หัวข้อ: เสียงวรรณยุกต์ในโคลงสี่สุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: toshare ที่ 29 สิงหาคม 2012, 12:49:AM มีผู้สนใจถกประเด็น เสียงวรรณยุกต์ ในโคลงสี่สุภาพ
ผมเห็นว่า น่าจะนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแต่งโคลงในคราต่อๆ ไป ...ขอบคุณยิ่งนัก ไร้-......นามา ชี้แนะสำคัญหนา...........อย่าเว้น เยาวชนอ่อนวิชา...........หวังช่วย กิจชอบแม้ต้องเค้น........พละสิ้นควรกระทำ toshare 24 กรกฎาคม 2012 เสียงวรรณยุกต์นะท่านเอย... นัก=เสียงตรี ค่ะ แนะ=เสียงตรี ค่ะ ชอบ=เสียงโท ค่ะ พละ= พะ=เสียงตรีค่ะ ละ=เสียงตรี ค่ะ พละ อ่านแบบควบ เสียงสามัญค่ะ เท่าที่ทราบ ในโคลง เราใช้คำ ลหุ หรือ คำตาย แทน วรรณยุกต์ เอก ได้ครับ ไม่ได้ยึดเสียงเป็นสำคัญ แต่คำเอกที่ว่ามานี่จะจัดอยู่ในอักษรสามหมู่ในส่วนมากคืออักษรกลางทั้งหมดค่ะ โคลงสี่สุภาพ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้ปลายบาทเอกนั้น มาฟัด ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง ที่พินทุ์โทนั้นอย่า พึงพินทุ์ เอกนา บชอบอย่างควรถวิล ใส่ไว้ ชอบ -> เสียง โท ----- จัตวานพวาที ในที่ นั้นนา นพ -> เสียง ตรี ----- เอกเจ็ดหายากแท้ สุดแสน เข็ญเอย เอาอักษรตายแทน เทียบได้ โทสี่ประหยัดหน หวงเปลี่ยน ห่อนจักหาอื่นใช้ ต่างนั้นไป่มี ๚ะ ยาก, เทียบ -> เสียง โท ทำไม?...การแต่งโคลงที่ผิดข้อบังคับเสียงวรรณยุกต์ที่กำหนด ถึงยังแต่งลงได้อยู่... เท่าที่ผมอ่านเจอ ยังไม่เคยพบกฎเกณฑ์เรื่องเสียงวรรณยุกต์เลย ถ้ามีขอรู้บ้าง โคลงนั้นผมว่าเขาคุมเข้ม รูปวรรณยุกต์เอกโท ย้ำ รูปวรรณยุกต์ ผู้รู้บางคนแนะผมว่า คุณลองอ่านเป็นทำนองเสนาะแบบโคลงดู ถ้ามันฟังได้ ก็ OK ผมเคยถกกับหลายคน ผมว่า (โคลง)คนโบราณท่านเน้นจังหวะ การออกเสียงคล้องจองเป็นสำคัญ (การเขียนเป็นเรื่องผู้เรียนหนังสือ ชาวบ้านด้นกลอนกันด้วยอารมณ์ความรู้สึก ฟังเพราะ ได้ประเด็นโต้ตอบกัน ก็ใช้ได้) ขอความกรุณาได้แบ่งปันความรู้กัน ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: เสียงวรรณยุกต์ในโคลงสี่สุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: นัท ผู้ชายฯ รักในหลวง ที่ 29 สิงหาคม 2012, 10:19:AM ๏ นางโรยนางเรียกด้วย..คำงาม
ขวัญอ่อนดั่งขวัญกาม...ยั่วแย้ม ใบบัวหนั่นหนาตาม.....กันลอด ไปนา หอมกลิ่นบัวรสแก้ม......กลิ่นแก้มไกลบัว ๏ ใบบัวบังข้าขอบ......ใจบัว ดอกดั่งจะหัวรัว.........เรียกเต้า เชยชมภิรมย์ชัว........ซมซาบ บัวนา ถนัดดั่งเรียมชมเจ้า....พี่เหล้นกับตน ๏ บัวนมบัวเนตรหน้า...บัวบาน บัวกลิ่นขจรหอมหวาน..รสเร้า บัวสมรละลุงลาญ......ใจบ่า นี้นา บัวบาทงามจวบเท้า...เกศแก้วงามจริง (บทอัศจรรย์ ในเรื่องลิลิตพระลอ) โคลงชุดนี้...มีหลายสิ่งให้ศึกษา emo_82 (๑) คำที่ใช้แทน วรรณยุกต์เอก เช่น เรียก ลอด ขอบ ภิ ซาบ เนตร รส ละ บาท เกศ (๒) การสลับเอกโท (ข้าขอบ) เรียกว่า ดุล (๓) โทโทษ (เหล้น) |