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง กบ (ความหมายที่ ๖) ว. เต็มมาก, เต็มแน่น |