หัวข้อ: ละองละมั่ง เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 27 กรกฎาคม 2012, 03:29:PM (http://203.156.56.185/work/53/animal01/animal/c_eldi1.jpg)
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต google.com ละองละมั่ง ละองผู้เขางามเดินตามต้อย ละมั่งน้อยป่าดงอย่างหลงใหล ทุกวันคืนด้วยอยากจะฝากใจ ละองให้ความหวังละมั่งน้อย ละมั่งน้อยเห็นละองมั่นคงนัก คอยเดินทักทุกคราทำตาห้อย จึงยิ้มยวนส่งมากลางป่าดอย ละองพลอยสุขสมอารมณ์ดี จนท้ายสุดทั้งสองก็ครองคู่ หากินอยู่ตามไพรมิหน่ายหนี เดินเลาะเลี้ยวเล็มหญ้าริมวารี อยู่เช่นนี้เคียงขวัญทั้งวันคืน ใช้ชีวิตคุ้มค่าประสาสัตว์ ไม่ล่ากัดฟัดข่มเพื่อนขมขื่น เป็นละองละมั่งรักยั่งยืน ท่ามกลางผืนพงไพรสุขใดปาน แม้มีมนุษย์ไซร้มุ่งหมายล่า ก็คงฆ่าไม่ลงเพราะสงสาร ระวังเพียงเสือป่าหิวมานาน อาจถึงกาลชีพพังละมั่งละอง!ฯ อริญชย์ ๒๗/๗/๒๕๕๕ ปล.ละองตัวผู้ ละมั่งตัวเมีย เรียกรวมกันว่าละองละมั่ง ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก ละองละมั่ง (อังกฤษ: Eld's Deer, Thamin, Brow-antlered Deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rucervus eldii เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150-170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220-250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย[1] ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่ • ละองละมั่งพันธุ์ไทย หรือ ละองละมั่งอินโดจีน (R. e. siamensis) มีลักษณะสีขนอย่างที่บอกข้างต้น เขาจะโค้งขึ้น กางออกแล้วโค้งไปข้างหน้าคล้ายตะขอ ปลายเขาจะแตกออกเป็นแขนงเล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ที่ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันนี้มีฝูงใหญ่ที่สุดที่สวนสัตว์ดุสิต • ละองละมั่งพันธุ์พม่า หรือ ตามิน ในภาษาพม่า (R. e. thamin) มีหน้าตาคล้ายละองละมั่งพันธุ์ไทย แต่สีขนจะออกสีน้ำตาลเหลือง กิ่งปลายเขาจะไม่แตกแขนงเท่าละองละมั่งพันธุ์ไทย พบกระจายพันธุ์อยู่ที่ตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี • ละองละมั่งมณีปุระ (R. e. eldii) พบในรัฐมณีปุระทางตะวันออกของอินเดียติดกับพม่า ละองละมั่ง จะอาศัยและหากินในทุ่งหญ้าโปร่ง ไม่สามารถอยู่ในป่ารกชัฏได้ เนื่องจากเขาจะไปติดกับกิ่งไม้เหมือนสมัน (R. schomburgki) อาหารหลักได้แก่ หญ้า ยอดไม้ และผลไม้ป่าต่าง ๆ เป็นสัตว์ที่ชอบรวมฝูง ในอดีตอาจพบได้มากถึง 50 ตัว บางครั้งอาจเข้าไปหากินและรวมฝูงกับสัตว์ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า อย่าง วัวแดง (Bos javanicus) หรือ กระทิง (B. gaurus) เพื่อพึ่งสัตว์เหล่านี้ในความปลอดภัย มีฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน สถานภาพปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ละองละมั่งที่พบในธรรมชาติ ปัจจุบันนี้ ส่วนมาก เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์โดยมนุษย์ ในกลางปี พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย โดยองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประสบความสำเร็จในการผลิตละองละมั่งในหลอดแก้วเป็นครั้งแรกในโลก โดยแม่ละมั่งที่รับอุ้มท้องได้ตกลูกออกมาเป็นเพศเมียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ปีเดียวกัน ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยเป็นละองละมั่งพันธุ์พม่า[2] http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87) emo_107 emo_60 emo_84 emo_60 emo_107 หัวข้อ: Re: ละองละมั่ง เริ่มหัวข้อโดย: หนามเตย ที่ 27 กรกฎาคม 2012, 03:50:PM เห็นภาพแล้วสะท้อนอารมณ์ได้ดีมากเลยค่ะ สัตว์กับธรรมชาติย่อมเป็นของคู่กัน สังเกตแค่ภาพต้นไม้บนฝาผนัง สัตว์ทั้งสองตัวนี้ยังมานอนอยู่ตรงระหว่างต้นไม้เลย emo_03 ขออภัยที่มองต่างมุม เพราะเห็นมุมที่มองไป emo_126 หนามเตย emo_116 หัวข้อ: Re: ละองละมั่ง เริ่มหัวข้อโดย: บูรพาท่าพระจันทร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2012, 06:33:PM emo_111 จากนี้ไปนัยนายากมาเห็น กายเป็นเป็นเร้นพฤกษาป่าระหง สัตว์มากมายหายลับสิ้นดับลง หลายเผ่าพงศ์วงศาลับลาจร ฝากเพียงชื่อหรือภาพพิลาปถึง ไว้ตราตรึงคะนึงหลังดังนุสรณ์ ให้มนุษย์สุดวิไลได้สังวร เพียรพร่ำสอนก่อนวิบัติสัตว์มลาย... " บูรพ์ " emo_126 |