พิมพ์หน้านี้ - มาให้รู้จัก

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => ห้องฝึกเขียนกลอนตามฉันทลักษณ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: เดมี่สามดวง ที่ 15 กรกฎาคม 2011, 03:36:PM



หัวข้อ: มาให้รู้จัก
เริ่มหัวข้อโดย: เดมี่สามดวง ที่ 15 กรกฎาคม 2011, 03:36:PM
ตัวฉันนั้นมี       ชื่อว่าเดมี่
                                                   
                                                    คิดกลอนเร็วรี่    มีเวลาน้อย

                                                    ค่อยคิดค่อยอ่าน  ตั้งใจทำงาน

                                                    วานท่านอภัย    ไม่ค่อยได้เขียน

                                                    เรียนมาก็น้อย    จะค่อยหัดเรียน

                                                    มีเวลาเพียร       จะเรียนทุกวัน
 



                                   emo_84 emo_84 emo_84 emo_107


หัวข้อ: Re: มาให้รู้จัก
เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 15 กรกฎาคม 2011, 04:10:PM

ส่วนฉันนั้นชื่อDewada
เดิมอยู่บนหลังคา
แต่หล่นลงมา
เพราะว่าหลังคามันมีรู

สงสัยจะเป็นพวกนกหนู
ชอบทำรังอยู่
แถวๆหลังคาบ้านฉัน

มันกัดแทะเป็นรูอัศจรรย์
มองเห็นไม่ทัน
เลยพาลตกลงมาขาเดี้ยงไปไหนไม่ได้

รู้แล้วอย่าเอ็ดไปนะอาย
คนเขาหัวเราะเยาะตาย
ปิดปากเงียบไว้จึงดีเอย~~~ emo_47



หัวข้อ: Re: มาให้รู้จัก
เริ่มหัวข้อโดย: aomsin9 ที่ 15 กรกฎาคม 2011, 04:37:PM
สวัสคีค่ะ         จะมาเล่นด้วย

ช่วยสั่งช่วยสอน  กลอนอันดีเด่น

เช่นหยั่งเมื่อกี้    มีความคิดดี

สีสันสวยงาม    ยามแต่งกลอนนี้

ไม่ีมีคนสอน     กลอนฝึกยังไง

       จึงได้ยังงี้

         emo_107 emo_100
(http://www.ohzeed.com/bar_140.gif) (http://www.ohzeed.com)




หัวข้อ: Re: มาให้รู้จัก
เริ่มหัวข้อโดย: ดาว อาชาไนย ที่ 03 กันยายน 2011, 12:35:PM
กาพย์สุรางคนางค์

                       เขียนกาพย์อยากหัด
ต้องเคร่งสัมผัส       ตามแนววิธี
ท่านกำหนดไว้        ต้องให้ดูดี
ชื่อกาพย์อย่างนี้     "สุรางคนางค์"

                           บทละเจ็ดวรรค
จงจำเป็นหลัก        สี่คำจัดวาง
สังเกตให้ดี            เป็นที่เป็นทาง
เหตุใดนวลนาง      เลือกกาพย์ยากจัง

เขียนบทละ ๗ วรรค  วรรคหนึ่ง ๔ คำ  รวมบทหนึ่ง ๒๘ คำ
กำหนดสัมผัสดังนี้
คำท้ายวรรค ๑   ส่งไปสัมผัสคำท้ายวรรค ๒ (คือคำว่า "หัด" กับ "สัมผัส")
คำท้ายวรรค ๓  ส่งไปสัมผัสคำท้ายวรรค ๕  (คือคำว่า "วิธี" กับ "ดี")
คำท้ายวรรค ๓  ยังส่งไปสัมผัสคำท้ายวรรค ๖ ด้วย  (คือคำว่า "นี้")
คำท้ายวรรค ๔  ส่งไปสัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรค ๕ ด้วย (คือคำว่า "ดี" กับ "ที่")

บทต่อไป
คำท้ายวรรค ๗ (วรรคสุดท้ายของบทที่ ๑) ส่งสัมผัสไปยังวรรค ๓ ของบทต่อไป (คือคำว่า "นางค์" กับ "วาง")