พิมพ์หน้านี้ - ใต้ร่มต้นหูกวาง

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => กลอนธรรมะ+กลอนสอนใจ+กลอนธรรมชาติ+กลอนปรัชญา => ข้อความที่เริ่มโดย: อริญชย์ ที่ 22 มิถุนายน 2012, 01:18:PM



หัวข้อ: ใต้ร่มต้นหูกวาง
เริ่มหัวข้อโดย: อริญชย์ ที่ 22 มิถุนายน 2012, 01:18:PM
      ใต้ร่มต้นหูกวาง

ต้นหูกวางกว้างใหญ่ก้านใบหนา
คนพึ่งพาเงาร่มสายลมเฉื่อย
ไม่ต้องเพิกเสื้อถกเผยอกเปลือย
ลมพัดเอื่อยยามอยู่ใต้หูกวาง

ผลแก่แห้งตกดินแคะกินได้
รสชาติใกล้กะบกขอยกอ้าง
เกิดมากมายอยู่บนริมหนทาง
ตระหง่านอย่างพฤกษาล้ำค่าไทย

เปลือกผลใช้เป็นยาฝาดสมาน
แก้อาการท้องเสียถ่ายเรี่ยไหล
เป็นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
“สยาม” ให้คนเห็นความเด่นงาม

อีกต้นไม้เด่นชัดจังหวัดตราด
เติบโตอาจแผ่สาขาเขียวอร่าม
มีคุณค่าจรรโลงทุกโมงยาม
ใครก็ตามเข้าร่มสุขสมพลัน

ต้นหูกวางแผ่ก้านตระหง่านกิ่ง
คนพักพิงร่มได้มิไหวหวั่น
ไม่ต้องกลัวว่าจะวิ่งหลบกิ่งมัน
หูกวางนั้นมิได้หักง่ายเลย! ฯ

                  อริญชย์
              ๒๒/๖/๒๕๕๕




ปล.ต้นหูกวางเป็นต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม  




 emo_107 emo_60 emo_107


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา หูกวาง
 
ต้นหูกวางที่ริมทะเล
 
 

หูกวาง (อังกฤษ: Tropical almond, Bengal almond, Indian almond, Sea almond, Beach almond, ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa) เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล[1] เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย

มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี[2]

หูกวาง เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม

และยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น[3]


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87)


หัวข้อ: Re: ใต้ร่มต้นหูกวาง
เริ่มหัวข้อโดย: --ณัชชา-- ที่ 22 มิถุนายน 2012, 08:40:PM
(http://www.suansavarose.com/private_folder/INSECT/Photograph0075f.jpg)

เมื่อวัยเด็กขยันอ่านหนังสือ
ว่างเป็นถือตำรามาเฉลย
ใต้หูกวางสุขสมลมรำเพย
เอนตัวเกยพิงต้นจนง่วงนอน

หลับเพลินเพลินสะดุ้งพลันคันที่ขา
เอามือคว้าว่องไวกลายเป็นหนอน
หนอนหูกวางตัวใหญ่มันไชชอน
ฉันเผ่นก่อนวิ่งแน่บแทบเป็นลม

--ณัชชา--


 emo_06